กระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สาคร อินโท่โล่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิทยา วาโย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กัลยารัตน์ คาดสนิท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณรงค์ คำอ่อน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.261366

คำสำคัญ:

กระบวนการคืนข้อมูล, การสะท้อนกลับของชุมชน, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจสถานการณ์ผู้สูงอายุและการดูแลในกลุ่มอาสาสมัครผู้ให้การดูแลในชุมชนทุกหมู่บ้าน ของตำบลโนนท่อนจังหวัดขอนแก่นและดำเนินการสร้างความตระหนักในปัญหาโดยมิใช่เป็นเพียงการเผยแพร่ข้อมูล หรือบอกกล่าวให้คนในชุมชนทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงดำเนินการเปิดเวทีการสนทนานำโดยชุมชน ในรูปแบบงานวิจัยชุมชนเชิงปฏิบัติการ โดยเชื่อว่าความคิดริเริ่มของชุมชนจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง และการตัดสินใจที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่ยั่งยืนของชุมชน 

วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาความคิดเห็นของชุมชนต่อข้อมูลปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับ และค้นหาแนวทาง การแก้ไขโดยชุมชนตามความคิดเห็นของชุมชน 

การออกแบบวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีชุมชนเป็นฐานตามแนวคิดของ ErnestStringer 

วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน เป็นผู้แทนชุมชน โดยเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติประกอบด้วย 1)ผู้นำชุมชนจำนวน14คน2)อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน14คนและ3)พยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน 1 คน 4) นักพัฒนาชุมชน 1 คน จากเทศบาลตำบลโนนท่อน ทำการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยนำเสนอผลการสำรวจให้กับชุมชน จากนั้น ดำเนินการสนทนากลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คน จำนวน 3 กลุ่ม ทำการสนทนากลุ่มกลุ่มละ 1 ครั้ง โดยใช้แนวการ นำสนทนากลุ่มแบบคำถามกึ่งโครงสร้างร่วมกับการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ เนื้อหา โดยนำหลักเกณฑ์การพิจารณาความน่าเชื่อถือ (trustworthiness) ของ Lincoln และ Guba ประกอบด้วย credibility transferability dependability และ confirmability มาสอดแทรกอธิบายไว้ตลอดกระบวนการวิจัย และรายงานสาระที่สกัดได้ 

ผลการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลจากทั้ง 14 หมู่บ้าน เป็นเพศหญิง 18 คน และเป็นเพศชาย 12 คน มีอายุอยู่ในช่วง 38-70 ปีส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา พบว่ากระบวนการป้อนกลับข้อมูล สู่ชุมชนและให้ชุมชนสะท้อนกลับผลการสำรวจชุมชนที่ได้ช่วยยืนยันความเข้าใจและความพร้อมในการมีส่วนร่วม ของชุมชนต่อปัญหาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจากมุมมองของชุมชนและการดำรงชีวิตประจำวันของคนในชุมชน ได้เป็นอย่างดีชุมชนได้สะท้อนมุมมองสรุปได้3 หมวดหมู่ คือ การทบทวนสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ การปรับภาพปัญหาตามมุมมองของชุมชน และจัดลำดับความสำคัญและตัดสินใจ การทบทวนสภาพความเป็นอยู่ ของผู้สูงอายุ เป็นในหลายลักษณะ ทั้งอยู่ลำพังบางเวลาและตลอดเวลา ส่วนใหญ่มีผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัว ที่อยู่ด้วยบางเวลาหรือตลอดเวลา การปรับภาพปัญหาตามมุมมองของชุมชน มองว่าชุมชนยังให้การดูแลผู้สูงอายุ ปัญหาขาดผู้ดูแลยังไม่ใช่ปัญหาสำคัญมากนัก และการจะให้ชุมชนเข้าไปช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุโดยตรง ชุมชน มองเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ส่วนปัญหาที่สำคัญและตัดสินใจร่วมกันแก้ไข เป็นในเรื่องของการขาดความรู้ในการดูแล กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และการไม่เข้าถึงการบริการสุขภาพเนื่องจากเป็นปัญหาที่ชุมชนโดยรวมได้ประโยชน์ร่วมกัน แนวทางการแก้ไขประกอบด้วย ส่งเสริมความรู้ให้ผู้ดูแล การจัดการช่วยเหลือในระยะฉุกเฉิน และการจัดบริการ เชิงรุกในการเข้าถึงการบริการสุขภาพ 

ข้อเสนอแนะ ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้คือจุดเริ่มต้นของการทำงานในระยะการวางแผนเพื่อการปฏิบัติ และลงไปสู่การนำไปปฏิบัติรวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติในรูปแบบการวิจัยซึ่งเป็นเป้าหมายของการนำการ แก้ไขปัญหาโดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

Downloads

Download data is not yet available.

