ความรู้ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนบ้านพิมาน หมู่ที่ 3 ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอย, สถานการณ์ขยะมูลฝอย, ความรู้, พฤติกรรม, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย ความรู้ทั่วไปในการกำจัดขยะมูลฝอย พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนบ้านพิมาน หมู่ที่ 3 ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ประชากรเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป และอาศัยอยู่ภายในชุมชนไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 137 หลังคาเรือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณเพื่อการประมาณค่าเฉลี่ยประชากร กรณีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เท่ากับ 123 หลังคาเรือน และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรู้ทั่วไปในการกำจัดขยะมูลฝอย 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน และ 4) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.78 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.78 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนธันวาคม 2566 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.24 อายุ 50 ปีขึ้นไป (อายุเฉลี่ย 55.09 ปี ± 13.42 ปี) มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 52.85 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 65.04 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 73.17 รายได้ต่อเดือนของครัวเรือนเฉลี่ย 7,321.14 บาท ± 7,129.70 บาทเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป ร้อยละ 85.37 ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนเฉลี่ย 0.98 กิโลกรัมต่อวัน ± 0.41 กิโลกรัม จำแนกเป็นผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ร้อยละ 90.24 ขวด กระป๋อง และถุงพลาสติก ร้อยละ 86.99 กลุ่มตัวอย่างไม่มีการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด ร้อยละ 65.85 ทิ้งรวมกันในถุงเดียว ร้อยละ 65.85 และกำจัดด้วยการเผา ร้อยละ 46.34 มีความรู้ทั่วไปในการกำจัดขยะมูลฝอย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.39 คะแนน ± 0.46 คะแนน อยู่ในระดับระดับต่ำ-ปานกลาง ร้อยละ 72.36 มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนเท่ากับ 35.68 คะแนน ± 0.97 คะแนน อยู่ในระดับไม่ดี-ปานกลาง ร้อยละ 69.11 มีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนโดยรวมเท่ากับ 67.91 คะแนน ± 1.07 คะแนน อยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง ร้อยละ 85.36 การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยในชุมชนของกลุ่มตัวอย่างในทุก ๆ ด้านอยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง เช่นเดียวกัน
ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ในการนำไปใช้พัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อความมีประสิทธิภาพในการจัดการขยะมูลฝอยนำไปสู่ความยั่งยืน
References
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2563 [ อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จำกัด; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/ 2021/08/pcdnew-2021-08-27_07-41-26_374623.pdf
สำนักงานสถิติจังหวัดนครพนม. การจัดการขยะมูลขยะฝอยชุมชน จังหวัดนครพนม [อินเทอร์เน็ต]. นครพนม: สำนักงานสถิติจังหวัดนครพนม; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nkphanom.nso.go.th/statistical-information-service/infographic-interactive/interactive-dashboard/municipal-solid-waste-management-nakhon-phanom-province.html
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2567 2567; เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/04/pcdnew-2023-04-11_03-13-24_292638.pdf
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร. การจัดการขยะ [อินเทอร์เน็ต]. ยโสธร: ส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.chaingpeng.go.th/downloadfile-35.html
สุณิสา ดีนาง. ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำชุมชน ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]; 7:73-85. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/ article/view/180892/128373
ศราวุฒิ ทับผดุง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
สุกัณยา บัวลาย. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560.
ลักขณา เนตรยัง, สุพัฒน์ กองศรีมา. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองวัวซอ: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://backoffice. udpho.org/openaccess/control/download.php?id=MzM=
ธราธร มีชัย. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนกรณีศึกษา เทศบาลตำบลตะกุด อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี [อินเทอร์เน็ต]. สระบุรี: มหาวิทยาลัยรามคำแหง: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/ treatise_lopburi01_02082021/6124952512.pdf
กิติยา โต๊ะทอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะของชุมชนในเขตเมือง กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]; 8:147-62. เข้าถึงได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/ article/view/254090/172838
นฤนาท ยืนยง, พิชชานาถ เงินดีเจริญ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]; 12:279-97. เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/254682/175832
ปวีณา ปาทาน. รูปแบบการจัดการมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหนองม่วงเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
ขันชัย ขันทะชา. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะโดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภออำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2565.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์. ขยะแต่ละชนิดใช้เวลาย่อยสลายเท่าไร [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://erdi.cmu.ac.th/?p=3100
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์. มลพิษจากขยะเศษอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://erdi.cmu.ac.th/?p=1155
อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล, สุวารีย์ ศรีปูณะ, สม นาสอ้าน. ผลของการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]; 6:123-37. เข้าถึงได้จาก: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/69106/59670
อภิชิต กองเงิน. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567]; 1: 55-64. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/ article/view/250425/170422
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง