ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ในกลุ่มพนักงานบริการหญิงในพื้นที่ 12 จังหวัด ของประเทศไทย พ.ศ.2557

ผู้แต่ง

  • สหภาพ พูลเกษร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2019.5

คำสำคัญ:

ะบบเฝ้าระวัง, อัตราความชุกการติดเชื้อเอชไอวี, อัตราความชุกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี, พนักงานบริการหญิง

บทคัดย่อ

          สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อม ๆ กับพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มพนักงานบริการหญิง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถอธิบายสถานการณ์การระบาดของเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์งกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการสำรวจใน 12 จังหวัดเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2553 และต่อมาได้สำรวจซ้ำอีกในปี พ.ศ. 2557 โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรม รายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอผลการสำรวจครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2557 พนักงานบริการหญิงในพื้นที่สำรวจมีอายุระหว่าง 15-49 ปี จัดเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี เก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาการติดเชื้อโรคหนองใน (Neisseria gonorrhea) และโรคหนองในเทียม (Chlamydia trachomatis) และตอบแบบสอบถามโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือด้วยตนเอง ผลการสำรวจพบว่า มีพนักงานบริการหญิงเข้าร่วมในการสำรวจ 3,254 คน เป็นพนักงานบริการหญิงตรง 1,103 คน (ร้อยละ 33.9) พนักงานบริการหญิงแฝง 2,151คน (ร้อยละ 66.1) อายุเฉลี่ย 28.7±9 ปี อัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในภาพรวม เท่ากับ ร้อยละ 1.9 การติดเชื้อโรคหนองใน ร้อยละ 4.2 และโรคหนองในเทียม เท่ากับ ร้อยละ 18.1 ผลการสำรวจในด้านพฤติกรรมฯ พบว่า พนักงานบริการหญิง ร้อยละ 58.5 ทราบและเคยได้รับแจกถุงยางอนามัยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 88.8 ประสบการณ์การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 92.1 มีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งหลังสุด โดยมีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมากับลูกค้าประจำ ร้อยละ 95.2 กับลูกขาขาจร ร้อยละ 97.0 กับชายอื่น ร้อยละ 75.9 และกับสามีหรือคนรัก ร้อยละ 27.3ผลการเฝ้าระวังได้ชี้ให้เห็นว่า อัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มพนักงานบริการหญิง มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับการสำรวจ ในปี พ.ศ. 2553 ส่วนอัตราความชุกของการติดเชื้อโรคหนองใน และโรคหนองในเทียม กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการที่มีการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่เพศสัมพันธ์ที่เป็นชายอื่น หรือสามีหรือคนรัก ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในปประชากรกลุ่มนี้ให้ได้ผลมากขึ้นต่อไป

References

1. UNAIDS, UNICEF and WHO. Epidemiological Fact Sheets onHIV/AIDS and Sexually Transmitted Infections–Thailand,2004 update. Geneva, Switzerland and New York, USA
2. WHO South–East Asia Regional Office and Ministry of Public Health, Thailand. External Review of the HealthSec-tor Response to HIV/AIDS in Thailand, 2005. Bangkok, Thailand
3. Joint United Nations Program on HIV/AIDS. Report on the global AIDS epidemic, 2006. Geneva, Switzerland
4. Report of AIDS situation in Thailand, 2006. Bureau of Epidemiology, Disease Control department, Ministry of Public Health, 2006
5. Heckathorn DD. Respondent driven sampling: A new approach to the study of hidden populations. Social Prob-lems 1997; 44: 174–199 6. Heckathorn DD. Respondent–Driven Sampling II: Deriving Valid Population Estimates from Chain–Referral Samples of Hidden Populations. Social Problems 2002; 49: 11–34
7. ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ในกลุ่มพนักงานบริการหญิงในพื้นที่ 12 จังหวัด ของประเทศไทย พ.ศ. 2553, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, หน้า 17
8. Guidelines for repeated behavioral survey in populations at risk of HIV, Funded by The Unites States Agency for International Development (USAID) through the IMPACT Project Implemented by Family Health International, The formula for calculating sample sizes, p.47–53, 2003
9. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549/2550. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, หน้า 15–17

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-17