ผลของโปรแกรมการสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจต่อแรงจูงใจในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและอัตราการกรองของไตใน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
DOI:
https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i01.259676คำสำคัญ:
การสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ, การเยี่ยมบ้าน, แรงจูงใจในการดูแลตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
บทนำ: โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี การสนทนาและ ให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่มีรายงานว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังมีความเข้าใจวิธีการดูแลตนเองที่ดีขึ้นและปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อชะลอหรือป้องกันการเสื่อม ของไตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ ต่อแรงจูงใจในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
การออกแบบวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 – 4 ที่มารับบริการในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 60 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ คัดเข้า และแบ่งเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 รายเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติ และโปรแกรมการสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ มีกิจกรรมทั้งหมด 8 ครั้ง ติดตามต่อเนื่อง 20 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบวัดแรงจูงใจ ในการดูแลตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบบันทึกอัตราการกรองของไต ทดสอบ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดแรงจูงใจในการดูแลตนเองด้วยวิธีการวัดซ้ำได้เท่ากับ .97 และค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาครอนบาร์คของแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ Wilcoxon Signed Ranks test และ Mann-Whitney U test
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชายที่มีแรงจูงใจในตนเองและพฤติกรรม การดูแลตนเองในระดับต่ำ ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจในการ ดูแลตนเองเป็นเวลา 20 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนแรงจูงใจในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และอัตราการกรองของไตมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=-4.487, p<.001; z=-4.547, p<.001; z=-2.725, p=.006 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มควบคุมมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง และอัตราการกรองของไตลดลงต่ำกว่าก่อนการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบผลต่างของระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่า ผลต่างของคะแนนแรงจูงใจในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และอัตรา การกรองของไตแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=-2.221, p=.026; z=-3.432, p<.001; z=-4.531 p<.001 ตามลำดับ) สรุปได้ว่าโปรแกรมการสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ มีผลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อแรงจูงใจในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและ อัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลและทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการสนทนาและให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจ ไปประยุกต์ในการสร้างเสริมแรงจูงใจในการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 ในโรงพยาบาลที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่างและประเมินติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจช่วยชะลอความเสื่อมของโรคได้
Downloads
References
GBD Chronic Kidney Disease Collaboration. Global, regional, and national burden of chronic kidney disease, 1990-2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. Lancet. 2020 Feb 29;395(10225):709-733. doi: 10.1016/ S0140-6736(20)30045-3. Epub 2020 Feb 13. PMID: 32061315; PMCID: PMC7049905.
Liyanage T, Toyama T, Hockham C, Ninomiya T, Perkovic V, Woodward M, et al. Prevalence of chronic kidney disease in Asia: a systematic review and analysis. BMJ Glob Health. 2022; Jan;7(1): e007525. doi: 10.1136/bmjgh-2021-007525. PMID: 35078812; PMCID: PMC8796212.
Department of Disease Control. Ministry of Health. Statistical report Chronic kidney diseases in Thailand [Internet]. [cited 2023 Feb 10]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.phpsource=pformated/format1.php&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=47a33f6886e36962dec4bb578819ba64 (in Thai)
Health Information System Development Office. Thai Health Stat [Internet]. [cited 2023 Feb 10]. Available from: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/agegroup/index.php?a=6&ht=1&d=2_5 (in Thai)
Levin A, Stevens PE, Bilous RW, Coresh J, De Francisco ALM, De Jong PE et al. Kidney disease: Improving global outcomes (KDIGO) CKD work group. KDIGO 2012 clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney International Supplements. 2013 Jan 1;3(1):1-150. doi: 10.1038/kisup.2012.73
Tawee Silarak, Luckawee Piyabunditkul W kittipichai. Predictive Factors of Chronic Kidney Disease in Patients with Diabetes Mellitus and Hypertension. Songklanagarind J Nurs. 2562;40(2):109–21. (in Thai)
Jirubapa M. The Slowly Progressive Chronic Kidney Disease from Adult to Elder Persons. 5The J Boromarajonani Coll Nursing, Nakhonratchasima V. 2014;20 No. 25. (in Thai)
Seephom S. Self-management in chronic kidney disease. Thai Red Cross Nurs J [Internet]. 2013 [cited 2023 Feb 10]; 6(1):12–8. Available from: https://he02.tcithaijo.org/index.php/trcnj/article/view/39968 (in Thai)
Dechkong T. Motivational Interviewing for NCDs; MI NCDs. Bangkok: Beyond Publishing [Internet]. 2017 [cited 2023 Feb 7];1:2–2. Available from: https://km.dmh.go.th/km/files/ncds.pdf (in Thai)
Rollnick S, Miller WR, Butler CC. Motivational Interviewing in Health Care: Helping Patients Change Behavior Motivational interviewing in health care: helping patients change behavior. New York. 2008; 1968:9–34.
