Home ThaiJo
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่งานวิจัยหรือบทความวิชาการระหว่างนักวิจัยหรือผู้นิพนธ์กับสังคมภายนอก ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชากาตามแนวทางของหน่วยงาน Committee on Publication Ethics (COPE) ไว้ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author Ethical Responsibilities)
บทความของผู้นิพนธ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน รวมถึงไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารที่ใด
- เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสารที่ระบุไว้
- ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
- ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง และต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
- ผู้นิพนธ์ที่ปรากฏชื่อในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความนี้จริง
- ผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ หากผู้นิพนธ์มีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
- ผู้นิพนธ์ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงไว้ในเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงมากจนเกินไป
- ผู้นิพนธ์จะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเท่านั้น และต้องไม่มีการสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
- กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง ต้องแนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
- ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่นๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนมแล้ว
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Editor Roles and Responsibility)
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ และตรวจสอบบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
- บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบบทความในด้านความซ้ำซ้อนหรือในด้านการคัดลอกผู้อื่น (Plagiarism) หากตรวจสอบพบความซ้ำซ้อนหรือการคัดลอกผลงานของผู้อื่น บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง พิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิแก่บุคคลอื่นๆ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ
- บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ
- หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
- บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร พัฒนาวารสารให้มีคุณภาพ และมีความทันสมัย
บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer Roles and Responsibilities)
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากบทความที่ได้ทำการประเมิน
- หากผู้ทรงคุณวุฒิมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
- ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาบทความอย่างแท้จริง และควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ
- หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความที่รับประเมินแล้วพบว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