การปรับเลือกข้อมูลพื้นฐานสำหรับการแปลผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินตามเกณฑ์ของ NIOSH และ OSHA:ผลการศึกษาจากสถานประกอบการ 17 แห่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
Incidence Comparison of Hearing Threshold Shift before and after Audiometric Baseline Revision for Interpretation Based on NIOSH and OSHA Criteria
This descriptive study aimed to examine the incidence of hearing threshold shift by OSHA criteria and NIOSH criteria. The participants were 2,539 employees from 17 plants in eastern Thailand, who obtained audiometric tests during 2007-2015. The results after proper baseline revision method were compared with those non-baseline revision method. Data were analyzed by descriptive statistics. Results revealed that the majority of the subjects were male, 30-50 years old, working in polymer and olefins production plants. After proper baseline revision, the incidence of significant threshold shift (NIOSH), standard threshold shift (OSHA), and standard threshold shift with age correction were 18.14-29.27%, 9.37-11.15%, and 3.81-5.33% respectively. With baseline revision, the incidence was quite stable. Without baseline revision, the incidence showed rising trend caused by false positive. These findings suggested that baseline revision was crucial. The most suitable criteria for screening hearing abnormalities were to retest audiogram within 30 days. Referral to occupational physician to make diagnosis for work related disease was OSHA criteria with proper baseline revision. Legislation of health related laws and regulations should be supported by evidence-based medicine together with compliance and affordability of the companies.
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินตามเกณฑ์ของ OSHA และเกณฑ์ของ NIOSH เมื่อแปลผลเทียบกับข้อมูลพื้นฐานที่ผ่านการปรับข้อมูลพื้นฐานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว เปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีการปรับข้อมูลพื้นฐานในพนักงาน 2,539 ราย จากสถานประกอบกิจการ 17 แห่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินระหว่าง พ.ศ. 2550-2558 วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบจำนวนและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 30-50 ปี ในฝ่ายการผลิตโพลีเมอร์และโอเลฟินส์ เมื่อปรับข้อมูลพื้นฐานอุบัติการณ์ของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบสำคัญและแบบมาตรฐานตามเกณฑ์ของ NIOSH , OSHA, และ OSHA ที่มีการปรับปัจจัยจากอายุ คิดเป็นร้อยละ 18.14-29.27, 9.37-11.15, และ 3.81-5.33 ตามลำดับ และมีแนวโน้มคงที่ เมื่อไม่ได้ปรับข้อมูลพื้นฐานมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในแต่ละปีจากผลบวกลวง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับข้อมูลพื้นฐานมีความจำเป็นสำหรับการดำเนินมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน การคัดกรองเพื่อส่งพนักงานเข้ารับการตรวจซ้ำภายใน 30 วัน การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์วินิจฉัยโรคจากการทำงานที่เหมาะสมที่สุดควรใช้เกณฑ์ของ OSHA ที่มีการปรับข้อมูลพื้นฐานอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้สถานประกอบการส่วนใหญ่สามารถดำเนินการกับพนักงานที่มีผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ผิดปกติได้อย่างเหมาะสม การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพควรได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ และพิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือปฏิบัติของสถานประกอบการ
Article Details
References
สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และกลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ.
Dobie RA, Archer RJ. (1981). Otologic referral in industrial hearing conservation programs. J Occup Med. 23(11), 755-61.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (พ.ศ. 2553). หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ เล่ม 127 ตอนพิเศษ 64 ง.(ลงวันที่20 พฤษภาคม 2553).
National Hearing Conservation Association. NHCA Professional guide for audiometric baseline revision (Reprinted with permission of the National Hearing Conservation Association. Virginia: American Industrial Hygiene Association; 2003.
National Institute for Occupational Safety and Health. Criteria for a recommended standard Occupational noise exposure.Ohio: Center Disease Control and Prevention 1998;98-126
Occupational Safety and Health Administration. Occupational noise exposure: hearing conservation amendment [Internet]. 1983 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=standards&p_id=9735
Occupational Safety and Health Administration. OSHA Forms: Work-Related Injuries and Illnesses [Internet]. 2004 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha. gov/recordkeeping/new-osha300form1-1-04.pdf
Occupational Safety and Health Administration. Regulations: Determination of work-relatedness [Internet]. 2001 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=STANDARDS&p_id=
Occupational Safety and Health Administration. Regulations: Recording and Reporting Occupational Injuries and Illness [Internet]. 2001 [cited 2017 March 3]. Available from: https://www.osha.gov/pls/oshaweb/owadisp.show_document?p_table=STANDARDS&p_id=9641
Kirchner DB, Evenson E, Dobie RA, Rabinowitz P, Crawford J, Kopke R, et al. Occupational noise-induced hearing loss: ACOEM Task Force on Occupational Hearing Loss. J Occup Environ Med 2012;54:106-8.
Kakarlapudi V, Sawyer R, Staecker H. The effect of diabetes on sensorineural hearing loss. Otol Neurotol 2003;24:382-6.
