ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาลที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เอื้องพร พิทักษ์สังข์ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เจียมรัตน์ โพธิ์เย็น โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จันทนา นามเทพ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ราตรี ฉิมฉลอง โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธนวัฒน์ ปัญญาวงค์ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วัฒนพรรณ ฤกษ์มงคล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริพร เลาหสุวรรณพานิช โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.261436

คำสำคัญ:

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, เทคโนโลยีดิจิทัล, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทนำ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นประโยชน์ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน รวมทั้งการพัฒนา กระบวนการทำงานในการดูแลผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ดังนั้นทักษะความเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาลจึงจำเป็นยิ่งในการปฏิบัติการพยาบาล 

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความถี่ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานและระดับทักษะความ เข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาล 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาล ตามตำแหน่งงาน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาลตามตำแหน่งงาน และลักษณะงาน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาล กับอายุงาน 

การออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา

วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 530 คน อายุงาน 1 ปีขึ้นไป สังกัดฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เลือกตัวอย่างแบบสะดวก แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความถี่ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และปัญหาอุปสรรครวมทั้งความต้องการและข้อเสนอแนะต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามผ่าน google form ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบทีอิสระ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 86.4) อายุงานมากกว่า 20ปี (ร้อยละ 38.3) ลักษณะงานด้านคลินิก/ให้การพยาบาลผู้ป่วย (ร้อยละ 90.2) มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทุกวัน (ร้อยละ 63.2) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.9) กลุ่มตัวอย่างที่มีตำแหน่งงานระดับ บริหารและระดับปฏิบัติการพยาบาล มีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล (t = -3.890, p < .001) กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงาน ด้านคลินิกและไม่ได้ปฏิบัติงานด้านคลินิกมีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล (t = 3.448, p = .001) และด้านการใช้โปรแกรม ประมวลคำ (t = -1.983, p = .048) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสัมพันธ์ทางลบกับอายุงานอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = -.471, p < .001) 

ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารการพยาบาลนำข้อมูลทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไปจัดทำแผนการฝึกอบรม และแผนการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมตามตำแหน่งงานและลักษณะงานของพยาบาล และมุ่งเน้นการเพิ่มพูนทักษะ ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของพยาบาลที่อายุงานมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ministry of Public Health. eHealth Strategy, Ministry of Public Health (2017 - 2026). Nonthaburi: Information and Communication Technology Center Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2017. Available from: https://ict.moph.go.th/upload_file/files/eHealth_Strategy_ENG_141117.pdf. (in Thai)

Office of the Civil Service Commission (OCSC). Digital Literacy Project. [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 11]. Available from: https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp (in Thai)

Longhini J, Rossettini G, Palese A. Digital Health Competencies Among Health Care Professionals: Systematic Review. J Med Internet Res. 2022 Aug 18;24(8):e36414. doi: 10.2196/36414. Erratum in: J Med Internet Res. 2022 Nov 29;24(11):e43721. PMID: 35980735; PMCID: PMC9437781.

Srethasr T. Assessment of Skills and Abilities for Information Technology among Hospital Staff, Khunhan Hospital, Sisaket Province. Journal of Health Science [Internet]. 2014 [cited 2022 Jan 11]; 23(3):485-91. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/709/641 (in Thai)

Ratcha-in K, Volrathongchai K. Competencies of Nursing Informaticians Working in Community Hospitals in the Northeast Region of Thailand. Journal of Nursing and Health Care 2019;37(4): 100-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/233665 (in Thai)

Ngamjarus C, Chongsuvlvatwon V, McNei E.n4Studies: Sample Size Calculation for an Epide miological Study on a Smart Device. Siriraj Medical Journal [Internet]. 2016 [cited 2022 Jan 11]; 68:160–70. Available from: https:// he02.tci- thaijo.org/index. php/sirirajmedj/article/view/58342

Daniel WW. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences 6th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.

Silanoi L, Chindaprasert K. The Use of Rating Scale in Quantitative Research on Social Sciences, Humanities, Hotel and Tourism Study. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University 2019;[cited 2022 May 16];8(15):112-26. Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/196862/137606 (in Thai)

Kritsotakis G, Andreadaki E, Linardakis M, Manomenidis G, Bellali T, Kostagiolas P. Nurses' ehealth literacy and associations with the nursing practice environment. Int Nurs Rev 2021 Sep;68(3):365-71. doi: 10.1111/inr.12650. PubMed PMID: 34004022.

Gürdaş Topkaya S, Kaya N. Nurses' computer literacy and attitudes towards the use of computers in health care. Int J Nurs Pract. 2015 May;21 Suppl 2:141-9. doi: 10.1111/ijn.12350. Epub 2014 May 7. PMID: 24804813.

Sittisak A. Digital Literacy Competency for Personnel of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. jiskku [Internet]. 2020 Oct. 31 [cited 2022 May 16];38(4):61-8. Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/244958. (in Thai)

Campbell CJ, McDowell DE. Computer literacy of nurses in a community hospital: where are we today? J Contin Educ Nurs. 2011 Aug;42(8):365-70. doi: 10.3928/00220124-20110215-01. Epub 2011 Feb 22. PMID: 21366161.

Kuek A, Hakkennes S. Healthcare staff digital lit eracy levels and their attitudes towards information systems. Health Informatics J. 2020 Mar;26(1): 592-612. doi: 10.1177/1460458219839613. Epub 2019 Apr 15. PMID: 30983476.

American Organization of Nurse Executives. AONE Nurse Executive Competencies. Chicago, IL. 2015. Available from http://www.aonl.org/sites/default/files/aone/nec.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26