References

United Nations Population Fund. Ageing in the Twenty-First Century: A Celebration and A Challenge. New York: United Nations Population Fund. 2012.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). Situation of the Thai Older Persons 2021. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. 2021. (in Thai)

Intolo S, Chamnanborirak P, Intharit J, Imnamkhao S, Yowaphui P, Pranudta S, et al. Perception in self-health care of older persons in suburban areas. MKHJ [Internet]. 2020 [cited 2023 Aprin21]; 17(2):240-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/246781/167767 (in Thai)

Public Health Strategy Development Group. Strategic Plan for Health Khon Kaen Province (2023-2027) [Internet]. 2022. Khon Kaen Provincial Public Health Office [cited 2023 Aprin21]; Available from: https://www.kkpho.go.th/index.php (in Thai)

Kedsuk K., Chouikerd P. & Kedsuk, Vi. Non Thon Municipality. Situation and Operations of the Elderly of Non Thon Municipality, Muang District, Khon Kaen Province. 2021.(in Thai)

Intolo S, Amornrojanavaravutti W, Chaiprain T. Problems in Care of Older People and Caregivers' needs: Context of Semi Urban, Semi -rural Society. College of Asian Scholar Journal [Internet]. 2022 [cited 2023 April21];12(4):146-55. Available from: https://casjournal.cas.ac.th/admin/superadmin/copver1/675122370.pdf (in Thai)

Wallerstein N, Duran B. Using community-based participatory research to address health disparities. Health Promot Pract [Internet]. 2006 [cited 2023 April11];7:312–23. Available from: https://pubmed. ncbi.nlm.nih.gov/16760238/

Baker A., Weisgrau J., & Bristal P K. Feedback loops: Mapping transformative interactions in education innovation [Internet]. Digital Promise; 2022. [cited 2023 May21]. Available from: https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED622549.pdf

Stringer ET. Action research [Internet]. Third edition. Thousand Oaks, CA: Sage. 2007.

Nastasi BK, & Schensul SL. Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology [Internet].2005 [cited 2023 April11]; 43(3):177-95. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0022440505000348

Miles MB, & Huberman AM. Qualitative data analysis. An Expanded Sourcebook (2nded.) Thousand Oaks, CA: Sage; 1994. P.55-88.

Hsieh HF, Shannon SE. Three approaches to qual itative content analysis. Qualitative health research [Internet]. 2005 [cited 2023 April10]; 15(9): 1277-88. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1049732305276687?journalCode=qhra

Lincoln YS, Guba, EG. Naturalistic Inquiry. Newbury Park, CA: Sage Publications. 1985.

Nowell L S., Norris JM., White D E., & Moules N J. Thematic Analysis: Striving to Meet the Trustworthiness Criteria. International Journal of Qualitative Methods 2017; [cited 2023 May 21]; 1 6 ( 1 ) . Availablefrom : https : https://doi.org/10.1177/1609406917733847

Chatakarn V. Action Research. Suratthani Rajabhat Journal [Internet]. 2015 [cited 2023 May 21]; 2(1): 29-49. Available from: https://e-journal.sru.ac.th/index.php/srj/article/view/241(in Thai)

Phrateprattanasutee. Parental Care according to Buddhism. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences [Internet]. 2014 [cited 2023 May 21]; 1(2): 65-74. Available from: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/53500 (in Thai)

Rattanaraj P, Sarakan K, Kotta P. Potential of Elderly Caregivers Associated with Isan Cultural Context. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2020 Apr. 27 [cited 2023 May 11]; 21(1):147-56. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/241486 (in Thai)

Kasemkitwattana S & Prison P. Chronic Patients’ Family Caregivers: A Risk Group That Must Not Be Overlooked. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2014;29(4):22-31. (in Thai)

Khammek S, Intagoon K. The Development of The Integrated Quality of The Elderly in Semi-urban and Semi-rural Areas: The Case of Plai Chomphon Sub-district, Muang District, Phitsanulok Province. NBJ.2021; [cited 2023 May 10];10(1):74-88. Available from: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/251546/170886 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26