การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครองของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตและพัฒนาการ

ผู้แต่ง

  • สุนทรี ศรีโกไสย สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
  • อุไรวรรณ วงศ์โปธิ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร
  • ณัฏฐ์พิมล วงศ์เมือง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร
  • อนงค์พร ต๊ะคำ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.261791

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, บริการสุขภาพจิต, ผู้ปกครอง, เด็กและวัยรุ่น

บทคัดย่อ

บทนำ ที่ผ่านมายังไม่มีระบบที่ชัดเจนในการบริการสุขภาพจิตผู้ปกครอง และการคัดกรองยังไม่ครอบคลุม มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการของผู้ปกครองที่มีปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยบริการ 

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครองของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต และพัฒนาการ ทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดสังคมจิตใจแบบสั้นแนวซาเทียร์โมเดล 

การออกแบบวิจัย การวิจัยและพัฒนา 

วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยแบ่งเป็น 5 ระยะ ทำการศึกษาระหว่าง มกราคม 2563 - ธันวาคม 2565 ระยะที่ 1 วิเคราะห์ ความต้องการความจำเป็น ระยะที่ 2 ออกแบบระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครอง ระยะที่ 3 สร้างระบบบริการต้นแบบ ระยะที่ 4 ทดสอบประสิทธิภาพของระบบบริการในด้านประโยชน์และคุณภาพบริการ กลุ่มตัวอย่าง 65 คน คัดเลือก แบบเจาะจงโดยเป็นผู้ปกครองที่มารับบริการตามระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครอง ระหว่างมิถุนายน - สิงหาคม 2564 และระยะที่ 5 ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดสังคมจิตใจแบบสั้นแนวซาเทียร์โมเดล กลุ่มตัวอย่าง 54 คน ที่รับบริการในระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครอง สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 27 คน ได้รับโปรแกรมการบำบัดสังคม จิตใจแบบสั้นแนวซาเทียร์โมเดล 3 ครั้ง กลุ่มควบคุม 27 คน ได้รับการปรึกษาแบบสั้นโดยใช้หลักการแก้ไขปัญหา 3 ครั้ง วัดผลด้านความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าของผู้ปกครอง ปัญหาอารมณ์สังคมและพฤติกรรม ของเด็ก สัมพันธภาพในครอบครัว และความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อบริการที่ได้รับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา Independent t-test, Mann-Whitney U test และ Friedman test 

ผลการวิจัย ระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครองประกอบด้วย การคัดกรองเบื้องต้นโดยพยาบาล การประเมินวินิจฉัย และรักษาโดยจิตแพทย์ พยาบาลประเมินภาวะสุขภาพจิตซ้ำ ให้การบำบัดสังคมจิตใจ และติดตามประเมินผล ประสิทธิภาพของระบบบริการด้านประโยชน์คือ ช่วยให้ผู้ปกครองลดความเครียด ลดความวิตกกังวล เป็นแหล่ง ประคับประคองจิตใจ เป็นการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ และเป็นโอกาสของผู้ให้บริการในการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้ ด้านคุณภาพพบว่าผู้ปกครองร้อยละ 68 ได้รับบริการตามที่คาดหวัง ประสิทธิผลของ โปรแกรมการบำบัดสังคมจิตใจแบบสั้นแนวซาเทียร์โมเดลพบว่า เมื่อเปรียบเทียบในระยะก่อนทดลอง หลังทดลอง และการติดตาม 1 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวล ( 2 = 8.909, p = .012) ความเครียด ( 2 = 22.092, p < .001) อาการซึมเศร้า ( 2 = 28.871, p < .001) และปัญหาอารมณ์สังคมและพฤติกรรมของเด็ก ( 2 = 19.809, p < .001) น้อยลง และมีสัมพันธภาพในครอบครัว ( 2 = 10.533, p = .005) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ กลุ่มควบคุมมีความวิตกกังวล ( 2 = 9.100, p = .011) และปัญหาอารมณ์สังคมและพฤติกรรมของเด็ก ( 2 = 9.771, p = .008) เพิ่มขึ้นหลังทดลองแล้วลดลงในการติดตาม 1 เดือน และสัมพันธภาพในครอบครัว ( 2 = 37.829, p < .001) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ความเครียดและอาการซึมเศร้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความพึงพอใจพบว่า ภายหลังได้รับการบำบัดสังคมจิตใจ กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจโดยรวมต่อบริการที่ได้รับ (M = 2.67, SD = 0.25, Mean rank = 13.36) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 2.35, SD = 0.07, Mean rank = 3.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.017, p = .043)

ข้อเสนอแนะ ระบบบริการสุขภาพจิตผู้ปกครองของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตและพัฒนาการที่พัฒนา ขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี พยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมการบำบัดสังคม จิตใจแบบสั้นแนวซาเทียร์โมเดลในการดูแลผู้ปกครอง เพื่อช่วยลดปัญหา

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สุนทรี ศรีโกไสย, สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์

Ph.D. (Nursing)

References

Medical records sector, Rajanagarindra Institute of Child Development: Outpatient service recipient statistics, fiscal year 2018, 2019, 2020. Rajanagarindra Institute of Child Development, Department of Mental Health, Ministry of Public Health; 2020. (in Thai)

Family Mental Health Promotion Clinic. Report on the analysis of data from routine work. Family intervention clinic, fiscal year 2018. Rajanagarindra Institute of Child Development; 2018. (in Thai)

