การเปรียบเทียบขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเรณูนครเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลขนาดกลาง และโรงพยาบาลนครพนมเป็นตัวแทนของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยทำการเก็บตัวอย่างขยะติดเชื้อ 7 วันต่อเนื่องต่อ 1 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
ผลการศึกษาองค์ประกอบขยะติดเชื้อเฉลี่ย 3 เดือน ของทั้ง 2 โรงพยาบาล พบว่าองค์ประกอบขยะติดเชื้อประเภทไม่มีคมมากกว่าขยะติดเชื้อประเภทมีคม โดยโรงพยาบาลเรณูนครมีขยะติดเชื้อประเภทมีคมเฉลี่ยร้อยละ 1.71 และประเภทไม่มีคมเฉลี่ยร้อยละ 98.29 ในขณะที่โรงพยาบาลนครพนมมีขยะติดเชื้อประเภทมีคมเฉลี่ยร้อยละ 2.05 และประเภทไม่มีคมเฉลี่ยร้อยละ 97.95 เมื่อเปรียบทียบองค์ประกอบขยะติดเชื้อของทั้ง 2 โรงพยาบาลเฉลี่ย 3 เดือน พบว่า มีองค์ประกอบขยะติดเชื้อประเภทมีคมและประเภทไม่มีคมไม่แตกต่างกัน อัตราการเกิดขยะติดเชื้อเฉลี่ย 3 เดือน ของโรงพยาบาลเรณูนคร เท่ากับ 492.46 กรัม/เตียง/วัน ในขณะที่อัตราการเกิดขยะติดเชื้อเฉลี่ย 3 เดือน ของโรงพยาบาลนครพนม เท่ากับ 1,109.35 กรัม/เตียง/วัน
แนวทางการจัดการขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง คือ ควรแยกขยะติดเชื้อออกจากขยะชนิดอื่น ณ แหล่งกำเนิด สำหรับขยะติดเชื้อที่เป็นสารคัดหลั่ง ให้เททิ้งในอ่างที่ทำไว้สำหรับเทสารคัดหลั่งเพื่อให้ลงไปสู่ระบบบำบัดต่อไป และใช้หลัก3ในการจัดการขยะติดเชื้อ
Article Details
References
วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี; 2552.
2. กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการกรอกข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอย ปี พ.ศ.2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pcd.go.th/Info_serv/File/17-12-61-004.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2562)
3. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแว้ดล้อม. ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://onep.go.th/env_data/2019/ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน/ (วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2562)
4. ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก. มูลฝอยติดเชื้อกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://hpc2.anamai.moph.go.th/envdata/files/1.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 6 มีนาคม 2562)
5. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การแบ่งประเภทและระดับของโรงพยาบาลตามขนาดโรงพยาบาล 2552. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://phdb.moph.go.th (วันที่ค้นข้อมูล 9 มีนาคม 2562)
6. ปิยวรรณ จันทรเสนา. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลอุดรธานี (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
7. โรงพยาบาลเรณูนคร. ข้อมูลโรงพยาบาลเรณูนคร 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.renuhospital.go.th/modeles.php? name=Renuhospital&file=basic (วันที่ค้นข้อมูล 8 มีนาคม 2562)
8. โรงพยาบาลนครพนม. ข้อมูลโรงพยาบาลนครพนม 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://110.78.163.74/nkp/nkph/index.php/home (วันที่ค้นข้อมูล 8 มีนาคม 2562)
9. ธีรวัฒน์ คำโฉม. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
10. อนันต์ชัย เขื่อนธรรม. วิธีการทางสถิติและวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.
11. สุวัฒน์ อินทนาม. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยขนาดใหญ่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.
12. ดามพวรรณ จงเลิศวณิชกุล. กำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 2561; 3(1): 19-20.
13. อภิชาต พิมลไพบูลย์, ส.บ.. ต้นทุนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2560; 7(1): 81-84.
14. อุ่นเรือน ศิรินาค. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 2561 ; 4(2): 45-46.