ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จของผู้ป่วยโรคอ้วน ณ คลินิกโรคอ้วน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์ งานโภชนาการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บังอรศรี จินดาวงค์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วีระเดช พิศประเสริฐ อนุสาขาวิชาโภชนศาสตร์คลินิก สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ราณี วงศ์คงเดช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ลดน้ำหนักสำเร็จ, โรคอ้วน

บทคัดย่อ

การลดน้ำหนักสำเร็จสามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคอ้วนได้เป็นการศึกษารูปแบบ case-control study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จของผู้ป่วยโรคอ้วน ณ คลินิกโรคอ้วน โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงระหว่างวันที่1 มกราคม 2562 -1 มกราคม 2566 คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 260 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ลดน้ำหนักสำเร็จ (case) 130 คน และกลุ่มที่ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ (control) 130 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธี systematic sampling วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย bivariable analysis และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการลดน้ำหนักสำเร็จโดยควบคุมอิทธิพลหลายปัจจัย ด้วย multiple logistic regression ผลการศึกษา พบว่า อัตราการตอบกลับแบบสอบถามของ case และ control ร้อยละ 100 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value < 0.05) โดยควบคุมอิทธิพลหลายปัจจัย พบ 4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (AOR = 3.959, 95%CI: 1.340 – 11.695) ความถี่ในการออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป (AOR = 3.464, 95%CI: 1.201 – 9.997) การใช้เวลารับประทานมื้ออาหารอย่างช้า ๆ มากกว่า 20 นาที/มื้อ (AOR = 3.811, 95%CI: 1.020 – 14.247) และการไม่ดื่มน้ำหวาน/น้ำปั่นหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (AOR = 4.354, 95%CI: 1.695 – 11.184) บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการคัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักในการลดน้ำหนัก ควรมีการแนะนำความถี่ในการออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้นานขึ้นและลดการดื่มน้ำหวาน/น้ำปั่นหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

References

World health organization. Fact sheets: Obesity and overweight. [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 28]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. [ออนไลน์] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/

สื่อมัลติมิเดีย กรมอนามัย. กรมอนามัย เผย วัยทำงานมีภาวะอ้วน แนะหลัก‘3อ 2ส 1ฟ 1น’ ลดเสี่ยง [ออนไลน์] 2565. [อ้างเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/300465/

Strobel RJ, Rosen RC. Obesity and weight loss in obstructive sleep apnea: a critical review. Sleep 1996;19(2):104-15.

Centers for disease control and prevention (CDC). Healthy weight, nutrition, and physical activity: Health effects of overweight and obesity [Online] 2022. [cited 2022 Aug 28]. Available from: https://www.cdc.gov/healthyweight/effects/index.html

National Cancer Institute (NIH). Fact sheets: obesity and cancer [Online] 2022. [cited 2022 Aug 28]. Available from: https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/obesity/obesity-fact-sheet

Moghaddam AA, Woodward M, Huxley R. Obesity and risk of colorectal cancer: a meta-analysis of 31 studies with 70,000 events. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev 2007;16(12):2533-47.

Cawley J, Meyerhoefer C. The medical care costs of obesity: an instrumental variables approach. J Health Econ 2012;31(1):219-30.

ณิชา สมหล่อ. การดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในเวชปฏิบัติ [ออนไลน์] 2565 [อ้างเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://datahpc9.anamai.moph.go.th/group_sr/allfile/1612322324.PDF

Finkelstein EA, Trogdon JG, Cohen JW, Dietz W. Annual medical spending attributable to obesity: payerand service-specific estimates. Health Aff (Millwood) 2009;28(5):w822-31.

Wing RR, Hill JO. Successful weight loss maintenance. Annu Rev Nutr 2001;21:323-41.

Wing RR, Phelan S. Long-term weight loss maintenance. Am J Clin Nutr 2005;82(1 Suppl):222S-225S.

Montesi L, El Ghoch M, Brodosi L, Calugi S, Marchesini G, Dalle Grave R. Long-term weight loss maintenance for obesity: a multidisciplinary approach. Diabetes Metab Syndr Obes 2016;9:37-46.

Ryan DH, Yockey SR. Weight loss and improvement in comorbidity: differences at 5%, 10%, 15%, and over. Curr Obes Rep 2017;6(2):187-94.

เฉลิมพร เตียวศิริมงคล. ปัจจัยพยากรณ์การลดน้หนักสเร็จกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วน คลินิกเฉพาะทางลดน้หนักในโรงพยาบาทระดับตติยภูมิ. ว. การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564;44(4):57-71.

