การพัฒนาหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ของพื้นที่จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2563

Main Article Content

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด
วิราภรณ์ คำนาแซง
เบญจมาภรณ์ บุญเรือง
พัชราภรณ์ พุ่มนาค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการกำหนด และเกณฑ์การแบ่งระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และศึกษาระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ของหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดตาก เพื่อใช้อ้างอิงประกอบการจ่ายให้รางวัลพิเศษ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดตาก โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนหลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดพื้นที่กันดารของประเทศและต่างประเทศ โดยการศึกษาเชิงเอกสาร 2) การพัฒนาแนวทางการกำหนดระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข โดยการประชุมแบบมีส่วนร่วม 3) การพัฒนาเกณฑ์ระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และ 4) การศึกษาระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ของหน่วยบริการ ในพื้นที่จังหวัดตาก


ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการกำหนดระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของพื้นที่จังหวัดตากที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ความยากลำบากในการเดินทาง ความขาดแคลนของกำลังคนด้านสุขภาพ จำนวนสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนผู้สูงอายุ ความขาดแคลนระบบสาธารณูปโภค และภาระงาน ระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข มี 5 ระดับ คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด ซึ่งความเห็นของผู้บริหารต่อเกณฑ์ระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) มีความสอดคล้องกับข้อมูลจากการสำรวจ ร้อยละ99.1, 44.4 และ 77.8 ตามลำดับ สำหรับระดับความยากลำบากในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ของรพ.สต.รวมทั้งหมด 115 แห่ง พบอยู่ในระดับน้อยที่สุดร้อยละ 33.9 ระดับน้อยร้อยละ 25.2 ระดับปานกลางร้อยละ 24.3 ระดับมากร้อยละ 12.2 และระดับมากที่สุดร้อยละ 4.4 ส่วนโรงพยาบาลซึ่งมีรวมทั้งหมด 9 แห่ง พบอยู่ในระดับน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง และมาก ระดับละ 2 แห่ง และระดับมากที่สุด 1 แห่ง สำหรับพื้นที่สสอ. พบมีระดับน้อยที่สุด ปานกลาง มาก และมากที่สุด ระดับละ 2 แห่ง และระดับน้อย 1 แห่ง


หลักเกณฑ์ในการกำหนดระดับความยากลำบากที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะมีประโยชน์และควรได้รับการประเมิน และนำปัญหา/ข้อเสนอแนะ มาพัฒนาหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่2) พ.ศ. 2562.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนที่ 56 ก (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562).
2. Townsend P, Phillimore P, Beattie A. Health and deprivation: inequality and the North. Bristol: Croom Helm, 1988.
3. Carstairs V, Morris R. Deprivation and health in Scotland. Newcastle upon Tyne: Aberdeen University Press, 1991.
4. Jarman Jarman B. Identification of underprivileged areas. Br Med J 1983; 286: 1705–09.
5. Jarman B. Underprivileged areas: validation and distribution of scores. Br Med J 1984; 289: 1587–92.
6. Niggebrugge A, Haynes R, Jones A, Lovett A, Harvey I. The index of multiple deprivation 2000 access domain: a useful indicator for public health? Soc Sci Med 2005; 60:2743-53.
7. กระทรวงการคลัง ที่ กค 0408.5/0113 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.
8. ขวัญประชา ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย ,ณิชากร ศิริกนกวิไล ,พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข, สมศักดิ์ ชุณหรัศมี ,พินิจ อํานวยพล.ความกันดารของพื้นที่หลักเกณฑ์การพิจารณา.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554;5(3):355-62.
9. กระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.0742.4/ ว 1061 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544 (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2559 และ(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2559.
10. ทองพูน กล้าไพรี.คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลลากรสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนพื้นที่ทุรกันดาร จังหวัดชัยภูมิ (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต).ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์:ข่อนแก่น: มหาวิทยาลัยข่อนแก่น; 2551.
11. ส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย.ข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ในภารกิจของกรมการปกครอง และข้อมูลทั่วไปของผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ 9 แห่ง ประจำเดือน มิถุนายน 2561.( ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: https://multi.dopa.go.th/bdpad/news/cate7/view38. (วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2563).
12.บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น ; 2556.