รายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตำบลพุ่มแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2566

ผู้แต่ง

  • พัฒนชัย ศิริแข็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอยใหญ่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออก, การสอบสวนโรค, การระบาด

บทคัดย่อ

                 วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 น. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอยใหญ่พบผู้ป่วยเข้ารับการตรวจรักษาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และอาเจียนก่อนมา 3 วัน จึงได้ส่งตัวเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลนาแก แพทย์ให้การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก  ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอยใหญ่ จึงได้ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม-14 สิงหาคม 2566 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา เพื่อค้นหาสาเหตุ แหล่งโรคปัจจัยเสี่ยง และหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม วิธีดำเนินการโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษา สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติโดยใช้แบบสอบสวนโรค ทบทวนผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน การสังเกตสภาพแวดล้อม ค้นหาปัจจัยเสี่ยงโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โดยหาค่า Odds ratio และ 95%CI Confidence Interval ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

                  จากการสอบสวนโรคพบผู้ป่วย จำนวน 17 คน อัตราป่วย 27.46 ต่อพันประชากร อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1:1.1 เป็นนักเรียน (94.12%) ค่ามัธยฐานอายุ 15 ปี (ต่ำสุด 9 ปี, สูงสุด 19 ปี) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไข้ (100.00%) ปวดศีรษะ (88.24%) ปวดกล้ามเนื้อ (52.94%) และอ่อนเพลีย (41.18%) จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ≤ 5,000 เซลล์/ลบ.มม. (66.67%) จำนวนเกล็ดเลือด ≤ 100,000 เซลล์/ลบ.มม. (16.67%) และมีผลตรวจ Rapid test Antigen NS1 ให้ผลบวก (91.67%) ลักษณะของการการระบาดเป็นแบบแหล่งโรคแพร่กระจาย    คาดว่าเป็นการติดเชื้อในสถานศึกษาและแพร่กระจายต่อในชุมชน อัตราป่วยสูงสุดในคุ้มบ้านนอก (21.43%) ผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 พบผู้ป่วยมากสุดระหว่างวันที่ 16–20 กรกฎาคม 2566 ผู้ป่วยรายสุดท้ายเริ่มป่วยวันที่ 3 สิงหาคม 2566 รวมระยะเวลาในการควบคุมโรค 28 วัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออก ได้แก่ อายุ (OR=9.18, 95%CI=1.06-79.90) พฤติกรรม
การเล่นเกมส์/เล่นโทรศัพท์ (OR=4.15, 95%CI=1.06-16.21) ลูกน้ำยุงลาย (OR=6.67, 95%CI=2.00-22.24) ปัจจัยป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ได้แก่ พฤติกรรมนอนกางมุ้ง (OR=0.15, 95%CI=0.05-0.50) การจุดยากันยุง (OR=0.10, 95%CI=0.02–0.49) บริเวณรอบๆ บ้านโปร่ง โล่ง แสงแดดส่องถึงพื้น (OR=0.10, 95%CI=0.03-0.36) และตัวบ้านมีอากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น (OR=0.10, 95%CI=0.01-0.21)
                  มาตรการในการควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย การสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน รณรงค์ให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน

References

สำนักระบาดวิทยา. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 DHF Total [ อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds= 262766

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออก ปี 2566 [ อินเทอร์เน็ต]. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://npm.moph.go.th/info_department.php?dp=4

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. สถานการณ์ไข้เลือดออก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม วันที่ 27 กรกฎาคม 2566. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาแก; 2566.

งานระบาดวิทยา. ระบาดวิทยาน่าน: แบบสอบสวนเฉพาะโรค DF/DHF (ไข้เดงกี่/ไข้เลือดออก) [อินเทอร์เน็ต]. น่าน: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน; 2566 [เข้าถึงเมื่อ29 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://wwwnno.moph.go.th/epidnan/mypage/ investigate/ DHF.pdf

ชนินันท์ สมธิไชย, ธนาพร มานะดี, พรศักดิ์ อยู่เจริญ. ความชุกของการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในประชากรไทย. วารสารควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566]; 49:364-78. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/254710/178225

กลุ่มงานระบาดวิทยา. ZR506 Dashboard “รู้ทัน ป้องกันได้” เขตสุขภาพที่ 8 ไข้เลือดออกรวม[อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc8/r8dashboard/zr506.html

ภาคภูมิ อินทรประดิษฐ์, สุวภัทร คำโตนด, ภพกฤต ภพธรอังกูร, รุ่งเรือง จันทร์อนันต์, พิเชษฐ์ เชื้อขำ และคณะ. รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลยางช้าย อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เดือนเมษายน – พฤษภาคม 2561. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566]; 10: 23-34. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JMPH4/article/view/248475/168246

สุกัญญา จุฬารมย์, เบญจวรรณ ตื้อตัน. การกําจัดเงื่อนไขการเกิดยุงลายเพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. Procedia of Multidisciplinary Research [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566]; 1: 1-17. เข้าถึงได้จาก: https://so09.tcithaijo.org/index.php/PMR/article/view/2751/1610

สุชาติ เจตนเสน. หลักระบาดวิทยา. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; ม.ป.ป [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://healthcro.moph.go.th/epid/data/srrt_training_57/principle%20of%20epidemiology.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22