ความคงตัวของยาฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต 40 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรในสารละลายเด็กซ์โตรสความเข้มข้นร้อยละ 5 ในน้ำ ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร

ผู้แต่ง

  • มยุรี เจนบดินทร์ ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อลิศลา เลิศบรรณพงษ์ ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธนพิพัฒน์ วิริยานนท์ ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความคงตัว, แมกนีเซียม, ภาวะครรภ์เป็นพิษ, ภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก

บทคัดย่อ

ยาฉีดแมกนีเซียมซัลเฟตในสารละลายเด็กซ์โตรสความเข้มข้นร้อยละ 5 ในน้ำ (MgSO4 in D5W injection) เป็นหนึ่งในยาทางเลือกแรกสำหรับการป้องกันการชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (pre-eclampsia) และควบคุมการชักจากภาวะครรภ์เป็นพิษ (eclampsia) จึงทำให้มีการใช้ MgSO4 in D5W injection กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล แต่เนื่องจากยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย เภสัชกรโรงพยาบาลจึงมีบทบาทในการเตรียมเป็นตำรับยาที่ใช้ในโรงพยาบาลแบบเฉพาะคราว (extemporaneous preparation) และกำหนดอายุของสารละลายโดยกำหนดเป็น Beyond-Use Date (BUD) มีอายุ 1 เดือน ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส (˚C) แต่เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงความคงตัวในการเก็บรักษา ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงตัวในการเก็บรักษาของสารละลาย MgSO4 in D5W injection ที่เตรียมเองในโรงพยาบาล โดยทำการสุ่มตัวอย่างครั้งละ 3 ตัวอย่างและวิเคราะห์ซ้ำตัวอย่างละ 3 ครั้ง ใน 7 ช่วงเวลา คือ วันที่ 0 (หลังเตรียมเสร็จ) และ หลังจากเก็บรักษาในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส (˚C) วันที่ 7, 14, 21, 28, 42 และ 56 จนครบ 8 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบความคงตัวทางกายภาพโดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีและการเกิดตะกอนทั้งก่อนและหลังการสุ่มตัวอย่าง ตรวจสอบทางเคมีโดยการวิเคราะห์ปริมาณแมกนีเซียมไอออน (Mg++) ซึ่งเป็นสารสำคัญ ด้วยหลักการ Colorimetric end point method และการตรวจสอบทางจุลชีววิทยา ด้วยวิธีการตรวจเพาะเชื้อตามมาตรฐานเภสัชตำรับของสหรัฐอเมริกา ฉบับที่ 41 (The United States Pharmacopeia, USP41) จากผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ปริมาณ Mg++ เฉลี่ยในแต่ละวัน เข้าเกณฑ์ตามมาตรฐานกำหนด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีและไม่มีการเกิดตะกอน และผลการตรวจสอบทางจุลชีววิทยา ไม่พบเชื้อ จึงสรุปได้ว่าสารละลาย ดังกล่าวมีความคงตัวทางกายภาพและทางเคมี ที่อุณหภูมิ 2-8 ˚C เป็นเวลา 8 สัปดาห์ (56 วัน)

References

Duley L, Johanson R. Magnesium sulphate for pre-eclampsia and eclampsia: the evidence so far. Br J Obstet Gynaecol. 1994;101(7):565-7.

Sibai BM. Magnesium sulfate prophylaxis in preeclampsia: Lessons learned from recent trials. Am J Obstet Gynecol. 2004;190(6):1520-6.

Kharb S, Goel K, Bhardwaj J, Nanda S. Role of magnesium in preeclampsia. Biomed Biotechnol Res J. 2018;2:178-80.

Panahi Y, Mojtahedzadeh M, Najafi A, et al. The role of magnesium sulfate in the intensive care unit. Excli J. 2017;16:464-82.

Lu JF, Nightingale CH. Magnesium sulfate in eclampsia and pre-eclampsia: pharmacokinetic principles. Clin Pharmacokinet. 2000;38(4):305-14.

Trissel LA. Handbook on Injectable Drug. 17th ed. Bethesda, MD: American Society of Health-System Pharmacist; 2017. p. 772.

The United States Pharmacopeia. National formulary. Vol. 2. Rockville (MD): United States Pharmacopeial Convention; 2018. p. 2519.

The United States Pharmacopeia. National formulary. Vol.4. Rockville (MD): United States Pharmacopeial Convention; 2018. p. 5984

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29