การศึกษาความชุกและการกระจายตามสภาพภูมิศาสตร์ของยุงเสือในสภาพแวดล้อมเขตต่อเมืองและเขตชิดป่าในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การขุดบ่อกักเก็บน้ำจำนวนมากเพื่อการอุปโภคและการเกษตรกรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของยุงพาหะนำโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกและการกระจายตามสภาพภูมิศาสตร์ของยุงเสือพาหะนำโรคในเขตต่อเมืองและเขตชิดป่าในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยใช้แหล่งศึกษาสองแหล่ง ซึ่งได้จากการประเมินแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเสือ การสำรวจที่ดินและการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แหล่งศึกษา A มีบ่อดินจากเขตต่อเมืองซึ่งมีผักตบชวาหนาแน่น และแหล่งศึกษา B มีบ่อดินจากเขตชิดป่าซึ่งมีจอกหูหนูหนาแน่นปานกลาง ทำการประเมินความชุก (ทั้งชนิดและจำนวน) และอัตราการเกาะพักของยุงเสือตัวเต็มวัยเพศเมีย และประเมินความหนาแน่นลูกน้ำยุงเสือในเดือนพฤษภาคม เดือนสิงหาคมและเดือนพฤศจิกายน 2558 ผลการวิจัยพบว่า ทั้งแหล่งศึกษา A และ B มีความชุกของยุงเสือ Ma. uniformis ซึ่งเป็นสปีชีส์เด่น (pi= 0.753 และ 0.638 ตามลำดับ) ในขณะที่ยังพบยุงเสือชนิดอื่นในสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก เช่น Ma. indiana, Ma. annulata, Ma. annulifera, Ma. dives และ Ma. bonneae และพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.040) สำหรับอัตราการเกาะพักของยุงเสือ Ma. uniformis (ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตัวต่อคืนต่อคน) ระหว่างแหล่งศึกษา A (12.04±6.15) และแหล่งศึกษา B (1.25±0.98) ในขณะที่ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.040) สำหรับความหนาแน่นของลูกน้ำยุงเสือ (ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ระหว่างแหล่งศึกษา A (8.13±8.66 ตัวต่อหนึ่งกิโลกรัมของผักตบชวา) และแหล่งศึกษา B (1.0±1.06 ตัวต่อหนึ่งกิโลกรัมของจอกหูหนู) ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ยุงเสือ Ma. uniformis มีความสามารถในการปรับตัวแพร่พันธุ์ได้ดีในพื้นที่เขตต่อเมืองและเขตชิดป่า และจากข้อมูลสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในระหว่างปี 2558-2561 ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ถ้าประชาชนมีการขุดบ่อกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคและการเกษตรกรรมมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเสือพาหะนำโรคและความเสี่ยงที่คนจะสัมผัสกับยุงเสือพาหะนำโรคเพิ่มมากขึ้นในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
Article Details
References
2. เทศบาลตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดตราด. แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565.
3. Patz JA, Ulisses EC, Confalonieri Felix P. Chapter 14 Human Health: Ecosystem Regulation of Infectious Diseases. In: Ecosystems and Human Well-Being: Current State and Trends. Findings of the Condition and Trends Working Group. 2005: 391-415.
4. Corvalan C, Hales S, McMichael A. Ecosystems and Human Well-Being : Health Synthesis. A Report of the Millennium Ecosystem Assessment. Geneva: WHO. 2005.
5. Apiwathnasorn C, Samung Y, Prummongkol S, Asavanich A, Komalamisra N, Mccall P. Bionomics studies of Mansonia mosquitoes inhabiting the peat swamp forest. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006; 37: 272-278.
6. สุพิทย์ ยศเมฆ, กอบกาญจน์ กาญจโนภาศ, ยุทธนา สามัง. การศึกษษทางกีฏวิทยาในพื้นที่บริเวณ “พรุน้ำดำ” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2551. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2553; 7: 1-7.
7. Shope, RE. Epidemiology of other arthropod-borne flaviviruses infecting humans. Adv Virus Res 2003; 61: 373-391.
8. Woodbridge A. Foster, Edward D. Walker. Chapter 15 - Mosquitoes (Culicidae). In: Medical and Veterinary Entomology, 3rd ed., 2019: 261-325.
9. Rattanarithikul R, Harrison BA, Panthusiri P, Peyton EL, Coleman RE. Illustrated Keys to the Mosquitoes of Thailand III. Genera Aedeomyia, Ficalbia, Mimomyia, Hodgesia, Coquillettidia, Mansonia, and Uranotaenia. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006; 37(suppl 1): pp 85.
10. Rattanarithikul R, Harrison BA, Panthusiri P, Coleman RE. Illustrated Keys to the Mosquitoes of Thailand I. Background; Geographic Distribution; Lists of Genera, Subgenera, and Species; and a Key to the Genera. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36(suppl 1): pp 80.
11. Scott J. Guidelines to minimize mosquito and biting midge problems in new development areas. Queensland Government: Queensland Health. 2002.
12. NSW Arbovirus Surveillance & Vector Monitoring Program, 2018-2019. https://www.health.nsw.gov.au/environment/pests/vector/Pages/nswasp-weekly-report-2018-19.aspx