ผลของโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ต่อความรู้และทักษะของครูในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ แบ่งทิศ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
  • ศรินทร์ทิพย์ ชวพันธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
  • หยาดพิรุณ เสาร์เป็ง คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.261669

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่, การเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทนำ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนเด็กปฐมวัยไทยที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้ายังไม่ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบทางลบ ในวงกว้างต่อทั้งตัวเด็ก ครอบครัว และประเทศชาติแต่พัฒนาการล่าช้าในเด็กสามารถส่งเสริมและป้องกันได้ โดยพยาบาลประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ให้ครูสามารถคัดกรองพัฒนาการขั้นต้นและจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสม 

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ต่อความรู้และทักษะของครูในการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยเน้นทักษะการคิดเชิงบริหาร 

การออกแบบวิจัย การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง 

การดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่โรงเรียนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า สุ่มโรงเรียน 2 แห่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แล้วจับสลากครู กลุ่มละ24คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ เป็นเวลา5 สัปดาห์กลุ่มควบคุมได้รับการอบรม ปกติเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้และแบบประเมินทักษะของครู ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยเน้นทักษะการคิดเชิงบริหาร ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .86และ.90 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ.79และ.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test, WilcoxanSigned Rank testและ Mann Whitney U test 

ผลการวิจัย คะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้หลังการทดลองมากกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(z = -3.798, t = -20.843, p < .001 ตามลำดับ) คะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะ หลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการอบรมปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (z=-4.483, t=-6.355, p<.001 ตามลำดับ) 

ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการการเรียนรู้นี้มีประสิทธิผลในการเพิ่มความรู้และทักษะของครูให้สามารถเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามวัยได้ดังนั้นพยาบาลสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับบริบทของครูในโรงเรียนได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Rajanagarindra Institute of Child Development, Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Developmental surveillance and promotion manual (DSPM) for young children. Chiang Mai: Si ampimnana Limited; 2022. (in Thai)

Jumnongsak J. Evaluation Policy: A Case Study of Child Development Promoting Project for Celebration on the Auspicious Occasion of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn's 5th Cycle Birthday Anniversary 2nd April 2015. Region 4-5 Medical Journal. 2017;36(3): 176-88. (in Thai)

National Statistical Office. Census: Population by age, Genders and Subdivisions 2010 [Internet]. [cited 2022 Sep 2]. Available from: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/census/pophouse53.html (in Thai)

Department of Health. National Environmental Health Information System: NEHIS 2016 [Internet]. [cited 2022 Sep 14]. Available from: http://dashboard.anamai.moph.go.th/surveillance/default/index?year=2016 (in Thai)

Pattanapongthorn J, Boonsuwan C, Thanacharoenwat N. The study of Thai Early Child Development Nonthaburi2014. Government organization [Internet]. [cited 2022 Sep 1]. Available from: https://hp.anamai.moph.go.th/th/research-person/download?id=73769&mid=35022&mkey=m_document&lang=th&did=24069 (in Thai)

Audit and Evaluation Committee Ministry of Public Health. Report on government inspection and evaluation issues of the Ministry of Public Health 2021 [Internet]. [cited 2022 Sep 4]. Available from: https://nich.anamai.moph.go.th/th/download (in Thai)

Priscilla G, Cambrian N, Katelyn F, Sarah M B. Development of executive function skills: Examining the role of teachers and externalizing behavior problems. Infant and Child Development. 2020;29:e2160. doi.org/10.1002/icd.2160

Papol K. An Analysis of Parents’ Thai Way of Life Child Rearing: A Case Study of The Central Region. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 2020; 14(3):27-40. (in Thai)

Boontiang O. The Results of the Integration of Learning Management with Executive Function of Young Children Teachers in Kamphaeng Phet Province. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University. 2019;9(1):221-29. (in Thai)

Thongluang P, Yunak R, Thangkawanich T. The Effect of Self-efficacy Developing Program on Promoting Early Childhood Development. Journal of Nursing and Health Sciences. 2017;11(3): 92-101. (in Thai)

Wechagarn B, Kongtaln O. Development of Transformative Learning Process for Parents and Caregivers Toward Promoting of Child Development in Young Children in I-saan Community. Journal of Nursing Science & Health. 2017;40(3):1-11. (in Thai)

Chanpracham K. Khuana K. Solution Guidelines of Academic Administration in Early Childhood Education of Schools in The District of TAK District Under The Office of Primary Educational Service Area TAK 1. Journal of MCU Nakhondhat. 2021;8(3):74-85. (in Thai)

Anansirikasem P. The Development of Teaching and Learning Based on Andragogy Concept in Biostatistics and Epidemiology Subject. Journal of MCU Nakhondhat [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 15]; 8(5):435-48. Available from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252418/168991 (in Thai)

Pattarakonnan N. Science and Art of Teaching Andragogy. Journal Education Silpakorn University [Internet]. 2016 [cited 2022 Nov 30]; 14(2):40-53. Available from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/download/92237/72299 (in Thai)

Aranyanak W, Jongwutiwes K. Development of Learning Activities to Enhance Life Quality of Foreign Labours. Silpakorn Educational Research Journal. 2014;6(1):43-51. (in Thai)

Knowles MS, Swanson RA, Holton EF. The Adult Learner: the definitive classic in adult education and human resource development. 7th ed. London: Elsevier; 2011.

Samavardhana K. Tiantong M. Methapatra P. Stirayakorn P. Development Parents Training Curriculum to Organize Activities Promoted Early Childhood Learning Experience. Rajabhat Maha Sarakham University Journal. 2011;5(3): 95-104. (in Thai)

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26