Elfhag K, Rössner S. Who succeeds in maintaining weight loss? A conceptual review of factors associated with weight loss maintenance and weight regain. Obes Rev 2005;6(1):67-85.

Nicklas JM, Huskey KW, Davis RB, Wee CC. Successful weight loss among obese U.S. adults. Am J Prev Med 2012;42(5):481-5.

Koliaki C, Spinos T, Spinou M, Brinia ME, Mitsopoulou D, Katsilambros N. Defining the optimal dietary approach for safe, effective and sustainable weight loss in overweight and obese adults. Healthcare (Basel)2018;6(3):73.

World Health Organization. The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment [Online] 2000. [cited 2023 Jan 31]. Available from: https://iris.who.int/handle/10665/206936

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลโรคอ้วน [ออนไลน์] 2553. [อ้างเมื่อ 31 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2553/53-4.pdf

World Health Organization. Physical activity [Online] 2022. [cited 2023 Jan 31]. Available from: https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/physical-activity

Qin X, Chen L, Liu X, Zheng S, Wang X. Factors affecting body mass index in overweight/obese University students, Gansu, China: a cross-sectional study. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2018;49(4):685-95.

พรรณี ปานเทวัญ, อายุพร ประสิทธเวชชากูร. การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่. ว. พยาบาลทหารบก 2557;15(1):36-44.

สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย. คำแนะนสหรับการวินิจฉัยและดูแลรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2561.

Jehan S, Zizi F, Pandi-Perumal SR, Wall S, Auguste E, Myers AK, et al. Obstructive sleep apnea and obesity: implications for public health. Sleep Med Disord 2017;1(4):00019.

Dong Z, Xu X, Wang C, Cartledge S, Maddison R, Shariful Islam SM. Association of overweight and obesity with obstructive sleep apnoea: a systematic review and meta-analysis. Obes Med 2020;17:100185.

Anandam A, Akinnusi M, Kufel T, Porhomayon J, El-Solh AA. Effects of dietary weight loss on obstructive sleep apnea: a meta-analysis. Sleep Breath 2013;17(1):227-34.

Kolay E, Bykowska-Derda A, Abdulsamad S, Kaluzna M, Samarzewska K, Ruchala M, et al. Self-reported eating speed is associated with indicators of obesity in adults: a systematic review and meta-analysis. Healthcare (Basel) 2021;9(11):1559.

Hurst Y, Fukuda H. Effects of changes in eating speed on obesity in patients with diabetes: a secondary analysis of longitudinal health check-up data. BMJ Open 2018;8(1):e019589.

Li J, Zhang N, Hu L, Li Z, Li R, Li C, et al. Improvement in chewing activity reduces energy intake in one meal and modulates plasma gut hormone concentrations in obese and lean young Chinese men. Am J Clin Nutr 2011;94(3):709-16.

Proietto J. Chemical messengers: how hormones make us feel hungry and full [Online] 2015. [cited 2024 Feb 8]. Available from: https://findanexpert.unimelb.edu.au/news/3522-chemical-messengers-how-hormones-make-us-feelhungry-and-full

Trepanowski JF, Kroeger CM, Barnosky A, Klempel MC, Bhutani S, Hoddy KK, et al. Effect of alternateday fasting on weight loss, weight maintenance, and cardioprotection among metabolically healthy obese adults: a randomized clinical trial. JAMA Intern Med 2017;177(7):930-38.

Lin S, Cienfuegos S, Ezpeleta M, Gabel K, Pavlou V, Mulas A, et al. Time-restricted eating without calorie counting for weight loss in a racially diverse population: a randomized controlled trial. Ann Intern Med 2023; 176(7):885-95.

McGlynn ND, Khan TA, Wang L, Zhang R, Chiavaroli L, Au-Yeung F, et al. Association of low- and no-calorie sweetened beverages as a replacement for sugar-sweetened beverages with body weight and cardiometabolic risk: a systematic review and meta-analysis. JAMA Netw Open 2022;5(3):e222092.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

ขันหนองโพธิ์ ธ., คูหิรัญญรัตน์ ป. ., จินดาวงค์ . บ. ., พิศประเสริฐ ว. ., & วงศ์คงเดช ร. . (2024). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการลดน้ำหนักสำเร็จของผู้ป่วยโรคอ้วน ณ คลินิกโรคอ้วน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Thai JPEN วารสารโภชนบำบัด, 32(2), 37–52. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/267746