Park SK, Elmarsafawy S, Mukherjee B, Spiro A,Weisskopf MG , Vokonas PS, Nie H, et al. Cumulative lead exposure and age-related hearing loss: the VA Normative Aging Study. Hear Res 2010;269:48-55.
Choi YH, Hu H, Mukherjee B, Miller J, Park SK. Environmental cadmium and lead exposures and hearing loss in U.S. adults: the National Health and Nutrition Examination Survey, 1999 to 2004. Environ Health Perspect 2012;120:1544-50.
Prechthai T, Niyoomtoon I, Singhakan C, Wongsirikul D, Tantakanapa K, Sihabut T. A Survey of BTEX Concentrations in Selected Automotive Paint Shops and their Vicinities in Thailand: Journal of Public Health 2010;40: 65-75.
Jitbanjong T, Poonsit H, Chamnong T. Proteinuria of Lead-exposed Boatyard Workers: The Detection of Renal Dysfunction: Journal of Public Health 2013;43:164-74.
Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2558 [Internet]. 2015 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ up load Images/file/AnnualReportBook2558.pdf.
Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2557 [Internet]. 2014 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ upload Images/file/AnnualReportBook2557.pdf.
Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2556 [Internet]. 2013 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ upload Images/file/AnnualReportBook2556.pdf.
Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2555 [Internet]. 2012 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ uploadImages/file/AnnualReportBook2555.pdf.
Social Security Office. Compensation Fund Annual Reports: AnnualReportBook2554 [Internet]. 2011 [cited 2017 Jan 19]. Available from: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/ uploadImages/file/AnnualReportBook2554.pdf.
WSH Statistics. WSH Statistics in 2016 (January - June) [Internet]. 2016[cited 2017 Jan 19]. Available from: https://wsh-institute.sg
ธีระศิษฎ์ เฉินบำรุง. (2560). ความชุกของผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ผิดปกติในพนักงานสถานประกอบการ8แห่ง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 10(36).
Rabinowitz PM, Galusha D, Ernst CD, Slade MD. (2007). Audiometric “Early Flags” for Occupational
Hearing Loss. J Occup Environ Med 49(12),1310-6.
Rabinowitz PM, Galusha D, Ernst CD, Slade MD 2011. Evaluating the Effectiveness of Hearing Conservation Programs. [Internet]. 2011 [cited 2017 March 3]. Available from: http://c.ymcdn.com/sites/www.hearingconservation.org/resource/resmgr/imported/Rabinowitz_Peter_02252011.pdf
ภรณ์ทิพย์ พิมดา, เนสินี ไชยเอีย, ขวัญชนก ยิ้มแต้, จิราพร เขียวอยู่, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ และ นภาพร ครุสันธ์. (2559). อุบัติการณ์ของพนักงานที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบมาตรฐาน; กรณีศึกษาผลการตรวจการได้ยิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 31(3), 287-92.
Masterson EA, Sweeney MH, Deddens JA, Themann CL, Wall DK. (2014). Prevalence of Workers with Shifts in Hearing by Industry: A Comparison of OSHA and NIOSH Hearing Shift Criteria. Journal of Occupational and Environmental Medicine. 56(4), 446-55.
สาวิตรี ชัยรัตน์, อดุลย์ บัณฑุกุล และ เพ็ญภัทรา ศรีไพบูลย์กิจ. (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถในการได้ยินมาตรฐานในพนักงานบริษัทผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 13(1), 59-70.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (พ.ศ. 2551). กำหนดแบบสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและแบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยการให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไข เล่มที่125 ตอนพิเศษ 30 ง. (ลงวันที่11 กุมภาพันธ์ 2551).
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2550) มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. นนทบุรี. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
วิทยา พิเชฐวีรชัย, ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง, ศิรินทร์ทิพย์ ชาญด้วยวิทย์. (2559). Notch criteria สำหรับการวินิจฉัยโรคหูตึงจากเสียง. ธรรมศาสตร์เวชสาร 16(1),24-30
ธีระศิษฎ์ เฉินบำรุง. (2560). การเกิดร่องและขนาดของร่องที่พบได้จากการตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำปีของพนักงานสถานประกอบการ9แห่ง จังหวัดระยอง ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขภาพ 48(1).
European Commission. Information notices on occupational diseases: a guide to diagnosis. Luxembourg: European Communities 2009.
อุษณีย์ จันทร์ตรี, ศรัณย์ ศรีคำ, วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, จารุพงษ์ พรหมวิทักษ์. (2557).หลักฐานแสดงการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังของสารเบนซีนและโทลูอีน.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา9(1),152-60
หทัยรัตน์ เมธนาวิน, ฉันทนา จันทวงศ์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้เจตคติ พฤติกรรมป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และระดับตะกั่วในเลือดของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา11(2),76-84.
นิตินัย รุ่งจินดารัตน์, นลินี พานสายตา. (2558). โรคเบาหวานกับการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัยไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา10(2),89-96.
ภูวสิทธิ์ สิงหภูมิ, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556). ผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา8(2),92-100.