ความสัมพันธ์ของความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมเสี่ยง ในการดูแลตนเอง ภาวะพึ่งพิง และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิต ของผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จันทรา แก้วภักดี สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุปราณี ฉิมมามี โรงพยาบาลนครธน
  • นิลุวรรณ ชำนาญกิจ โรงพยาบาลนครธน
  • ณัฏฐพัชร์ ประจันตะเสน โรงพยาบาลนครธน

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v38i03.264220

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, คุณภาพชีวิต , ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน , พฤติกรรมเสี่ยงในการดูแลตนเอง, ภาวะพึ่งพิง , การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

บทนำ โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั่วโลกและประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมเสี่ยงในการดูแลตนเอง ภาวะพึ่งพิง และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

การออกแบบการวิจัย การวิจัยแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ 

วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า กำหนดขนาดตัวอย่างตามหลักการวิเคราะห์อำนาจการทดสอบ ได้ตัวอย่างจำนวน 123 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมิน 5 ส่วน คือ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในการดูแลตนเอง แบบประเมินภาวะพึ่งพิง แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินมีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 1.0, 1.0, .88, .75 และ .92 ตามลำดับ การตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .97, .80, .84, .84 และ .87 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและทดสอบความสัมพันธ์โดยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ 55.3) คุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M= 4.36, SD = 0.75) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (r = .800, p < .001) ภาวะพึ่งพิง (r = .803, p < .001) และการสนับสนุนทางสังคม (r = .232, p < .001) มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ในขณะที่พฤติกรรมเสี่ยงในการดูแลตนเอง (r= -.029, p < .001) มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง 

ข้อเสนอแนะ บุคลากรทีมสุขภาพและผู้ดูแลควรให้การส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ลดภาวะพึ่งพิงและพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อให้ผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Downloads

References

World Stroke Organization [WSO]. Annual report 2021. [Internet]2022 [cited 2022 Jul 13]. Available from: https://www.world-stroke.org/news-and-blog/news/wso-annual-report-for-2021

Bureau of Information Office of The Permanent Secretary of MOPH.MOPH news. [internet]. 2020 [cited 2020 May 18]. Available from http://www.thaincd.com/2016/mission3 (in Thai)

Wongsa D, Soivong P, Chaiard J. Quality of Life Among Stroke Persons Within Six Months Post Diagnosis. Nursing Journal [Internet]. 2018 [cited 2023 Aug 27];45(2):40-50 Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145044/107206 (in Thai)

Sittiritkawin R. Effect of rehabilitation on the quality of life of stroke patients: in Thasae district, Chumphon province. Region 11 Medical Journal[Internet] 2021[cited 2023 Aug 27];36(1): 98-114 Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/254539/176385 (in Thai)

Utharot W, Phutthikhamin N. Quality of life of stroke patients with cognitive impairment. North-Eastern Thai journal of neuroscience [Internet] 2020 [cited 2023 Aug 27];15(4):34-45 Available from: https://ne-neurosci.com/journal/71a517aeca504d0089a9261fb5caa83b (in Thai)

Jintaganon T. Health Related Quality of Life in Stroke Survivors. Region 4-5 Medical Journal [Internet] 2019[cited 2023 Aug 27]; 38(2): 114-124 Available from: https:// https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/208539/144586 (in Thai)

Kerdin M, Kittipimpanon K, Tantiprasoplap S. Association between Health Literacy, Self-Care Behaviors, and Clinical Outcomes among People with Chronic Kidney Disease in Primary Care Units. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council [Internet] 2023[cited 2023 Aug 27];38(2): 64-76 Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/262242/179875 (in Thai)

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus RS. The healthrelated functions of social support. J Behav Med. 1981; 4(4):381-406. DOI: 10.1007/BF00846149.

Phiwkhao S, Preechawong S, Jitpanya C. Relationships among Coping, Social Support, Perceived Self-efficacy and Health Related-Quality of Life in First-Time Stroke Patients. HCU Journal [Internet] 2020[cited 2023 Aug 27]; 21(41):123-136 Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/146027/107718 (in Thai)

Khamcharoen J, Puwarawuttipanit W, Kositamongkol S. Factors Influencing Ischaemic Stroke Patients’ Medication Adherence. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council [Internet] 2022[cited 2023 Aug 27];37(2): 111-127 Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/255915/175660 (in Thai)

Ferrans CE, Zerwic JJ, Wilbur JE, Larson JL. Conceptual model of health-related quality of life. Journal of Nursing Scholarship 2005; 37(4):336-42. doi: 10.1111/j.1547-5069.2005.00058. PubMedPMID: 16396406.

Pongsakchat V. Determining an Appropriate Sample Size. Burapha University;2020. (in Thai)

Lumrod N, Hoikum A, Sriwongwan W, Klaibua S, Ruamsook T. The Relationships between Personal Factors, Social Factors, and Health Literacy in Stroke Prevention among People at Risk of Stroke in Nonthaburi Province. Journal of Nursing and Education [Internet] 2023[cited 2023 Aug 27];16(2):28-39 Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/253777/173023 (in Thai)

Mahoney FL, Barthel D. Functional evaluation:the Barthel Index. Maryland State Med Journal 1965;14:61-5. PubMedPMID: 14258950.

Keawpugdee J, Silpasuwan P, Viwatwongkasem C, Boonyamalik P, Amnatsatsue K. A Hospital Readmission Risks Screening for Older Adult with Stroke: Tools Development and Validation of a Prediction. INQUIRY 2021; 58:1-10. doi: 10.1177/ 00469580211018285.PubMedPMID:PMC8155787.

Graf C. The Lawton instrumental activities of daily living scale. AJN. 2008;108:52-62.

Duncan PW., Lai SM., Bode RK., Perera S., DeRosa J. Stroke Impact Scale-16 A brief assessment of physical function. Neurology 2003;60(2):291-296. doi: 10.1212/01.wnl.0000041493.65665.d6. PubMedPMID:12552047

Grove SK, Gray JR. Understanding nursing research: building an evidence-based practice. 7th ed. St. Louis, MO: Elsevier Saunders; 2019.

Kitila S, Thammakun T, Chankong W. Factors Affecting Quality of Life of Stroke Patients at Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center [Internet] 2019[cited 2023 Aug 27];36(2):105-114 Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/160815/132580 (in Thai)

Desaravinid C. Factors Related to Self-Care Behavior Among People at Risk of Stroke in Nakhon Ratchasima Province. Journal of Primary Care and Family Medicine [Internet] 2022[cited 2023 Aug 27];5(4):310-321 Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/257637/176084 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-15

How to Cite

1.
แก้วภักดี จ, ฉิมมามี ส, ชำนาญกิจ น, ประจันตะเสน ณ. ความสัมพันธ์ของความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมเสี่ยง ในการดูแลตนเอง ภาวะพึ่งพิง และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิต ของผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. J Thai Nurse Midwife Counc [อินเทอร์เน็ต]. 15 กันยายน 2023 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];38(03):229-42. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/264220