ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการบริโภคอาหารคุณภาพต่อน้ำหนักคงค้างในมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • นุสรา มาลาศรี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปิยะนุช ชูโต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นงลักษณ์ เฉลิมสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i02.262656

คำสำคัญ:

น้ำหนักคงค้างหลังคลอด, โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้านการบริโภคอาหาร, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน

บทคัดย่อ

บทนำ น้ำหนักคงค้างหลังคลอด เป็นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการตั้งครรภ์และคงเหลืออยู่หลังคลอด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการที่จะควบคุมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านการบริโภคอาหารหลังคลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรส่งเสริมให้มารดามีความมั่นใจในการบริโภคอาหาร อย่างเหมาะสม และไม่เกิดน้ำหนักคงค้างหลังคลอด 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักคงค้างในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และเปรียบเทียบน้ำหนักคงค้างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม

การออกแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มีบุตรคนแรก 6 สัปดาห์หลังคลอดที่มารับบริการตรวจหลังคลอด และวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จำนวน 66 ราย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า และจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการจับคู่ กลุ่มละ 33 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้านการบริโภคอาหารคุณภาพ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ร่วมกับการดูแลตามปกติ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการบริโภคอาหารคุณภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิด สมรรถนะแห่งตนและประยุกต์เป็นข้อความส่งไปยังกลุ่มตัวอย่างผ่านบริการข้อความสั้น มี 4 องค์ประกอบคือ 1) การประสบความสำเร็จ 2) การใช้ตัวแบบ 3) การใช้คำพูดชักจูง และ 4) การกระตุ้นทางอารมณ์ โปรแกรมได้รับ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และ 2) เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกน้ำหนักตัว เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทัล แบบบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลังใน 24 ชั่วโมง และ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการ บริโภคอาหาร ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และความเที่ยงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาคเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบ แมนวิทนีย์ยู และการทดสอบวิลคอกซันไซน์แรงค์ 

ผลการวิจัย ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการบริโภคอาหารคุณภาพ กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างหลังคลอด (M = 5.01, SD = 1.89) น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (M = 6.24, SD = 1.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.587, p < .001) และน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (M = 6.51, SD = 1.71) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (Z = -2.873, p = .004) 

ข้อเสนอแนะ พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการบริโภคอาหาร ไปใช้กับกลุ่มมารดาหลังคลอดที่มีน้ำหนักคงค้างหลังคลอด และขาดความมั่นใจในการบริโภคอาหารอย่างมี คุณภาพ โดยการเสริมสร้างความมั่นใจแก่มารดาหลังคลอด ร่วมกับการติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และน้ำหนักคงค้างหลังคลอด

Downloads

Download data is not yet available.

References

Lertbunnaphong T. Maternal body weight and pregnancy:factors that obstetricians may overlook. Siriraj Medical Bulletin 2008;1(2):81-90. (in Thai)

Institute of Medicine (US) and National Research Council (US) Committee to Reexamine IOM Pregnancy Weight Guidelines. Weight Gain During Pregnancy: Reexamining the Guidelines. Rasmussen KM, Yaktine AL, editors. Washington (DC): National Academies Press (US); 2009. doi:10.17226/12584 PubMed PMID: 20669500.

Gunderson EP, Abrams B. Epidemiology of gestational weight gain and body weight changes after pregnancy. Epidemiol Rev. 2000;22 (2):261-74. doi: 10.1093/ oxfordjournals.epirev.a018038 PubMed PMID: 11218377.

Polheber A, Feutz K. Implementing an Evidence-Based Outpatient Program to Reduce Postpartum Weight Retention. Nurs Womens Health. 2017;21(4):284-295. doi: 10.1016/j.nwh.2017.06.008 PubMed PMID: 28784209.

Wangchom S, Xuto P, Kantaruksa K. Physical Activity, Dietary Quality, Breastfeeding and Weight Retention Among 6 Month Postpartum Mothers. Nursing Journal CMU 2019;46(4):94-107. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230282 (in Thai)

Rooney BL, Schauberger CW. Excess Pregnancy Weight Gain and Long-Term Obesity: One Decade Later. Obstet Gynecol. 2002;100(2):245-52. doi: 10.1016/s0029-7844(02)02125-7 PubMed PMID: 12151145.

Endres LK, Straub H, McKinney C, Plunkett B, Minkovitz CS, Schetter CD, et al. Postpartum Weight Retention Risk Factors and Relationship to Obesity at 1 year. Obstet Gynecol. 2015;125 (1):144-152. doi: 10.1097/AOG.0000000000000565 PubMed PMID: 25560116.

Molyneaux E, Poston L, Ashurst-Williams S, Howard LM. Obesity and mental disorders during pregnancy and postpartum: a systematic review and meta-analysis. Obstet Gynecol. 2014 ;123 (4):857-67. doi: 10.1097/AOG.0000000000000170 PubMed PMID: 24785615.

Bandura A, Freeman WH, Lightsey R. Self-efficacy: The exercise of control. J. Cogn. Psychother 1997;13:158-166.doi.org/10.1891/0889-8391.13.2.158

Chang MW, Schaffir J, Brown R, Wegener DT. Mediation by self-efficacy in the relation between social support and dietary intake in low-income postpartum women who were overweight or obese. Appetite. 2019;140:248-254. doi: 10.1016/j.appet.2019.05.031 PubMed PMID: 31141706.

Lui J, Wilcox S, Hutto B, Mc-Grievy GT, Wingard Ellen. Effects of a lifestyle intervention on postpartum weight retention among women with elevated weight. HHS Public Access. 2022;30(7), 1370-1379. https://doi:10.1002/oby.23449.

Institute of Nutrition Mahidol University. Computer program for calculating nutrients INMUCAL-Nutrients V2 NB1 series database [computer program]. (2007). (in Thai)

Sakulnitiwat N, Yusamran C, Thananowan N. Predictive Factors of Postpartum Weight Retention. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2019; 20(2), 112-122. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/182784 (in Thai)

Lipsky LM, Strawderman MS, Olson CM. Weight-related self-efficacy in relation to maternal body weight from early pregnancy to 2 years post-partum. Matern Child Nutr. 2014;12 (3):569-78. doi: 10.1111/mcn.12149 PubMed PMID: 25244078.

Tolly KD, Skinner D, Nembaware V, Benjamin P. Investigation into the use of short message services to expand uptake of human immunodeficiency virus testing, and whether content and dosage have impact. Telemed J E Health. 2012;18(1):18-23. doi: 10.1089/ tmj.2011.0058 PubMed PMID: 22150712

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26