ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผ่านบัญชีทางการของไลน์ ต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลของมารดาและค่าบิลิรูบิน ในเลือดของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง

ผู้แต่ง

  • ปิยภรณ์ สีเสน่ห์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i01.260905

คำสำคัญ:

บัญชีทางการของไลน์, บิลิรูบินในเลือด , โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนของมารดาเป็นสิ่งสำคัญ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง ของมารดาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผ่านบัญชี ทางการของไลน์ต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลของมารดาและค่าบิลิรูบินในเลือดของทารก แรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โดยใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนของแบนดูราเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย 

การออกแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกและทารกแรกเกิดครบกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองและ ได้รับการส่องไฟรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 ราย คัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเลือก คือ 1) เป็นมารดาที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาและ ดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟรักษามาก่อน 2) เลือกวิธีการให้นมบุตรด้วยนม มารดา 3) ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว 4) สามารถสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ 5) มีโทรศัพท์สมาร์ตโฟน สามารถเชื่อมต่อใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีพื้นฐานการใช้แอปพลิเคชันไลน์ และ 6) ไม่มีความผิดปกติ ทางจิตและอารมณ์ และไม่มีข้อจำกัดในการให้นมมารดา ส่วนทารกแรกเกิด ต้องไม่มีข้อจำกัดในการดูดนม มารดา ไม่ได้รับยาและไม่มีพยาธิสภาพที่มีผลต่อภาวะตัวเหลือง กลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดเข้ากลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลองอย่างเจาะจง กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผ่าน บัญชีทางการของไลน์โดยผู้วิจัย ประกอบด้วย การมีความสำเร็จของตนเอง การรับรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น การได้รับการชักจูงด้วยวาจา และการได้รับการส่งเสริมสรีรภาพทางร่างกายและอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผ่านบัญชีทางการของไลน์ 2) แบบสอบถามความรู้ ของมารดาเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง 3) แบบประเมินทักษะของมารดาเกี่ยวกับ การดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง 4) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของมารดาที่มีทารก แรกเกิดภาวะตัวเหลือง และ 5) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ไคสแควร์ และการทดสอบที กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 

ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของมารดาและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแล ทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองของมารดา หลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t = -3.862, p < .001; t = -3.117, p = .002 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยบิลิรูบินในเลือดของทารกหลัง การทดลองในกลุ่มทดลอง มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ (M = 9.66, SD = 1.37) และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (t = 0.764, p > .05) 

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผ่านบัญชีทางการของ ไลน์ไปใช้ในการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ของมารดาที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง

Downloads

References

American Academy of Pediatrics. Clinical practice guideline revision: management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or More Weeks of gestation. Pediatrics [Internet]. 2022 [cited 2023 January 13]; 150(3):1-27. Available from: http://publications.aap.org/pediatrics/articlepdf/150/3/e2022058859/1375979/peds_2022058859.pdf

Ministry of Public Health. Office of Policy and Strategy. Strategies, indicators, and data collection guidelines of Ministry of Public Health Fiscal Year 2017. Nonthaburi: Ministry of Public health; 2017. (in Thai)

King Chulalongkorn Memorial Hospital. Medical Records and Statistics Department. Medical records and inpatient statistics. Bangkok: King Chulalongkorn Memorial Hospital; 2017-2022. (in Thai)

Chankhao C. Neonatal nursing. 3th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2017. (in Thai)

Gomella TL, Eyal FG, Bany-Mohammed F. Gomella’s neonatology. 8th ed. New York: McGraw-Hill Medical; 2020.

Jirapaet V, Jirapaet K. Strategies for successful breastfeeding. Bangkok: Eleven Colors; 2020. (in Thai)

Kalasin J, Siripul P, Thannadee SK. Effect of a maternal perceived self-efficacy enhancement program on perceived self-efficacy, caring behavior for preterm infants with hyperbilirubinemia, receiving phototherapy and infants’ serum bilirubin levels. Journal of Nursing and Health Care 2020;38(3):129-38. (in Thai)

Chu KH, Sheu SJ, Hsu MH, Liao J, Chien LY. Breastfeeding experiences of Taiwanese mothers of infants with breastfeeding or breast milk jaundice in certified baby-friendly hospitals. Asian Nurs Res 2019;13(2):154-60.

Huang Y, Chen L, Wang X, Zhao C, Guo Z, Li J, et al. Maternal knowledge, attitudes and practices related to neonatal jaundice and associated factors in Shenzhen, China: a facility-based cross-sectional study. BMJ Open 2022;12:e057981. doi:10.1136/bmjopen-2021 -057981.

Bandura, A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: WH Freeman; 1997.

Srisawat N, Chanthapreeda N. The effects of empowerment program on breastfeeding behaviors among mothers and neonatal jaundice. Journal of Nursing Science and Health 2020;43(3):34-44. (in Thai)

Ngamgarn W, Leesiriwattanagul W, Perksanusak T, Nuampa S. Effect of a nursing program for continuous breastfeeding promotion with family support and early skin to skin contact on effective suckling breastfeed, neonatal jaundice, and exclusive breastfeeding at one month. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center 2021;38(1):67-76. (in Thai)

Mornthawee S, Thato R. The effect of coaching program on maternal behavior to prevent breastfeeding Jaundice in full term neonate. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2015;27(1):22-34. (in Thai)

Tubglam S. Effects of interactive behavioural cues-based massage on hyperbilirubinaemia, breastfeeding and growth of term infants. Infant 2020;16(6): 254–7. (in Thai)

Office of the Permanent Secretary for Interior. Prince Damrongrajanubhab Institute of Research and Development. Thailand 4.0 model to drive Thailand towards stability, prosperity and sustainability [Internet]. Bangkok: Prince Damrongrajanubhab Institute of Research and Development; 2016 [cite 2023 Jan 13]. Available from: http://www.stabundamrong.go.th/ web/download/newkm/thailand4.0.pdf (in Thai)

Wuttijureepan A, Moolsart S, Tipkanjanaraykha K. The effectiveness of an enhancing motivation program in weight reduction via electronic communication in obese nursing students. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(2):57-70. (in Thai)

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale (NJ): Lawrence Erlbaum; 1988.

Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 5th ed. Bangkok: Faculty of Nursing, Chulalongkorn University; 2010. (in Thai)

Polit DF, Beck TB. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. China: Wolters Kluwer Health; 2021.

Tabachnick BG, Fidell LS. Using multivariate statistics. 6th ed. Boston: Pearson; 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21

How to Cite

1.
สีเสน่ห์ ป, พันธ์เมธาฤทธิ์ บ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผ่านบัญชีทางการของไลน์ ต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลของมารดาและค่าบิลิรูบิน ในเลือดของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง. J Thai Nurse Midwife Counc [อินเทอร์เน็ต]. 21 มีนาคม 2023 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];38(01):143-56. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/260905