การปรับเลือกข้อมูลพื้นฐานสำหรับการแปลผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินตามเกณฑ์ของ NIOSH และ OSHA:ผลการศึกษาจากสถานประกอบการ 17 แห่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

Theerasit Chernbamrung
Sirinthip Chanduaywit
Wantanee Hwanraruen

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินตามเกณฑ์ของ OSHA และเกณฑ์ของ NIOSH เมื่อแปลผลเทียบกับข้อมูลพื้นฐานที่ผ่านการปรับข้อมูลพื้นฐานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว เปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีการปรับข้อมูลพื้นฐานในพนักงาน 2,539 ราย จากสถานประกอบกิจการ 17 แห่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินระหว่าง พ.ศ. 2550-2558 วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบจำนวนและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 30-50 ปี ในฝ่ายการผลิตโพลีเมอร์และโอเลฟินส์ เมื่อปรับข้อมูลพื้นฐานอุบัติการณ์ของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบสำคัญและแบบมาตรฐานตามเกณฑ์ของ  NIOSH , OSHA, และ OSHA ที่มีการปรับปัจจัยจากอายุ คิดเป็นร้อยละ 18.14-29.27, 9.37-11.15, และ 3.81-5.33 ตามลำดับ และมีแนวโน้มคงที่ เมื่อไม่ได้ปรับข้อมูลพื้นฐานมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในแต่ละปีจากผลบวกลวง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับข้อมูลพื้นฐานมีความจำเป็นสำหรับการดำเนินมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน การคัดกรองเพื่อส่งพนักงานเข้ารับการตรวจซ้ำภายใน 30 วัน การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์วินิจฉัยโรคจากการทำงานที่เหมาะสมที่สุดควรใช้เกณฑ์ของ OSHA ที่มีการปรับข้อมูลพื้นฐานอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้สถานประกอบการส่วนใหญ่สามารถดำเนินการกับพนักงานที่มีผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ผิดปกติได้อย่างเหมาะสม การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพควรได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ และพิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือปฏิบัติของสถานประกอบการ


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และกลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.

Dobie RA, Archer RJ. (1981). Otologic referral in industrial hearing conservation programs. J Occup Med. 23(11), 755-61.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (พ.ศ. 2553). หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ เล่ม 127 ตอนพิเศษ 64 ง.(ลงวันที่20 พฤษภาคม 2553).

National Hearing Conservation Association. NHCA Professional guide for audiometric baseline revision (Reprinted with permission of the National Hearing Conservation Association. Virginia: American Industrial Hygiene Association; 2003.

National Institute for Occupational Safety and Health. Criteria for a recommended standard Occupational noise exposure.Ohio: Center Disease Control and Prevention 1998;98-126

Occupational Safety and Health Administration. Occupational noise exposure: hearing conservation amendment [Internet]. 1983 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=standards&p_id=9735

Occupational Safety and Health Administration. OSHA Forms: Work-Related Injuries and Illnesses [Internet]. 2004 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha. gov/recordkeeping/new-osha300form1-1-04.pdf

Occupational Safety and Health Administration. Regulations: Determination of work-relatedness [Internet]. 2001 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=STANDARDS&p_id=

Occupational Safety and Health Administration. Regulations: Recording and Reporting Occupational Injuries and Illness [Internet]. 2001 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=STANDARDS&p_id=9641

Kirchner DB, Evenson E, Dobie RA, Rabinowitz P, Crawford J, Kopke R, et al. Occupational noise-induced hearing loss: ACOEM Task Force on Occupational Hearing Loss. J Occup Environ Med 2012;54:106-8.

Kakarlapudi V, Sawyer R, Staecker H. The effect of diabetes on sensorineural hearing loss. Otol Neurotol 2003;24:382-6.

Park SK, Elmarsafawy S, Mukherjee B, Spiro A,Weisskopf MG , Vokonas PS, Nie H, et al. Cumulative lead exposure and age-related hearing loss: the VA Normative Aging Study. Hear Res 2010;269:48-55.

Choi YH, Hu H, Mukherjee B, Miller J, Park SK. Environmental cadmium and lead exposures and hearing loss in U.S. adults: the National Health and Nutrition Examination Survey, 1999 to 2004. Environ Health Perspect 2012;120:1544-50.

