การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติชนิดทุติยภูมิ และได้รับการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกทั้งหมด

ผู้แต่ง

  • ไอยวริญ อิทธิพัทธฏ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติชนิดทุติยภูมิ, การผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกทั้งหมด

บทคัดย่อ

             กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา และการพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติชนิดทุติยภูมิและได้รับการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกทั้งหมด จำนวน 1 ราย ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยพิเศษกาญจนาภิเษก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566    ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ เวชระเบียนผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและการพยาบาลที่สำคัญในระยะก่อนผ่าตัด คือ  ผู้ป่วยมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง การพยาบาล ได้แก่ การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Vitamin D และฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตามแผนการรักษาระยะหลังผ่าตัด คือ 1) ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation การพยาบาล ได้แก่ การประเมินอาการและอาการแสดงของเลือดออกจากหัวใจใน 1 นาที ไม่เพียงพอดูแลให้ได้รับยา Amiodarone และ Vitamin D 2) ผู้ป่วยมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ การพยาบาล ได้แก่ การดูแลให้ได้รับยา CaCO3และ Vitamin D การประเมินการเกิดภาวะ Hungry bone syndrome ซึ่งปัญหาสำคัญดังกล่าวหลังการดูแลรักษาได้รับการแก้ไขหมดไป แต่ยังคงเหลือปัญหาอื่น ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมีของเสียคั่งในร่างกาย และ 2) ผู้ป่วยมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำ ซึ่งทั้ง 2 ปัญหาต้องได้รับการดูแลรักษาในระยะยาว ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

               จากการศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติชนิดทุติยภูมิและได้รับการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าพยาบาลต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพ  ของโรค การรักษาของแพทย์ เพื่อให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับพยาธิสภาพของโรค และการรักษาของแพทย์  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

References

Xu, Y., Evans, M., Soro, M., Barany, P., and Carrero, J. J. Secondary hyperparathyroidism and adverse health outcomes in adults with chronic kidney disease. Clinical Kidney Journal 2021; 14(10): 2213 – 20.

Kovesdy, C. P., Ahmadzadeh, S., Anderson, J. E., and Kalantar-Zadeh, K. Secondary hyperparathyroidism is associated with higher mortality in men with moderate to severe chronic kidney disease. Kidney International 2008; 73: 1296–302.

Fleming, B. Complications of Parathyroid Surgery [Internet]. 2010 [cited 2023 July 15]; Available from: http://www.endocrinesurgery.net.au/parathyroid-surgery-complicati/

ศูนย์ข้อมูลสานสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2564-2565 [อินทราเน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์. ภาวะกระดูกพรุนในโรคไต [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภาการชาดไทย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/

จารุวรรณ งามขำ. Etelcalcetide: ยารักษาภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารเภสัชกรรมไทย 2565, 14(1): 16-26.

Bie, L. The Status and Research Progress on Vitamin D Deficiency and Atrial Fibrillation. Braz J Cardiovasc Surg; 2019; 34(5): 605-9.

ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์ และคณะ. การศึกษาผลของการให้ธาตุเหล็กทางเส้นเลือดต่อภาวะซีด ปริมาณของยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดและค่าใช้จ่ายในการรักษาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/af6c23ff3bad2f64df0c57859a0e4b13.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28