ความไวต่อสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ของยุงเสือชนิด Mansonia uniformis ในพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนของเขตต่อเมือง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

Main Article Content

ยุพิน วรฉัตร
Suntorn Pimnon
Wanapa Ritthison
Adisak Bhumiratana

บทคัดย่อ

สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ เช่น เดลต้ามีทรินและไบเฟนทริน ได้ถูกนำไปใช้เพื่อป้องกัน ควบคุม กำจัดแมลงศัตรูทุเรียนในพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนอย่างทุเรียนในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด การศึกษานี้จึงทำการประเมินความไวของยุงเสือตัวเต็มวัยเพศเมียชนิด Mansonia uniformis ที่ได้จากพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนในเขตต่อเมือง ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เทียบกับยุงก้นปล่องชนิด Anopheles dirus ที่ได้จากพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในเขตชิดป่า ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยทดสอบกับสารเคมี 0.05% เดลต้ามีทริน และ 0.09%ไบเฟนทริน ตามวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงขององค์การอนามัยโลก ผลการประเมินความไว พบว่า  ความไวของยุงเสือชนิด Ma. uniformis ต่อ เดลต้ามีทริน (อัตราการตายร้อยละ 92.5 และ 95% CI = 89.6-95.7) และไบเฟนทริน (อัตราการตายร้อยละ 88.6 และ 95% CI = 83.4-93.8) มีแนวโน้มลดลง หรือมีความต้านทานต่อเดลต้ามีทรินและไบเฟนทริน ในขณะที่ ยุงก้นปล่องชนิด An. dirus ยังคงมีความไวสูงมากต่อทั้งเดลต้ามีทรินและไบเฟนทริน โดยมีอัตราการตายร้อยละ 100 ความต้านทานที่เป็นไปได้ของยุงเสือชนิด Ma. uniformis จำเป็นต้องยืนยันว่าประชากรยุงเสือจากพื้นที่เดียวกันที่ทดสอบมียีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านทานสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. Aktar MW, Sengupta D, Chowdhury A. Impact of pesticides use in agriculture: their benefits and hazards. Interdisc Toxicol 2009; 2(1): 1–12.
2. World Health Organization. Public health impact of pesticides used in agriculture. 1990.
3. กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. แมลงศัตรูผลไม้. 2557: 1-152.
4. Pimnon S, Juntarajumnong W, Kanutcharee K, Chareonviriyaphap T. Diagnostic doses of two pyrethroids currently used for control of Aedes aegypti L. (Diptera: Culicidae), a vector of dengue. Kasetsart J (Nat. Sci.) 2012; 46: 538–545.
5. Ritthison W, Titgratong R, Tainchum K, Bangs MJ, Maguin S, Charoenviriphap T. Pyrethroid susceptibility and behavioral avoidance of Anopheles epiroticus, a malaria vector in Thailand. J Vector Ecol 2014; 39(1): 32–43.
6. Pimnon S, Bhumiratana A. Adaptation of Anopheles vectors to anthropogenic malaria-associated rubber plantations and indoor residual spraying: Establishing population dynamics and insecticide susceptibility. Canadian J Infect Dis Med Microbiol 2018; 2018: 9853409.
7. ยุพิน วรฉัตร, สุนทร พิมพ์นนท์, วรรณภา ฤทธิสนธิ์, อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์. การศึกษาความชุกและการกระจายตามภูมิศาสตร์ของยุงเสือในสภาพแวดล้อมเขตต่อเมืองและเขตชิดป่าในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.
8. World Health Organization. Manual on Practical Entomology. Part II: Methods and Techniques. WHO: Geneva, Switzerland. 1975.
9. Rattanarithikul R, Harrison BA, Panthusiri P, Peyton EL, Coleman RE. Illustrated Keys to the Mosquitoes of Thailand III. Genera Aedeomyia, Ficalbia, Mimomyia, Hodgesia, Coquillettidia, Mansonia, and Uranotaenia. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006; 37(suppl 1): pp 1-85.
10. Rattanarithikul R, Harrison BA, Panthusiri P, Coleman RE. Illustrated Keys to the Mosquitoes of Thailand I. Background; Geographic Distribution; Lists of Genera, Subgenera, and Species; and a Key to the Genera. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36(suppl 1): pp 1-80.
11. World Health Organization. Test procedures for insecticide resistance. Monitoring in malaria vector Mosquitoes. WHO: Geneva, Switzerland. 2016.
12. World Health Organization. Monitoring and managing insecticide resistance in Aedes mosquito populations. Interim guidance for entomologists. WHO: Geneva, Switzerland. 2016. WHO/ZIKV/VC/16.1