Mattoo SK, Prasad S, Ghosh A. Brief intervention in substance use disorders. Indian J Psychiatry. 2018 Feb;60(Suppl 4):S466-S472. doi: 10.4103/ 0019-5545.224352. PMID: 29540915; PMCID: PMC5844156.
Lundahl B, Moleni T, Burke BL, Butters R, Tollefson D, Butler C, Rollnick S. Motivational interviewing in medical care settings: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Patient Educ Couns. 2013 Nov;93(2):157-68. doi: 10. 1016/j.pec.2013.07.012. Epub 2013 Aug 1. PMID: 24001658.
Arunsangsod K, Maneesriwongkul W, Phunpakdee A. Effect of brief motivational interviewing on knowledge, motivation and medication adherence among patients with hypertension [Internet]. Vol. 28(3), Journal of Public Health Nursing. 2016 [cited 2023 Feb 7]. p. 129–144. Available from:https://he01.tcithaijo.org/index.php/phn/article/ view/48461 (in Thai)
Chaikaew S. Motivational Interviewing to behavior change of Diabetes Mellitus, Hypertensive patients in Ban Thakham Subdistrict Health Promotion Hospital, Muangchiangmai District, Chiangmai Province [Internet]. Journal of environmental and community health. 2020 [cited 2023 Feb 7]. p. 78–83. Available from: https://he03.tci-Thaijo.org/ index.php/ech/ article/view/843 (in Thai)
Prochaska JO, DiClemente CC, Norcross JC. In search of how people change: Applications to addictive behaviors. J Addict Nurs. 1993;5(1).
Prochaska JO, DiClemente CC. Transtheoretical therapy: Toward a more integrative model of change. Psychotherapy. 1982;19(3):276–88.
Tiptiya H. Home health care with Chronic Kidney Disease [Internet]. KKU J for Pub Health Res [Internet]. [cited 2023 Feb 7]. p. 131-40. Available from: https://he01.tci.thaijo.org/index.php/kkujphr/artice/view/254938 (in Thai)
Klyprayongan P. Effectiveness of Health Education Program in Promoting Health Behaviors for Slow Progression of Chronic Kidney Diseases to the End Stage Renal Diseases Among Chronic kidney Diseases Patients Stage 3 and 4 at Out Patient Department, Ramatibodi Hospital [Internet]. Thammasat University; 2007. Available from:
http://www.lib.ku.ac.th/KUthesis/2550/PinkaewKly/index.html (in Thai)
Biener L, Abrams DB. The Contemplation Ladder: validation of a measure of readiness to consider smoking cessation. Health Psychol. 1991;10(5): 360-5. doi: 10. 1037//0278-6133.10.5.360. PMID: 1935872.
Jongpattana D. Individual Motivation Interview and Cognitive Behavior Therapy in Alcohol Dependent: Dankhuntod Hospital. [Thailand]: Khon Kaen University; 2009. (in Thai)
Sukjong R, Boonyasopun U, Jittanoon P. Effects of Motivation Interviewing and Self-Management Support Program on Behaviors for Delaying the Progression of Chronic Kidney Disease and Blood Pressure in Persons with Uncontrolled Hypertension [Internet]. Vol. 27, Ramathibodi Nursing Journal. 2021 [cited 2023 Feb 11]. p. 61–76. Available from: https://he02.tcithaijo.org/index.php/RNJ/article/view/241431 (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสภาการพยาบาล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.