ความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อ N. gonorrhoeae ในปี พ.ศ. 2555-2561

ผู้แต่ง

  • ปริศนา บัวสกุล กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • พงศธร แสงประเสริฐ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
  • รสพร กิตติเยาวมาลย์ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.4

คำสำคัญ:

เชื้อหนองใน, โรคหนองใน, การดื้อยา, การเฝ้าระวัง

บทคัดย่อ

     เชื้อ Neisseria gonorrhoeae ( N. Gonorrhoeae) เป็นสาเหตุของโรคหนองใน ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด อีกทั้งยังเป็นเชื้อโรคที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการรักษา และเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานเพื่อการเฝ้าระวังการดื้อต่อยาของเชื้อนี้ ผลการทดสอบในปี พ.ศ. 2555-2561 ต่อยาปฏิชีวนะ 8 ชนิด ทั้งวิธี Disk diffusion และ E-test สามารถจำแนกการดื้อยาได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 พบการดื้อยาต่อเนื่อง ได้แก่ ยา penicillin tetracycline และ ciprofloxacin ทั้ง 3 ชนิดมีผลของการดื้อต่อยามากกว่า ร้อยละ 90 กลุ่มที่ 2 เริ่มพบการดื้อหรือมีความไวต่อยาลดลง ได้แก่ ยา azithromycin และ gentamicin และกลุ่มที่ 3 ยังไม่พบการดื้อหรือมีความไวลดลงแต่อย่างใด ได้แก่ ยา spectinomycin (เป็นยาที่ไม่มีใช้ในประเทศไทย) ยา ceftriaxone และยา cefixime

     สำหรับยา azithromycin และยา gentamicin เป็นยาทางเลือกในการรักษาโรคหนองใน โดยยา azithromycin ใช้เป็นยาที่รักษาคู่กับยากลุ่ม cepharosporin พบว่าเชื้อมีค่า MIC50 และ MIC90 เพิ่มสูงขึ้น 1 dilution ในปี พ.ศ. 2561 เมื่อเทียบกับปีที่เริ่มใช้รักษาในปีพ.ศ. 2557 และพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง ที่ให้ค่าความไวต่อยาลดลงในปี พ.ศ. 2560 สำหรับยา gentamycin ถึงแม้จะไม่พบการดื้อยา แต่พบเชื้อที่ให้ค่า Intermediate มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ส่วนยาในกลุ่มที่ 3 ยา ceftriaxone และ ยา cefixime ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา ยังไม่พบเชื้อที่มีความไวต่อยาทั้ง 2 ตัวลดลง แต่ค่า MIC เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะเชื้อที่มีค่า MIC ≥ 0.032 μg/ml ซึ่งมีรายงานว่าเป็นค่าที่พบกลายพันธุ์ของยีน penA ดังนั้นการเฝ้าระวังการดื้อยาของเชื้อหนองในจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย

References

1. Ohnishi M, Saika T, Hoshina S, Iwasaku K, Nakayama SI, Watanabe H, Kitawaki J. Ceftriaxone-resistant Neisseria gonorrhoeae, Japan. Emerging Infectious Diseases. 2011 Jan 1;17(1):148-50.
2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506: Gonorrhea 2561. Available at: www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk /y61/d38_5261.pdf
3. David W Eyre, Nicholas D Sanderson, Emily Lord, Natasha Regisford Reimmer, Kevin Chau, Leanne Barker, et al. Gonorrhoea treatment failure caused by a Neisseria gonorrhoeae strain with combined ceftriaxone and highlevel azithromycin resistance, England, February 2018. Euro Surveill. 2018;23(27):pii=1800323. https://doi.org/10.2807/1560-7917.ES.2018.23.27.1800323
4. สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. รายงานผลการดำเนินงาน สำนักโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; ธันวาคม 2555:75
5. ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (National Antimicrobial Resistance Surveillance, Thailand: NARST) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ผลการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ปี 2012-2016 Available at: http://narst.dmsc.moph.go.th/data/MICNeisseria_gonorrhoeae%202012-2016.pdf
6. อังคณา เจริญวัฒนโชคชัย, สมชัย หลกภิชาติ. คู่มือการวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทางห้องชันสูตร กรมควบคุมโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ; พฤศจิกายน 2553.
7. CLSI. Performance Standards for Antimicrobial Susceptibility Testing. 29th ed. CLSI supplement M100 Wayme, PA: Clinical and Laboratory Standards Institute; 2019.
8. Chisholm SA, Quaye N, Cole MJ, Fredlund H, Hoffmann S, Jensen JS, Van De Laar MJ, Unemo M, Ison CA. An evaluation of gentamicin susceptibility of Neisseria gonorrhoeae isolates in Europe. Journal of antimicrobial chemotherapy. 2010 Dec 14;66(3):592-5.
9. Wi T, Lahra M, Ndowa F, Bala M, Dillon J-A, Ramon-Pardo P. Antimicrobial resistance in Neisseria gonorrhoeae: Global surveillance and a call for international collaborative action. PLoS Med. 2017;14(7):e1002344
10. อนุพงศ์ ชิตวรากร, อภิชาต ศิวยากร, พงษ์ศักดิ์ ชัยศิสป์วัฒนา และชนวนทอง ธนสุกาญจ์. คู่มือเวชปฏิบัติ: โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร; 2538.
11. กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2546. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จำกัด; 2546.
12. Unemo M, Golparian D, Nicholas R, Ohnishi M, Gallay A, Sednaoui P. High-level cefixime-and ceftriaxone-resistant Neisseria gonorrhoeae in France: novel penA mosaic allele in a successful international clone causes treatment failure. Antimicrobial agents and chemotherapy. 2012; 56(3):1273-80.
13. Peterson S, Martin I, Demczuk W, Bharat A, Hoang L, Wylie J, et al. Molecular assay for detection of genetic markers associated with decreased susceptibility to cephalosporins in Neisseria gonorrhoeae. Journal of clinical microbiology. 2015;53(7):2042-8.
14. รสพร กิตติเยาวมาลย์, ศุภโชค คงเทียน. แนวทางการดูแลรักษาโรคหนองใน พ.ศ. 2562. กรมควบคุมโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์; พฤษภาคม 2562.
15. นิสิต คงเกริกเกียรติ, อังคณา เจริญวัฒนาโชคชัย และ เอกชัย แดงสะอาด. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 กรมควบคุมโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: หจก.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; กันยายน 2558.
16. Unemo M, Golparian D, Hellmark B. First three Neisseria gonorrhoeae isolates with high-level resistance to azithromycin in Sweden: a threat to currently available dual-antimicrobial regimens for treatment of gonorrhea? Antimicrobial agents and chemotherapy. 2014;58(1):624-5.
17. Patricia G. Galarza, Bele´n Alcala´, Celia Salcedo, Liliana Ferna´ndez Canigia, Luis Buscemi, Irene Pagano, et al. Emergence of high level azithromycin-
resistant Neisseria gonorrhoeae strain isolated in Argentina. Sexually Transmitted Diseases. 2009 Dec 1;36(12): 787-788
18. Unemo M, Shafer WM. Antibiotic resistance in Neisseria gonorrhoeae: origin, evolution, and lessons learned for the future. Annals of the New York Academy of Sciences. 2011;1230(1): E19-E28.
19. Centers for Disease Control and Prevention. Sexually Transmitted Disease Surveillance 2017. Atlanta: U.S. Department of Health and Human Services; 2018.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27