ผลของการใช้แอปพลิเคชัน “Know COVID19” ต่อการรับรู้โรคติดเชื้อโควิด-19 ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบุ่งหวาย จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย ใจขาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ทัตเทพ เชื้อบรรดิษ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภาณี จันทร์ศิริ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • จิตตรา ตันเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, อาสาสมัครสาธารณสุข, โรคติดเชื้อโควิด-19, ความรู้

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแอปพลิเคชัน “Know COVID19” และศึกษาผลของการใช้แอปพลิเคชันต่อการรับรู้โรคติดเชื้อโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบุ่งหวาย จังหวัดอุบลราชธานี สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ แอปพลิเคชัน “Know COVID19” แบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันที่ผ่านการตรวจสอบดัชนีความตรงตามเนื้อหา (มีค่า 0.96) ดำเนินการทดลองในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงมกราคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

                  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 หลังการทดลอง (gif.latex?\bar{x}=9.30, SD=0.79) สูงกว่าก่อนการทดลอง (gif.latex?\bar{x}=7.03, SD=1.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-6.90, p-value <0.01) และความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน Know COVID19 อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.59, SD=0.45) ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันได้รับข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์เรื่องการรับรู้ข้อมูลโรคติดเชื้อโควิด-19 ในเบื้องต้นได้

References

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

Worldmeter Covid. Covid live update [Internet]. 2021 [cited 2023 Sep 15]. Available from: https:// www.worldometers.info/coronavirus

ธีระ วรธนารัตน์. โคโรน่าไวรัส 2019 (covid-19): ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง?. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.isranews.org/isranews-article/85871-covid.html.

Cheung E. Wuhan pneumonia: Thailand confirms first case of virus outside China [Internet]. 2020 [cited 2023 Sep 16]. Available from: https://web.archive.org/web/20200113130102/https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case

ธนพิชฌน์ แก้วกา. ศบค. รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 3,174 ราย เสียชีวิต 51 คน. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210623141147276

ธัญญารัตน์ ธีรหิรัญวัฒน์. จ.อุบลฯ ติดเชื้อเพิ่ม จากเรือนจำกลาง และแมคโครวารินชำราบ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG211012124758941

นันทิกา หนูสม. ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบน เฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]; 1:75-90. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/tjphe/article/view/252212

ธีรพร สิริวันต์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ไลน์แอปพลิเคชัน (Line application) เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารการปฏิบัติงานในองค์กร [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

กฤษณี เสือใหญ่. พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนําไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2558.

เจนณรงค์ ใจเกลี้ยง และ จุฑามาศ ชุมลักษณ์. การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ด้วย MIT App Inventor สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการรับเข้า-จ่ายออก และจัดเก็บ กรณีศึกษาสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่. วารสารวิศวสารลาดกระบัง[อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566]; 40:76-93. เข้าถึงได้จาก: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/lej/article/download/251274/170947/927020

เดชาวัต อุชื่น, ทศภูมิ บุญพิมล, ฤทธิชัย ด่างตาดทอง และ คชา โกศิลา. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฉลาดรอบรู้กับความรู้ทั่วไปด้วยโปรแกรม App Inventor. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566]; 3:11-4. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/198025/159303

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research1977;2:49-60.

Likert RA. Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological1932;3:42-48.

ชวลิต ชูกำแพง. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร : แนวคิดและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.

Crabtree BF, Miller WL. Qualitative Research Choosing Among Five Appoaches. 2ndediton. London: SAGE Publications; 1992.

Bloom BS. Taxonomy of Education. 1stediton. New York: David McKay Company Inc.; 1975.

Best John W. Research is Evaluation. 3rdediton. Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.

นูรดีนี ดือเระ, แอนซอรี อาลี, มนัสวี อดุลยรัตน์, ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, ไซนะ บินดือเล๊าะ, สุภาวดี ขวัญเจริญ และ นภัสวัลย์ สอนา. ผลของการใช้แอพพลิเคชั่นการดูแลแบบประคับประคองในมิติจิตวิญญาณตามวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถในการดูแลมิติจิตวิญญาณของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนราธิวาส. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566]; 31:85-95. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/download/255642/173958/933344

วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์, ชญาพัฒน์ ทองปากน้ำ, อนุกูล บำรุงวงค์, ประไพศรี ศุภางค์ภร, เถกิงศักดิ์ จันมาทอง. ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “COVID Check” ต่อความรู้ เรื่องโรคติดเชื้อโควิด-19 ในนักเรียนจ่าอากาศ ปีการศึกษา 2565. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]; 17:1023-1034. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/263560

Fisher JD, Fisher WA, Bryan AD, Misovich SJ. Information-motivation-behavioral skills model-based HIV risk behavior change intervention for inner-city high school youth. Health Psychology2002;21(2):177-86.

Miner MA, Mallow J, Theeke L, Barnes E. Using Gagne's 9 events of instruction to enhance student performance and course evaluations in undergraduate nursing course. Nurse educator2015;40(3):152-4.

วรรณวิสา อ่วมทับ, ปณาลี สายทอง, ฐิตินาถ คงสวรรค์, กสมล ชนะสุข. การพัฒนาแอปพลิเคชันรวบรวมข้อมูลวัคซีน COVID-19. ใน: วิรัตน์ ปิ่นแก้ว, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม “วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World”; วันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565; ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2565. หน้า 547-561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28