การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพรเจริญ ด้วยระบบ Telemedicine
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบบริการ, ระบบการแพทย์ทางไกล, ความเป็นไปได้ของการจัดบริการ, ความพึงพอใจต่อการรับบริการบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการรับบริการผู้ป่วยนอกด้วยระบบการแพทย์ทางไกล ความต้องการการจัดบริการของผู้ให้บริการ และประเมินผลของการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 21 คน ผู้มารับบริการ จำนวน 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการพัฒนาระบบบริการในงานผู้ป่วยนอกด้วยระบบการแพทย์ทางไกลโดยรวม มีระดับความคิดเห็นในการบริการอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการพัฒนาระบบบริการในงานผู้ป่วยนอกด้วยระบบการแพทย์ทางไกลพบว่า โดยรวมมีระดับความคิดเห็นในการบริการอยู่ในระดับมาก เห็นด้วยกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้วยการใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลอยู่ในระดับมากที่สุด
References
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. รายงานประจำปี 2566 HDC[อินเทอร์เน็ต].บึงกาฬ: งานพัฒนายุทธศาสตร์และแผนสำนักงานสาธารณสุขบึงกาฬ; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/bungkanpho/
ภัทรพร ยุบลพันธ์. การตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก. โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ 2559; 6 (ฉบับที่ 2): 86-98.
ธนพร ทองจูด. การศึกษาปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
ปิยะ บูชา และคณะ. การวิจัยและพัฒนา: กระบวนการและการประยุกต์ใช้. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา 2564; 1: 77-89.
บุษยมาส บุุศยารัศมี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์, 2566; 1: 63-78.
จักรพงษ์ ศรีราช. การพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ในเขตอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง