การเปรียบเทียบผลของการยับยั้งไวรัส ในการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัส ระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมรักษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเทียบกับ กลุ่มที่ไม่เข้าร่วมของโรงพยาบาลไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พรชัย คูวิวัฒนชัย โรงพยาบาลไชยวาน จ.อุดรธานี
  • สุรัตน์ดา มอโท โรงพยาบาลไชยวาน จ.อุดรธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.4

คำสำคัญ:

เอชไอวี, ยาต้านไวรัส, การยับยั้งไวรัส, เพื่อนช่วยเพื่อน

บทคัดย่อ

          หลักการและวัตถุประสงค์: การใช้วิธีการรักษาแบบผู้ป่วยมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นวิธีที่ WHO แนะนำ แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ในบริบทของประเทศไทย  วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบผลของการยับยั้งไวรัสเอชไอวีของกลุ่มที่เข้าร่วมรักษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (peer support group, PSG) เทียบกับกลุ่มที่ไม่เข้าร่วม (non-PSG)

          วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study  เก็บข้อมูลของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสของโรงพยาบาลไชยวาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.2561 จำนวน 53 ราย  ใช้การวิเคราะห์แบบ intention to treat  เปรียบเทียบการยับยั้งไวรัสของทั้งสองกลุ่มด้วย Log-binomial regression เป็นค่า adjusted odds ratio ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ =0.05 

          ผลการศึกษา:  กลุ่มที่เข้าร่วมรักษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (PSG) จำนวน 33 ราย และกลุ่มที่ไม่เข้าร่วม (non-PSG) จำนวน 22 ราย  ในระยะเวลา 5 ปี พบว่ากลุ่มที่เข้าร่วมรักษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีผลการยับยั้งไวรัสด้วยยาต้านไวรัสได้ 2.73 เท่าเทียบกับกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  (adjusted OR, 2.73; 95% confidence interval, 0.42 to 18.01)

          สรุป: ผลการยับยั้งไวรัสเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสของกลุ่มที่เข้าร่วมรักษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (PSG) เทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เข้าร่วม (non-PSG) แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้นเพื่อให้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย

References

World Health Organization and UNAIDS [Internet]. Geneva: Q&A on HIV/AIDS estimates ; 2017 [cited 2019 Mar14]. Available from: http://www.unaids.org/en/regionscountries/countries/thailand

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศ ไทย ปี 2553. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2553.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศ ไทย ปี 2557. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2557.

ข่าวสารเพื่อสื่อมวลชน [Internet] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สธ.รณรงค์วันเอดส์โลกประจำปี 2561 เน้น “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์”; [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/1861

The Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS). The Gap Report Geneva, Switzerland: UNAIDS; 2014. [cited 2019 Mar14]. Available from: http://files.unaids.org/en/media/unaids/contentassets/documents/unaidspublication/2014/UNAIDS_Gap_report_en.pdf.

World Health Organization [Internet]. Geneva: Consolidated guidelines on the use of antiretroviral drugs for treating and preventing HIV infection; 2015 [cited 2019 Mar14]. Available from: https://www.who.int/hiv/pub/arv/arv2015-service-delivery-factsheet/en/

Mead S, Hilton D, Curtis L. Peer Support: A theoretical perspective. Psychiatric Rehabilitation Journal. 2001;25(2):134-41.

Kanters S, Park JJ, Chan K, et al. Use of peers to improve adherence to antiretroviral therapy: a global network meta-analysis. J Int AIDS Soc 2016; 19(1): 21141.

McMahon JH, Elliott JH, Bertagnolio S, Kubiak R, Jordan MR. Viral suppression after 12 months of antiretroviral therapy in low- and middle-income countries: A systematic review. Bull World Health Organ. 2013; 91(5): 377–85.

Delaugerre C, Ghosn J, Lacombe JM. Significant reduction in HIV virologic failure during a 15-year period in a setting with free healthcare access. Clin Infect Dis. 2015; 60: 463–472.

O’Connor J., et al., Durability of viral suppression with first-line antiretroviral therapy in patients with HIV in the UK: an observational cohort study. Lancet HIV, 2017. 4(7): p.e295–e302.

Aldir I, Horta A, Serrado M. Single-tablet regimens in HIV: does it really make a difference? Curr Med Res Opin 2014; 30: 89–97.

Nachega JB, Parienti JJ, Uthman OA, Gross R, Dowdy DW, Sax PE et al. Lower pill burden and once-daily antiretroviral treatment regimens for HIV infection: A meta-analysis of randomized controlled trials. Clin Infect Dis 2014; 58(9): 1297-1307.

Chang LW, Kagaayi J, Nakigozi G, et al. Effect of peer health workers on AIDS care in Rakai, Uganda: a clusterrandomized trial. PLoS One 2010; 5: e10923.

Taiwo BO, Idoko JA, Welty LJ, et al. Assessing the viorologic and adherence benefits of patient-selected HIV treatment partners in a resource-limited setting. J Acquir Immune Defic Syndr 2010; 54: 85–92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-16