ผลของการจัดการเรียนรู้กระบวนการพยาบาลชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ราตรี อร่ามศิลป์ ์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรภิชา บรรเทาวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรพินท์ สุทธิสหัส วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.261425

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาลชุมชน, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, สมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

บทนำ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติในบริบท สถานการณ์จริงในชุมชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนของนักศึกษาพยาบาล

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนของนักศึกษาพยาบาลในระยะ เริ่มต้นศึกษา ระยะหลังเรียนทฤษฎี และหลังสิ้นสุดโปรแกรมการเรียนรู้กระบวนการพยาบาลชุมชนโดยใช้ชุมชน เป็นฐานการออกแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ 

วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดคณะพยาบาล ศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 141 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ กระบวนการพยาบาลชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของโคล์ป ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) เรียนรู้ทฤษฎีกระบวนการพยาบาลชุมชน 2) ลงพื้นที่ชุมชน 3) สะท้อนคิด 4) สรุปการเรียนรู้ และ 5) ประยุกต์ใช้ ความรู้ โปรแกรมผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลระยะเริ่มต้นศึกษา ระยะหลังเรียนทฤษฎี และหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนของ นักศึกษาพยาบาล 3 ด้าน คือ 1) ความรู้การจัดการสุขภาพชุมชน 2) ทักษะการจัดการสุขภาพชุมชน และ 3) เจตคติการจัดการ สุขภาพชุมชน แบบประเมินมีความเที่ยงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาร์ค เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ One-way ANOVA with repeated measures 

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการเรียนรู้กระบวนการ พยาบาลชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (M = 4.48, SD = 0.46) มากกว่าหลังเรียนทฤษฎี (M = 3.63, SD = 0.49) และระยะเริ่มต้นศึกษา (M = 3.56, SD = 0.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 170.783 , p < .001) ในขณะที่สมรรถนะ การจัดการสุขภาพชุมชนในระยะเริ่มต้นศึกษา และระยะหลังเรียนทฤษฎีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

ข้อเสนอแนะ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีประสิทธิผลในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการสุขภาพ ชุมชนของนักศึกษาพยาบาล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาที่มีความเกี่ยวข้อง กับชุมชน โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพครอบครัว อนามัยโรงเรียน อาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Thongtanunam Y, Charoensuk S. Community Health Management Competencies of Nursing Graduates: Concept for a Development. Journal of Research and Curriculum Development. 2021;11(2):24-34. (in Thai)

Cheng YC, Huang LC, Yang CH, Chang HC. Experiential Learning Program to Strengthen Self-Reflection and Critical Thinking in Freshmen Nursing Students during COVID-19: A Quasi-Experimental Study. Int J Environ Res Public Health. 2020 Jul 28;17(15):5442. doi: 10.3390/ijerph17155442. PMID: 32731648; PMCID: PMC7432080

Hill B. Research into experiential learning in nurse education. Br J Nurs. 2017 Sep 7;26(16):932- 38. doi: 10.12968/bjon.2017.26.16.932. PMID: 28880621.

Rittikoop W. Community-Based Learning: Effective Pedagogy Strategies for Teachers in the 21st Century. Graduate School Journal. 2018;11(3):179-91.

Prontadavit N. Development of Active Learning in Learning Management Subject. Rajamangala University of Technology Krungthep Research Journal.. 2017;11(1):85-94. (in Thai)

Thai Health Promotion Foundation. Nursing competency development course for community health manager. 1st. Bangkok: Ministry of Public Health; 2014

Kolb DA. Experiential learning theory and the learning style inventory: A reply to freedman and Stumpf. Acad Manage Rev [Internet]. 1981;6(2):289. Available from: http://www.jstor.org/stable/257885

Li C, Yang Y, Jing Y. Formulation of teaching strategies for graduation internship based on the experiential learning styles of nursing undergraduates: a non-randomized controlled trial. BMC Nursing. 2022. DOI: https://doi. org/10.1186/s12909-022-03221-0.

Patcheep K, Wongsawang N, Jongphae S, Boonsiri C. Competences of Community Health Care Management among Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2021 Apr. 26 [cited 2022 May10];22(1): 450-7. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/240022 (in Thai)

Plichta, S. B., Kelvin, E. A., Munro, B. H. Statistical methods for health care research. 6th edition. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/ Lippincott Williams & Wilkin; 2013.

Prathumtone V, Chenchob P, Rasiri S , Teinkaw S, Teerapong N. Development of an Interprofessional Education Learning Model for Health Promotion and Disease Prevention, Using the Community-Based Approach. SCNJ. 2020;7(2):179-93. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/240710

Jensantikul N. Community-Based Learning Process : Reflections on Experience and Learning. jhsmbuisc [Internet]. 2021 Dec. 30 [cited 2022 May 10];2(3):78-85. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jhsmbuisc/article/view/253640. (in Thai)

Guo-Brennan L, VanLeeuwen C, Macphee MM, Guo-Brennan M. Community-Based Learning for International Graduate Students: Impact and Implications. MJCSL 2020; 26(2):39-70. doi. org/10.3998/mjcsloa.3239521.0026.203.

Nuuyoma V, Munangatire T, Nghiweni N. Nursing students’ experiences of community-based learning in an undergraduate programme at a Namibian University. IJANS. 2022;17:1-7. doi. org/10.1016/j.ijans.2022. 100458.

Meenakhet P, Sihawong S. The Effect of Community-Based Teaching and Learning Management on the Use of Courseville in Health Promotion to Enhance the 21st Century Learning Skills of Nursing Students. The Journal of B a r o m a r a j o n a n i C o l l e g e o f N u s i n g , Nakhonratchasima. 2019;25(1):74-87. (in Thai)

Murray R. An Overview of Experiential Learning in Nursing Education. ASSRJ [Internet]. 2018 Jan.26 [cited 2022 May11];5(1). Available from: https://journals.scholarpublishing.org/index.php/ASSRJ/article/view/4102

Zeydani A, Atashzadeh-Shoorideh F, Abdi F, Hosseini M, Zohari-Anboohi S, Skerrett V. Effect of community-based education on undergraduate nursing students’ skills: a systematic review. BMC Nurs. 2021 Nov 18;20(1):233. doi: 10.1186/ s12912-021-00755-4. PMID: 34794436; PMCID: PMC8600777.

Piwpong R , Chaiwong N , Bunmee P, Khongruangrat Y, Hormneam N, Sonwicha S. A Development of a Community-based Learning Model in the Geriatric Nursing and Adult and Geriatric Nursing Practice I to Promote 21st Century Nursing Students’ Learning. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Surin. 2022;12(1):16-31. (in Thai)

Buachu T. A Study of the Opinion of Teaching and Learning Models of undergraduate Nursing Curriculum, Phetchaburi Rajabhat University in the 21st Century. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 2018;30(3):26-37. (in Thai)

Melaville A, Berg AC, Blank MJ. Community-based learning: Engaging students for success and citizenship. Coalition for Communit Schools [Internet]. 2006 [cited 2022 March 20]; Available from: http://files.eric.ed.gov/fulltext/ED491639.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26