Case Study: Outcomes of Participatory Rehabilitation in a Patient with Stroke

Main Article Content

กัลปังหา โชสิวสกุล
แสงทอง ธีระทองคำ

Abstract

กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลอดเลือดสมองและครอบครัวแบบมีส่วนร่วม ผ่านแนวคิดการเสริมพลังอำนาจ และทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน ให้การพยาบาลโดยการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ภาวะซึมเศร้า ให้ข้อมูลในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยและครอบครัว ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับวิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูสภาพ ทำการเยี่ยมบ้าน การประสานและส่งต่อบุคลากรทีมสุขภาพ เพื่อร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและช่วยฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ตามบริบทของผู้ป่วยและโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นหายโดยเร็ว สามารถปฏิบัติกิจวัตรด้วยตนเอง และญาติผู้ดูแลไม่มีภาวะซึมเศร้า  กรณีศึกษานี้ เสนอแนะว่า การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและครอบครัวควรปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยและครอบครัว  ร่วมกับการเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมในการช่วยเหลือญาติผู้ดูแล จะส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพได้โดยเร็ว มีคุณภาพชีวิตที่ดี และทำให้ครอบครัวมีความผาสุก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โชสิวสกุล ก., & ธีระทองคำ แ. (2016). Case Study: Outcomes of Participatory Rehabilitation in a Patient with Stroke. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice, 3(2), 58–65. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/apnj/article/view/120347
Section
Case report

References

Case study was aimed at studying outcomes of participatory rehabilitation in a patient with stroke through empowerment concept and transition theory. Nursing care started by assessing activity of daily living, muscle strength, depression, knowledge regarding rehabilitation of patient and family members. Rehabilitation information were given using demonstration and return demonstration technique; making home visits; collaborating with and referring to health care team for participatory planning in correcting problems systematically and performing rehabilitation continuously from hospital to home based on patient’s context and family participation. Results showed rapid recovery state, ability in performing activities daily life, and no depression of family caregiver. This case study suggested that care of patients with stroke and his family should systematic and continuous perform based on patient and family context as well as increase in social support to assist family caregiver resulting in progressive rehabilitation, increase quality of life and family well-being.