ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2553-2562 ของกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี สวัสดิ์เจริญยิ่ง กองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2020.8

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน, ป้องกันควบคุมโรค, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ประเทศไทยมีอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2557-2562 จาก 18.8 เป็น 33.8 ต่อแสนประชากร การศึกษานี้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน ปี 2553-2562 ใช้วิธีผสมโดยทบทวนเอกสาร หลักฐาน รวมถึงเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เนื้อหาตามโครงสร้าง แยกแยะข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ นำเสนอสถิติเชิงเรียบเรียงเนื้อหา ระบุข้อค้นพบ ตรวจสอบเปรียบเทียบ และเสนอข้อสรุป

          พบว่าผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานต่ำ โดยมีหลักฐานยืนยันได้จากอัตราป่วยที่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราป่วยในวัยรุ่นมากขึ้น การป่วยโรคซิฟิลิสในผู้สูงอายุ มากกว่าครึ่งเป็นซิฟิลิสระยะท้าย แรงงานต่างด้าวมีอัตราป่วยสูงสุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่มเสี่ยง ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ 1) การป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถูกลดความสำคัญ ปรับบทบาท ถ่ายโอนงาน ยุบหน่วยงาน และควบรวมงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข้ากับงานเอดส์ในที่สุด 2) ผู้มารับช่วงต่อ มีอายุและประสบการณ์น้อย การถ่ายทอดงานให้ความสำคัญกับโรคเอดส์ มากกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3) งบประมาณสนับสนุนจากราชการ และงบประมาณโดยรวมลดลง 4) แผนงานควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่เข้มแข็ง ปัจจัยส่งเสริมการดำเนินงาน ได้แก่ 1) งบประมาณสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศและหน่วยงานภายนอก 2) ความเข้มแข็งของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค. ที่ยังมีการให้บริการตรวจรักษา มีความพร้อมทั้งโครงสร้าง ความรับผิดชอบ อายุและประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงาน

          ข้อเสนอแนะสำคัญ 1) กำหนดให้มีโครงสร้างแผนงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับประเทศโดยมีผู้รับผิดชอบหลัก และทีมงาน พร้อมอัตรากำลังที่ชัดเจน 2) ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานในทุกระดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

