การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 และความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษา 1 ราย

ผู้แต่ง

  • พจนีย์ สวนศรี โรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, ภาวะไตเสื่อม, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

               กรณีศึกษานี้เป็นการศึกษาเฉพาะรายกรณี (case study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อม และความดันโลหิตสูง ตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล (Nursing process) โดยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษา จำนวน  1 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบางคล้า ระยะเวลาที่ศึกษาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั้งแบบบันทึกทางการพยาบาลและบันทึกทางการแพทย์ต่าง ๆ และข้อมูลที่ได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมจากตัวผู้ป่วย และญาติผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเปรียบเทียบกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพยาบาลสำหรับดูแลผู้ป่วยรายดังกล่าวตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล

          ผลการศึกษา ผู้ป่วยกรณีศึกษาหญิงไทย อายุ 84 ปี ป่วยด้วยโรค COPD with DM, CKD stage 3 และ HT มารับบริการที่โรงพยาบาลตามแพทย์นัด ร่วมกับมีอาการหายใจเหนื่อยเล็กน้อย ไอมีเสียงเสมหะในลำคอ ประเมินสภาพแรกรับ ณ แผนกผู้ป่วยนอกที่คลินิกโรคเรื้อรัง รู้สึกตัวดี ท่าทางอ่อนเพลียเล็กน้อย ตรวจพบ wheezing ที่ปอดทั้ง 2 ข้าง ความดันโลหิต 178/66 มิลลิเมตรปรอท มีประวัติเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการมีอาการหอบกำเริบจำนวน 2 ครั้ง ในรอบสองปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการกำเริบคือการมีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ ระหว่างรับผู้ป่วยกรณีศึกษาไว้ในความดูแลในคลินิกผู้ป่วยนอกรวมระยะเวลาที่ดูแล 147 วัน โดยใช้รูปแบบการดูแลตามแนวคิด D-METHOD ที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและญาติมีความรอบรู้เกี่ยวกับโรค และการจัดการภาวะสุขภาพของตนเองด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายให้เหมาะสม และบริหารยาตามแผนการรักษาเพื่อควบคุมอาการของโรคให้สงบ โดยเฉพาะการจัดการกับปัจจัยที่กระตุ้นที่ทำให้อาการหอบกำเริบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่มีอาการกำเริบที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการนอนโรงพยาบาล ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้ป่วยกรณีศึกษาและญาติผู้ดูแลสามารถวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยกรณีศึกษา 3 อันดับแรกได้แก่ 1) แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลมและการขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ 2) เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่เนื่องจากจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรู้ 3) เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน: ยูรีเมียเนื่องจากการทำงานของไตลดลงและพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม ภายหลังจากที่ผู้ป่วยกรณีศึกษาได้รับการดูแลตามแผนการพยาบาลที่กำหนดทุกครั้งที่มารับการตรวจตามนัดร่วมกับมีการติดตามเยี่ยมผ่านโทรศัพท์จำนวน 3 ครั้ง โดยเน้นย้ำให้ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลปฏิบัติตามแนวคิด D-METHOD อย่างครบถ้วน ส่งผลให้ปัญหาที่พบทุกปัญหาสามารถควบคุมได้และไม่เกิดความรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีโรคร่วมหลายโรค พยาบาลวิชาชีพจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค พยาธิสภาพต่าง ๆ แนวทางการบำบัดรักษาพยาบาล รวมทั้งต้องมีทักษะในการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ป่วยและญาติให้สามารถจัดการอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ และมีชีวิตตามปกติสุขได้ต่อไป

References

Christenson SA, Smith BM, Bafadhel M, Putcha N. Chronic obstructive pulmonary disease. Lancet London, England) [Internet]. 2022 Jun 11 [cited 2024 Apr 13];399(10342):2227–42. Available from: https://research.ebsco.com/linkprocessor/plink?id=e53aede0-737c-3bae-b061- 73d956ca646f

World Health Organization (WHO). Fact sheet: Chronic obstructive pulmonary disease (COPD). WHO; 2023 [Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd).

WHO. Fact sheet: The top 10 causes of death 2020. WHO; 2023 [Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death.

Venkatesan P. GOLD COPD report: 2024 update. The Lancet Respiratory medicine. England: Elsevier; 2024. p. 15-6.

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560 - 2564). http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปี 2565-2566.

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=67473ea582306d345ce1bb44b06ba2e9&id=3bcec2a91eb03924f0b2714a85ee5b95#

นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease. https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/COPD.pdf

Bagatini MD, Cardoso AM, Reschke CR, Carvalho FB. Immune System and Chronic Diseases 2018. Journal of immunology research. 2018;2018:8653572.

Rubinow KB, Rubinow DR. In immune defense: redefining the role of the immune system in chronic disease. Dialogues in clinical neuroscience. 2017;19(1): 19-26.

Sharma K, Akre S, Chakole S, Wanjari MB. Stress-Induced Diabetes: A Review. Cureus. 2022;14(9): e29142.

Vedantam D, Poman DS, Motwani L, Asif N, Patel A, Anne KK. Stress-Induced Hyperglycemia: Consequences and Management. Cureus. 2022;14(7): e26714.

Chan SW. Chronic Disease Management, Self-Efficacy and Quality of Life. The journal of nursing research: JNR. 2021;29(1): e129.

Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. Boston: MA: Mosby; 1994.

Carpenito LJ. Nursing diagnosis: application to clinical practice. 15 ed. Philadelphia: PA: Wolters Kluwer; 2017.

นภัสวรรณ สันจร. ผลของการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อจำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2020; 10(2): 54-68.

อาดีละ สะไร. ผลของโปรแกรมการบูรณาการการวางแผนจำหน่ายร่วมกับประสบการณ์อาการต่อความสามารถในการจัดการอาการและสภาวะอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11227/1/413392.pdf. 2559.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา และ ลาลิน เจริญจิตต์. บทบาทพยาบาลในการจัดการอาการของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2022; 38(3): 12-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-14