ประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองในรายวิชาภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อารยา เจรนุกุล สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • กนกพร จิวประสาท สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • สมทรง จิระวรานันท์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.261212

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, นักศึกษาพยาบาล, รายวิชาภาคปฏิบัติ, การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพรรณนา

บทคัดย่อ

บทนำ การเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาล นักศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องนำทักษะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง มาใช้ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ทางการพยาบาลและทักษะทางคลินิก เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน และให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยในระหว่างการฝึกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการเรียน รู้ด้วยตนเองต้องอาศัยมุมมองที่หลากหลาย การเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากมุมมองของผู้เรียนจะสามารถ ช่วยปรับแผนการเรียนการสอนให้มีเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละราย จึงนำไปสู่การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ 

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาภาคปฏิบัติ 

การออกแบบวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา 

การดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ของสถาบันการศึกษาพยาบาลแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านประสบการณ์เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเลือก เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบรายบุคคล ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 6 คน และ ผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลจำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของข้อมูลวิจัยดำเนินการตามเกณฑ์ของลินคอน และกูบา 

ผลการวิจัย สาระประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลในการเรียนภาคปฏิบัติ จัดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ เริ่มที่ตัวเอง ฝ่าฟันกับเวลาที่จำกัด และผลที่ได้ การเริ่มต้นที่ตัวเองเป็นความสนใจที่จะเรียนรู้ และมีแรงกระตุ้นจากสถานการณ์ที่เผชิญ การฝ่าฟันกับเวลาที่จำกัด ประกอบไปด้วย การฝึกทักษะล่วงหน้า การค้นหาแหล่งความรู้ใกล้ตัว ต้องทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และต้องทำให้สำเร็จ ผลที่ได้จากการเรียนรู้ ในภาคปฏิบัติ คือ ความรู้สึกภาคภูมิใจ และทักษะใหม่ที่ค้นพบ ความรู้สึกภูมิใจอธิบายถึงประสบการณ์ความสำเร็จ ที่เกิดจากความพยายามของตนเองหลังมีความรู้เพิ่มขึ้น มีความมั่นใจ พร้อมที่จะฝึกฝนจนมีผลการเรียนดีขึ้นในที่สุด ทักษะที่ค้นพบใหม่เป็นสิ่งที่ค้นพบหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผู้เรียน ทั้งในด้านการจัดระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะและการจัดการงานประจำวัน ตลอดจนการตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อหลายด้าน ของชีวิตตนเอง 

ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน สำหรับรายวิชาภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลเพื่อเพิ่มผลลัพธ์สูงสุดของกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และเป้าหมายที่พึงประสงค์ของหลักสูตร นักศึกษาต้องการเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการเตรียมตัวก่อนการ ปฏิบัติทางคลินิก และลดภาระงานทางคลินิกที่มากเกินไประหว่างการฝึกปฏิบัติที่มีช่วงเวลาจำกัด ข้อเสนอแนะ ต่อการวิจัยในอนาคต คือการพัฒนาเครื่องมือวัดการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีความจำเฉพาะสำหรับภาคปฏิบัติโดยตรง โดยนำผลการศึกษาที่ได้ในครั้งนี้ไปประยุกต์ รวมไปถึงการทดสอบความสามารถในการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Knowles MS. Inquiry project No.2: what is self-directed learning? In: Knowles MS, editor. Self-directed learning: a guide for learners and teachers. New York; Association Press; 1975. p.18-22.

Gibbons M. Chapter 1: the case for self-directed learning. In: Gibbons M, editor. The self-directed learning handbook: Challenging adolescent students to excel. San Francisco: John Wiley & Sons; 2002.p.1-13.

Office of the Education Council. National educational standards B.E. 2561 [Internet]. Bangkok: Education Standards Division; 2019 [cited 2023 Jan 9]. Available from:https://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1659

Srisavarindhira Thai Red Cross Institute of Nursing. Bachelor of Nursing Science Program (Revised Curriculum 2017). Bangkok: Srisavarindhira Thai Red Cross Institute of Nursing; 2017. (in Thai)

Nazarianpirdosti M, Janatolmakan M, Andayeshgar B, Khatony A. Evaluation of self-directed learning in nursing students: a systematic review and meta-analysis. Educ Res Int. 2021 Nov 20;(2):1-8.doi:10.1155/2021/2112108.

Olivier J. Online access and resources for open self-directed learning in Africa. In: Burgos D, Olivier J, editors. Radical solutions for education in Africa: open education and self-directed learning in the continent. Singapore: Springer; 2021. p.1-16. Available from: https://doi.org/10.1007/978-981-16-4099-5_2.

Kerr D, Ratcliff J, Tabb L, Walter R. Undergraduate nursing student perceptions of directed self-guidance in a learning laboratory: An educational strategy to enhance confidence and workplace readiness. Nurse Educ Pract. 2020 Jan;42:102669. doi: 10.1016/ j.nepr.2019.102669. Epub 2019 Nov 19. PMID: 31786373.

Doyle L, McCabe C, Keogh B, Brady A, McCann M. An overview of the qualitative descriptive design within nursing research. J Res Nurs. 2020 Aug;25(5):443-455. doi: 10.1177/ 1744987119880234. Epub 2019 Dec 18. PMID: 34394658

Lambert VA, Lambert CE. Qualitative descriptive research: an acceptable design. Pacific Rim Int J Nurs Res [Internet]. 2012 [cited 2023 Jan 9]; 16(4):255-6. Available from:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5805

Holloway I, Galvin K. Qualitative research in nursing and healthcare. 4thed. Chichester, West Sussex: John Wlley & Sons; 2017. p. 287-302.

Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry. Newbury Park (CA): SAGE; 1985.

Garrison DR. Self-directed learning: toward a comprehensive model. Adult Educ Q.1997;48(1): 18-33. doi:10.1177/074171369704800103.

Loeng, S. Self-Directed Learning: A Core Concept in Adult Education, Education Research International, vol. 2020, Article ID 3816132: 1-12, 2020. Available from: https://doi.org/10.1155/2020/3816132

Knowles MS, Holton III EF, Swanson RA. The adult learner: the definitive classic in adult education and human resource development. 8th ed. London: Routledge; 2015.

Sharif F, Masoumi S. A qualitative study of nursing student experiences of clinical practice. BMC Nurs. 2005 Jan;4:6. doi: 10.1186/1472- 6955-4-6. PMID: 16280087.

Bhandari B, Chopra D, Singh K. Self-directed learning: assessment of students’ abilities and their perspective. Adv Physiol Educ. 2020 Sep 1;44(3):383-6. doi: 10.1152/advan.00010.2020. PMID: 32628525.

Du Toit-Brits C. A focus on self-directed learning: the role that educators’ expectations play in the enhancement of students’ self-directedness. S Afr J Educ 2019;39(2):1-11. doi:10.15700/saje. v39n2a1645

Du Toit-Brits C. Towards a transformative and holistic continuing self-directed learning theory. S Afr J High Educ 2018;32(4):51-65. doi: 10.20853/32-4-2434

A S E A N U n i v e r s i t y N e t w o r k . A S E A N university network quality assurance: guide to AUN-QA assessment at programme level version 4.0. Bangkok: ASEAN University Network; 2020.

Miller GE. The assessment of clinical skills/ competence/performance. Acad Med. 1990 Sep;65(9 Suppl):S63-7. doi: 10.1097/00001888-199009000-00045. PMID: 2400509.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26