การรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายการรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จากการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการศึกษาทุกหน่วยประชากรได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 359 คน ในจังหวัดชุมพร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง
ผลการศึกษา ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับการอบรมพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ และประเมินเสริมพลัง มีความรู้ เจตคติ การปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิและรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับมาก การได้รับการประเมินแบบเสริมพลัง เจตคติและการปฏิบัติงานในการดำเนินงานคุณภาพบริการปฐมภูมิมีความสัมพันธ์กับการรับรู้องค์กรแห่งการเรียนรู้ของหน่วยงานทั้งในเชิงบวกและผกผัน ปัจจัยทำนายร่วมการรับรู้องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้แก่ เพศ เจตคติและการได้ปฏิบัติงานคุณภาพบริการปฐมภูมิ โดยมีความสามารถในการอธิบายร่วมในระดับปานกลาง (Adjusted R2= 53.15)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรมุ่งเน้นการพัฒนาด้วยกระบวนการประเมินเสริมพลังร่วมกับ การพัฒนาพลวัตรการเรียนรู้และประเมินความคาดหวังการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในอนาคต การเสริมสร้างเจตคติเชิงบวก และสนับสนุนการดำเนินงานเชิงโครงการในหน่วยงานจะก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาในวงจรคุณภาพอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร
Article Details
References
2. สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2557 – 2558. กรุงเทพมหานคร :
แกรนด์อาร์ต ครีเอทีฟ; 2556.
3. สุพัตรา ศรีวณิชชากร, กฤษณา คำมูล, วราภรณ์ จิระพงษา, ผการัตน์ ฤทธิ์ศรีบุญ. จิ๊กซอว์การ
ก้าวย่างสู่แก่นแท้คุณภาพในระบบ PCA. ปทุมธานี: นโม พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2555.
4. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการ
จัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2559] แหล่งข้อมูล: https://bps2moph.go.th/sites/default/files/kpimoph59.pdf
5. Marquardt MJ. Building the Learning Organization, A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill; 1996.
6. กฤตพงษ์ โรจนวิภาต. ความรู้และทัศนคติต่อเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของบุคลากร
ในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร 2556; 34 (2): 71– 83.
7. Klein SB. Learning. New York: McGraw – Hill; 1991.
8. บวร จอมพรรษา, บัววรุณ ศรีชัยกุล, วงศา เลาหศิริวงศ์. การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิตาม
เกณฑ์คุณภาพเครือข่าย บริการปฐมภูมิ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2554; 4(2):70-82.
9. David MF. Conceptualizing Empowerment in Terms of Sequential Time and Social Space. in: Empowerment Evaluation Principles in Practice. New York: The Guilford Press; 2005.
10. ประทีป พงษ์สำราญ. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
11. วรรณวิมล คงสุวรรณ. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางการพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ.[ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางการพยาบาล] นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2553.
12. วนาพรรณ ชื่นอิ่ม, พาณี สีตกะลิน, อารยา ประเสริฐชัย. ความคาดหวังและการรับรู้ของบุคลากรต่อคุณภาพการบริการของหน่วยบริการสุขภาพบุคลากร. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2558; 21(1): 122-138.