Family Mental Health Promotion Clinic. Report on the analysis of data from routine work. Family intervention clinic, fiscal year 2018-2020. Rajanagarindra Institute of Child Development; 2020. (in Thai)

Bitsika V, Sharpley CF, Bell R. The buffering effect of resilience upon stress, anxiety and depression in parents of a child with an autism spectrum disorder. Journal of Developmental and Psysical Disabilities 2013; Springer Published Online:1-11. doi: 10.1007/ s10882-013-9333-5

Zablotsky B, Bradshaw CP, Stuart EA. The association between mental health, stress, and coping supports in mothers of children with autism spectrum disorders. J Autism Dev Disord 2013; 43:1380-1393. doi: 10.1007/s10803-012-1693-7

Chalotorn P. Prevalence and associated factors of depression among the primary caregivers of patients with ADHD at Chaophrayayommarat Hospital in Thailand. Region 4-5 Medical Journal 2021; 40(3): 429-438. (in Thai)

Emerson E, Brigham P. Health behaviours and mental health status of parents with intellectual disabilities: cross sectional study. Public Health 2013; 127: 1111-1116.

Mensah FK, Kiernan KE. Parents’ mental health and children’s cognitive and social development. Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology 2009; Springer Published Online:1-13. doi: 10.1007/s00127-009-0137-y

Suphapitiporn S. Stress of parents of children with disabilities who bring their children to receive services at the central special education center, Bangkok [master’s thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2012. (in Thai)

Samartzis L, Dimopoulos S, Tziongourou M, Nanas S. Effect of psychosocial interventions on quality of life in patients with chronic heart failure: A meta-analysis of randomized controlled trails. J Card Fail 2013; 19(2):125-134.

Czaja S J, Loewenstein D, Schulz R. A videophone psychosocial intervention for dementia caregivers. Am Assoc Geriatr Psychiatry 2013; 21(11):1071-1081.

Saraceno B, Ommeren M, van Batniji R, Cohen A, Gureje O, Mahoney J, et al. Barriers to improvement of mental health services in low-income and middle-income countries. Global Mental Health 5; 2007. [Published online]. Available from: www.thelancet.com

Limsuwan N, Limsuwan N. Psychotherapy using the Satir Model. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2012; 57(3), 251-258. (in Thai)

Srikosai S, Donnok P, Taweewattanapreecha S, Saipanich R. Clinical manifestations and adherence to medication. of ADHD and harmony in parents' lives after receiving the Satir model mental health education program. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2018; 63(3):227-246. (in Thai)

Department of Mental Health. Scores according to criteria for research, development and utilization of innovation/technology in mental health and psychiatry of the agency KPI 24 Department of Mental Health Strategic Issue 2: Developing the quality of mental health and psychiatric service and academic systems Dimension 3 Performance dimensions. Details indicators according to the performance certification of the agency Fiscal Year 2019 Department of Mental Health; 2019. (in Thai)

Waiyawut S. Research design: research and development (R&D) and action research models participatory (PAR). Power point assembly training. “Create a new generation of researchers” (chicks), generation 7. The National Research Council of Thailand together with Naresuan University. Date 14-18 January 2019; 2019. (in Thai)

Department of Mental Health. Mental health test. Available from: https://dmh.go.th/test/ (in Thai)

Kittirattanapaiboon P, Khamwongpin M. The validity of the mini international neuropsychiatric interview (M.I.N.I.)-Thai version. Journal of Mental Health of Thailand 2005; 13(3):125-135. (in Thai)

Kongsuh A, Arunpongpaisal S, Janthong S, Prukkanone B, Sukhawaha S, Leejongpermpoon J. Criterion validity of the 9 questions depression rating scale revised for Thai central dialect. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2018; 63(4):321-334.

Srikosai S, Wongpothi U, Wongmuang N, Thippanya K, Takham A, Khamfu C, et al. The validity and reliability of the brief family relationship scale (BFRS) for applying in Thai youth. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2022; 67(4):329-341. (in Thai)

Masulani-Mwale C, Mathanga D, Kauye F, Gladstone M. Psychosocial intervention for parents of children with intellectual disabilities-A narrative review and implications for low-income setting. Ment Health Prev 2018; 11:24-32.

Ningsanon C, Yontrajitphakdi N, Thaotang W. Writing workflow. Training documents. Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University; 2021. (in Thai)

Safarabadi-Farahani A, Maarefvand M, Biglarian A, Khubchandani J. Effectiveness of a brief psychosocial intervention on quality of life of primary caregivers of Iranian children with cancer: A randomized controlled trial 1, 2. Journal of Pediatric Nursing 2016; 31(4):e262-e270.

Charoenchaiyaporn T. Correlation of knowledge and stress level among parents of children with autism [Independent Study]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2011. (in Thai)

Jongpaisansakul P, Suppapitiporn S. Stress of custodians of disabled children who attend special education center of the central region, Bangkok. Chulalongkorn Medical Journal 2014; 58(3): 355-369. (in Thai)

Burrell TL, Borrego J. Parents' involvement in ASD treatment: What is their role? Cogn Behav Prac 2012; 19:423-432.

Srikosai S, Dornnork P, Somchai C, Sriseub P, Taweewattanaprecha S, Saipanish R. Clinical outcome and parents’ life congruence of children with autism spectrum disorder after a Satir model based psychoeducational program. International Journal of Child Development and Mental Health 2019; 7(2):41-54. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26