อัตราความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลขนาดใหญ่จากการตรวจด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay (IGRA)

ผู้แต่ง

  • บุญเชิด กลัดพ่วง กองวัณโรค กรมควบคุมโรค
  • ชำนาญ ยุงไธสง กองวัณโรค กรมควบคุมโรค
  • ผลิน กมลวัทน์ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/taj.2021.3

คำสำคัญ:

การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข, การตรวจด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Cross-sectional study) ด้วยการสำรวจเพื่อประเมินอัตราความชุกของการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent tuberculosis infection: LTBI) ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในบริบทของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ระดับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป (รพศ. และรพท.) 24 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 2 ครั้ง รวมทั้งเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และศึกษาอัตราอุบัติการณ์การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในระยะ 1 ปี (Incidence) ระหว่างการสำรวจครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 การทดสอบหาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงใช้การตรวจหาระดับสาร Interferon-gamma ด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay: IGRA (QuantiFERON-TB Gold Plus)

          การสำรวจครั้งแรกดำเนินการในบุคลากรจำนวน 911 ราย ให้ผลบวก (Positive) 238 ราย อัตราความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คิดเป็นร้อยละ 26.13 เพศชายมีอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 35.24 มากกว่าเพศหญิงที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 24.71 (P<0.01) กลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่ชันสูตร เภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ธุรการและสนับสนุน ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 36.00, 41.17, 42.86, 40.00 และ 33.33 ตามลำดับ ปัจจัยอื่น ๆ ที่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยบุคลากรฯ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 2 ปี มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (ร้อยละ 32.16) สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (P<0.01) และสถานที่ปฏิบัติงาน โดยแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (ร้อยละ 41.46) สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) การสำรวจครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดจะตรวจในกลุ่มที่ผลการตรวจครั้งแรกเป็นลบ (Negative) จำนวน 673 ราย พบว่าบุคลากรในกลุ่มนี้กลับมาตรวจซ้ำในปีถัดไป (1 ปี) จำนวน 517 ราย คิดเป็นอัตรากลับมาตรวจซ้ำร้อยละ 76.82 ผลการตรวจซ้ำพบว่ามีผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (converter) 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.96 พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงใหม่ (Recent infection) ร้อยละ 7.26 บุคลากรฯ ในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD), อุบัติเหตุและฉุกเฉิน, ผู้ป่วยหนัก (ICU) มีอัตราอุบัติการณ์ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงร้อยละ 13.33, 11.90 และ 7.78 ตามลำดับ

          ดังนั้นสถานพยาบาลต้องมีมาตรการในการดำเนินงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล และสนับสนุนให้มีการตรวจร่างกายประจำปีเพื่อเฝ้าระวังและค้นหาการป่วยเป็นวัณโรค

 

References

World Health Organization. Latent tuberculosis infection: updated and consolidated guidelines for programmatic management. Geneva: WHO; 2018.

Division of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (TH). Guidelines for prevention and control of tuberculosis transmission. 1st edition, Bangkok: Aksorn graphic and design publishing (TH); 2018. (in Thai)

World Health Organization. Global tuberculosis report 2018. Geneva: WHO; 2018: 16-18.

Wanlop Payanan, Nirat Boddee, Niphon Udomrati, Sunan Na Songkhla, Watcharee Saribut. 3rd Survey of Tuberculosis in Thailand 2000-2002. Division of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (TH). The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited. (in Thai)

Division of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health (TH). Tuberculosis Control Guidelines Thailand, 2018. 1st edition, Bangkok: Aksorn graphic and design publishing (TH); 2018. (in Thai)

Hfocus.org. [internet]. Udonthani: Phiwat Thai public health Foundation (TH); 2012. The survey revealed 31.41 % of health workers infected with latent tuberculosis; 2018 [2018 Nov 25]; [about 1p.]. Available from https://www.hfocus.org/content/2018/11/16525.

Centers for Disease Control. TB Elimination Interferon-Gamma Release Assays (IGRAs) – Blood Tests for TB Infection. CDC/November 2011.

Centers for Disease Control and prevention. Guidelines for the investigation of contact of persons with infectious tuberculosis recommendations from the national tuberculosis controllers association and CDC. Mord Mortal Wkly Res 2005; 54: 49-55.

S. K. Sharma, R. Vashishtha, L. S. Chauhan, V. Sreenivas, D. Seth. Comparison of TST and IGRA in Diagnosis of Latent Tuberculosis Infection in a High TB Burden Setting. [internet]. 2017 Jan 6 [cited 2020 Aug. 15]; 10(13): 6-7. Available from https://doi.org/10.1371/ Journal.pone.0169539.

Petchwan Phuengrassamee, Weerasak Chongtowiwatwong. TB in some population groups in Thailand : 62 articles reviewed during 1968 to 1998. Report of Academic Documentation on Tuberculosis Project. Ph.D. Project Kanchanaphisek Research Fund (TRF); 1999.

P. Pongwittayapanu, T. Anothaisintawee, K. Malathum, C. Wongrathanandha. Incidence of Newly Diagnosed Tuberculosis among Healthcare Workers in a Teaching Hospital Thailand, Annals of Global Health. 2018; 84(3), 342–347.

AN. Do, K. Limpakarnjarat, W. Uthaivoravit, P.L. Zuber, S. Korattana, N. Binkin. Increased risk of Mycobacteriumtuberculosis infection related to the occupational exposures of health care workers in Chiang Rai, Thailand. The international journal of tuberculosis and lung disease : the official journal of the International Union against Tuberculosis and Lung Disease. 1999; 3 (5) : 377-81.

D. Nonghanphithak, W. Reechaipichitkul, T. Chaiyasung, K. Faksri. Risk Factors for Latent Tuberculosis Infection among Health-care workers in North-Eastern Thailand, South-East Asian J Trop Med Public Health. 2016; 47 (6) :1198 – 1208.

H. Yanai , K. Limpakarnjanarat, W. Uthaivoravit, Mastro TD, T. Mori, JW. Tappero Risk of mycobacterium tuberculosis infection and disease among health care workers, Chiang Rai, Thailand. Int J Tuberc Lung Dis 2003; 7: 36-45.

Pattama Suttha, Nathu Sanguanwong, Pranormnopakhun, Patchara Tanteeraphat. Changes in dermal tuberculin test results in personnel operating at Bamrasnaradura Institute. Journal of Disease Control, 2012; 38 (3): 228 - 235.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-19