Prechthai T, Niyoomtoon I, Singhakan C, Wongsirikul D, Tantakanapa K, Sihabut T. A Survey of BTEX Concentrations in Selected Automotive Paint Shops and their Vicinities in Thailand: Journal of Public Health 2010;40: 65-75.

Jitbanjong T, Poonsit H, Chamnong T. Proteinuria of Lead-exposed Boatyard Workers: The Detection of Renal Dysfunction: Journal of Public Health 2013;43:164-74.

Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2558 [Internet]. 2015 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ up load Images/file/AnnualReportBook2558.pdf.

Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2557 [Internet]. 2014 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ upload Images/file/AnnualReportBook2557.pdf.

Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2556 [Internet]. 2013 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ upload Images/file/AnnualReportBook2556.pdf.

Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2555 [Internet]. 2012 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ uploadImages/file/AnnualReportBook2555.pdf.

Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2554 [Internet]. 2011 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ uploadImages/file/AnnualReportBook2554.pdf.

WSH Statistics. WSH Statistics in 2016 (January - June) [Internet]. 2016[cited 2017 Jan 19]. Available from: https://wsh-institute.sg

ธีระศิษฎ์ เฉินบำรุง. (2560). ความชุกของผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ผิดปกติในพนักงานสถานประกอบการ8แห่ง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 10(36).

Rabinowitz PM, Galusha D, Ernst CD, Slade MD. (2007). Audiometric “Early Flags” for Occupational

Hearing Loss. J Occup Environ Med 49(12),1310-6.

Rabinowitz PM, Galusha D, Ernst CD, Slade MD 2011. Evaluating the Effectiveness of Hearing Conservation Programs. [Internet]. 2011 [cited 2017 March 3]. Available from: http://c.ymcdn.com/sites/www.hearingconservation.org/resource/resmgr/imported/Rabinowitz_Peter_02252011.pdf

ภรณ์ทิพย์ พิมดา, เนสินี ไชยเอีย, ขวัญชนก ยิ้มแต้, จิราพร เขียวอยู่, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ และ นภาพร ครุสันธ์. (2559). อุบัติการณ์ของพนักงานที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบมาตรฐาน; กรณีศึกษาผลการตรวจการได้ยิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 31(3), 287-92.

Masterson EA, Sweeney MH, Deddens JA, Themann CL, Wall DK. (2014). Prevalence of Workers with Shifts in Hearing by Industry: A Comparison of OSHA and NIOSH Hearing Shift Criteria. Journal of Occupational and Environmental Medicine. 56(4), 446-55.

สาวิตรี ชัยรัตน์, อดุลย์ บัณฑุกุล และ เพ็ญภัทรา ศรีไพบูลย์กิจ. (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถในการได้ยินมาตรฐานในพนักงานบริษัทผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 13(1), 59-70.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (พ.ศ. 2551). กำหนดแบบสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและแบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยการให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไข เล่มที่125 ตอนพิเศษ 30 ง. (ลงวันที่11 กุมภาพันธ์ 2551).

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2550) มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. นนทบุรี. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

วิทยา พิเชฐวีรชัย, ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง, ศิรินทร์ทิพย์ ชาญด้วยวิทย์. (2559). Notch criteria สำหรับการวินิจฉัยโรคหูตึงจากเสียง. ธรรมศาสตร์เวชสาร 16(1),24-30

ธีระศิษฎ์ เฉินบำรุง. (2560). การเกิดร่องและขนาดของร่องที่พบได้จากการตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำปีของพนักงานสถานประกอบการ9แห่ง จังหวัดระยอง ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขภาพ 48(1).

European Commission. Information notices on occupational diseases: a guide to diagnosis. Luxembourg: European Communities 2009.

อุษณีย์ จันทร์ตรี, ศรัณย์ ศรีคำ, วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, จารุพงษ์ พรหมวิทักษ์. (2557).หลักฐานแสดงการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังของสารเบนซีนและโทลูอีน.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา9(1),152-60

หทัยรัตน์ เมธนาวิน, ฉันทนา จันทวงศ์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้เจตคติ พฤติกรรมป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และระดับตะกั่วในเลือดของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา11(2),76-84.

นิตินัย รุ่งจินดารัตน์, นลินี พานสายตา. (2558). โรคเบาหวานกับการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัยไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา10(2),89-96.

ภูวสิทธิ์ สิงหภูมิ, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556). ผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา8(2),92-100.