ผลของการออกกำลังกายด้วยไทชิต่อท่าทางและการทรงตัวของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ทิวา มหาพรหม Mahidol University
  • Supreeda Monkong
  • Suporn Wongvatunyu

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ท่าทาง, การทรงตัว, ควา, ยืดหยุ่นของร่างกาย, การออกกำลังกายด้วยไทชิ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาระยะเวลาในการออกกำลังกายด้วยไทชิที่มีผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงท่าทางและการทรงตัวของผู้สูงอายุ
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ
การดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักผู้สูงอายุและมีคุณสมบัติ
ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 ราย เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยไทชิ ครั้งละ 60 นาที
สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยบันทึกข้อมูลทั่วไปของ
ผู้สูงอายุ ข้อมูลท่าทางของร่างกาย ได้แก่ ท่าทางของร่างกายขณะอยู่กับที่ และความยืดหยุ่น
ของร่างกาย และข้อมูลการทรงตัว ได้แก่ การทรงตัวขณะอยู่กับที่ และการทรงตัวขณะเคลื่อนที่
วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย เปรียบเทียบความแตกต่างของท่าทางและการทรงตัว
ของผู้สูงอายุ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัย: หลังการทดลองค่าเฉลี่ยของท่าทางขณะอยู่กับที่ของผู้สูงอายุไม่มีเปลี่ยนแปลง
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของความยืดหยุ่นของร่างกายในสัปดาห์ที่ 4 สูงกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไทชิ
และสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ
ค่าเฉลี่ยของการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ในสัปดาห์ที่ 8 สูงกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไทชิและสูงขึ้น
ในสัปดาห์ที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทรงตัวขณะอยู่กับที่ในสัปดาห์ที่ 4
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไทชิและสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ: การออกกำลังกายด้วยไทชิเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความยืดหยุ่นของร่างกาย
และมีการทรงตัวขณะอยู่กับที่ดีขึ้น ใช้เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ และการออกกำลังกายด้วยไทชิ
เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ดีขึ้น ใช้เวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์

Downloads

Author Biographies

ทิวา มหาพรหม, Mahidol University

A student in Master of Nursing Science Program in Adult Nursing, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Supreeda Monkong

Corresponding Author, Assistant Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Suporn Wongvatunyu

Lecturer, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

References

1. Institute of Population and Social Research Mahidol University. Mahidol Population Gazette [Internet] 2016
[cited 2016 November 13] Available from: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/Contents/Documents/
Gazette/Population_Gazette2015-TH.pdf.(In Thai)
2. World Health Organization. Global Health and Aging [Internet] 2011 [cited 2017 March 6] Available from:
http://www.who.int/ageing/publications/global_health.pdf
3. Berg, KO, Wood-Dauphinee, SL, Williams, JI,Gay-ton, D. Measuring balance in elderly: preliminary
development of an instrument. Physiotherapy Canada 1989; 41, 304-11.
4. Nelson, ME, Rejeski, WJ, Blair, SN, Duncan, PW, Judge, JO, King, AC. American Heart Association. Physical
activity and public health in older adults: recommendation from the American College of Sports Medicine and
the American Heart Association. Circulation 2007;116(9):1094–105.
5. Kulsatitporn, S. Physical therapy in older adults.2nd ed. Bangkok: Offset Press; 2006. (In Thai)
6. Lan, C., S.Y. Chen, and J.S. Lai, The exercise intensity of Tai Chi Chuan. Med Sport Sci 2008; 52, 12-9.
7. Gyllensten, AL, Hui-Chan, CWY, Tsang, WWN.Stability limits, single-leg jump, and body awareness
in older Tai Chi practitioners. Arch Phys Med Rehabil 2010; 91, 215-20.
8. Dustitsin, N. Qigong for older adults. In Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Comprehensive
Health Care for Older Adults (pp. 153-178). Nonthaburi: Department of Thai Traditional and Alternative
Medicine; 2010. (In Thai)
9. Blake, H, Hawley, H. Effects of Tai Chi exercise on physical and psychological health of older people. Curr
Aging Sci 2012; 5(1), 19-27.
10. Maciaszek, J, Osi´nski, W. The effects of Tai Chi on body balance in elderly people - a review of studies
from the early 21st century. Am J Chin Med 2010; 38(2), 219-29.
11. Buchner, A, Erdfelder, E, Faul, F, Lang, A-G. G*Power: statistical power analyses for windows and mac.
[Internet] 2016 [cited 2016 May 9] Available from: http://www.psycho. uni-duesseldorf.de/abteilungen/
aap/gpower3/
12. Manmai, P. Effects of Tai-Chi exercise on balance control and neuropsycho physiological performance
in elderly practitioners. (Master of Sciences). Bangkok: Mahidol University; 2005. (In Thai)
13. Srisa-ard, B. Basic concepts in research methodology.2nd ed. Bangkok; Suriyasan Publishers; 1992. (In Thai)
14. Jitapunkul, S. Principles of geriatric medicine. 3rd ed.Bangkok; Chulalongkorn university press; 2001.
(In Thai)
15. Earnarumitt, T. Basic concepts of Qigong. In Theim Earnarumitt (Ed), Qigong for health (pp.153-178).
Bangkok: Department of health; 2001. (In Thai)
16. Shumway-Cook, A, Brauer, S, Woollacott, MH.Predicting the probability for falls in community
dwelling older adults using the timed up & go test.Phys Ther 2000; 80, 896-903.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-11-19

How to Cite

1.
มหาพรหม ท, Monkong S, Wongvatunyu S. ผลของการออกกำลังกายด้วยไทชิต่อท่าทางและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. J Thai Nurse Midwife Counc [อินเทอร์เน็ต]. 19 พฤศจิกายน 2017 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];32(3):50-65. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/95858