References

1. สมบัติ ศรีวัจนะ, บรรณาธิการ. การปฏิบัติงานควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ปี พ.ศ. 2552. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552. หน้า 1-3.
2. กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังโรค 506 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 12 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=37
3. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. รายงานผลการดำเนินงาน สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี พ.ศ.2555. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2555. หน้า 1.
4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้น 10 มิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://ebook.dreamnolimit.com/nhso/095/
5. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการเฝ้าระวัง ป ้อ งกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ปี 2549. การประชุม“หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณและผลการจัดสรรงบประมาณลงสู่จังหวัด” ประจำปี 2549 ของกระทรวงสาธารณสุข; วันที่ 12-14 กันยายน 2548; โรงแรมเดอะแกรนด์, กรุงเทพมหานคร.
6. รสพร กิตติเยาวมาลย์, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ผดารณัช พลไชยมาตย์, จิราวรรณ สว่างสุข, ธนพล ฉายประทีป, ชนาธิป ไชยเหล็ก. ความจำเป็นและความเป็นไปได้ของการขยายสิทธิประโยชน์ตรวจคัดกรองซิฟิลิสในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่เข้ารับบริการตรวจเอชไอวีผู้ต้องขังและแรงงานต่างด้าว. เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานพัฒนาประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขด้าน
บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ครั้งที่ 2/2562; 30 กันยายน. 2562; สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร.
7. Divisions of AIDS and STIs, Ministry of Public Health. Real Time Cohort Monitoring [Internet]. 2019 [cited 2019 Apr 2]. Available from: https://rtcmplus.ddc.moph.go.th/rtcm/
8. Department of Health, Ministry of Public Health. Perinatal HIV Intervention Monitoring System [Internet]. 2019 [cited 2019 Aug 19]. Available from: http://pmtct.anamai.moph.go.th/PHIMS
9. Health Data Center, 2014-2018 [Internet]. Nonthaburi: Thailand Ministry of Public Health; 2019 [cited 2019 Jul 27]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc
10. Department of Corrections. Statistics of prisoner in Thailand [Internet]. 2018 [cited 2019 Jul 26]. Available from: http://www.correct.go.th/s t a t 1 0 2 / d i s p l a y / r e s u l t . p h p ? -date=2018-03-01.
11. Foreign Workers Administration Office, Department of Employment. Situation of Migrant Worker [Internet]. 2019 [cited 2019 Jul 26]. Available from: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/2e6a75ce1ebcd9bd74b6380ea293742a.pdf.
12. Thai Working Group on HIV/AIDS Projection. Projections for HIV/AIDS in Thailand. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2019.
13. Strategy and Planning Division. Live births. In: Public Health Statistics AD2017 [Internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2018. p.145. Available from: bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf
14. กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองระบาดวิทยา. รายงานผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี (Behavioral Surveillance Survey: BSS) กลุ่มนักเรียน ประเทศไทย ปี พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
15. ชัยยศ ยงค์เจริญชัย. ซิฟิลิส : การกลับมาระบาดอีกครั้ง และกามโรคในไทยพุ่งกระฉูดโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นเหตุมาจากอัตราการใช้ถุงยางลดลง. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้น 13 พฤษภาคม
2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.bbc.com/thai/thailand-48199586
16. ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections: STI). การอบรมเพื่อสร้างเสริมศักยภาพแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์สาธารณสุข กรุงเทพมหานคร; 6 มิถุนายน 2561; โรงแรมฟูรามา่ , กรุงเทพมหานคร [อินเตอรเ์ น็ต]. 2561 [สืบค้น 11 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: www.bangkok.go.th>sti>3. STI 6 Jun 2018 FINALMARKED.pdf
17. วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. กามโรค: จากอดีตที่ลือลั่น...สู่ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 12 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://irem.ddc.moph.go.th/content/detail/245
18. สิริพร มนยฤทธิ์. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคหลักในเยาวชน ประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2561 วิเคราะห์ตามกรอบระบบเฝ้าระวังโรค 5 มิติ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
19. สุเมธ องค์วรรณดี, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, อัญชลี อวิหิงสานนท์, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่ห์เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. นนทบุรี:
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560: 74, 344- 352
20. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. ยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;
2559.
21. ดวงใจ ไทยวงษ์, กังสดาล สุวรรณรงค์, สุวัฒนา อ่อนประสงค์. การประเมินความเข้มแข็งแผนงานควบคุมโรค ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2560.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 26: 58-65
22. ศณิษา ตันประเสริฐ, ภาวินี ด้วงเงิน, สมบัติ แทนประเสริฐสุข. ความชุกของซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552. วารสารควบคุมโรค. 2556;36:58-66. doi:10.14456/dcj.2013.26.
23. กรมอนามัย. WHO, UNFPA, UNICEF. เอกสารสรุปข้อค้นพบจากการศึกษาการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน
ในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้น 26 มิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/yfhs/no1/Jan2020_final-Policy-Brief-YFHS.pdf
24. กรมสุขภาพจิต. นโยบายกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2557-2558. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 12 มิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/intranet/p2554/policy/
25. กรมสุขภาพจิต. นโยบายกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2558-2559. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 12 มิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/intranet/p2554/policy/.
26. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. การจัดโครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 15 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000304/structure/7.health_Update.pdf
27. ศูนย์บริการสาธารณสุข ที่มีคลินิกตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [อินเตอร์เน็ต]. 29 ม.ค. 2559 [สืบค้น 13 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.lovecarestation.com/
28. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. ประวัติของสำนักอนามัย. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 15 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://203.155.220.238/sdhd/index.php/th/about/aboutscdoh
29. McCormack S, Dunn DT, Desai M, Dolling DI, Gafos M, Gilson R, et al. Pre-exposure prophylaxis to prevent the acquisition of HIV-1 infection (PROUD): Effectiveness results from the pilot phase of a pragmatic open-label randomised trial. Lancet. 2016;387:53-60. doi:10.1016/S0140-6736(15)00056-2.
30. Kojima N, Davey DJ, Klausner JD. Pre-exposure prophylaxis for HIV infection and new sexually transmitted infections among men who have sex with men. AIDS. 2016;30:2251-2. doi:10.1097/QAD.0000000000001185.
31. Harawa NT, Holloway IW, Leibowitz A, Weiss R, Gildner J, Landovitz RJ, et al. Serious concerns regarding a meta-analysis of preexposure prophylaxis use and STI acquisition. AIDS. 2017;31:739-40. doi:10.1097/QAD.0000000000001386.
32. World Health Organization. Global health sector strategy on sexually transmitted infections 2016-2021 towards ending STIs. Geneva; 2016.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16