การสำรวจความต้องการต่อการตรวจสารเคมีที่มีความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมและศักยภาพในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพิษวิทยา เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

ฌาน ปัทมะ พลยง
พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์
สุรทิน มาลีหวล
ศุภชัย เอี่ยมกุลวรพงษ์
มริสสา กองสมบัติสุข
ฉันทนา ผดุงทศ
ณัฐพงศ์ แหละหมัน

บทคัดย่อ

            การศึกษารูปแบบผสมผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุชนิดของสารเคมีหรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่สำคัญและสำรวจศักยภาพห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาในการรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การประชุมแบบฉันทามติโดยคณะกรรมผู้เชี่ยวชาญตามคำสั่งแต่งตั้งของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวบรวมข้อมูลระหว่างมีนาคม-กรกฏาคม พ.ศ. 2563 ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพรรณาร่วมกับการอภิปรายผล


            ผลการศึกษา พบว่า ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพตอบข้อมูล จำนวน 25 และ 9 แห่ง คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 50.0 และ 90.0 ตามลำดับ ทั้งนี้จากการสำรวจความต้องการในการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและการพิจารณาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญได้ระบุชนิดของสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่สำคัญต้องเฝ้าระวัง จำนวน 13 ชนิด ได้แก่ เบนซีน 1,3-บิวทาไดอีน 1,2-ไดคลอโรอีเทน โทลูอีน สไตรีน ไซลีน เอทิลเบนซีน อะซิโตน เมทธิวเอทธิวคีโตน เมทธิวไอโซบิวทิลคีโตน เอทิลอะซิเตท 1,4-ไดคลอโรเบนซีน และโพลีไซคลิกอะโรมาติกส์ไฮโดรคาร์บอน สำหรับโลหะหนักมีจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท และสารหนู นอกจากนี้หน่วยงานด้านสุขภาพในพื้นที่อีอีซี มีความสามารถให้บริการตรวจได้จำนวน 85,970 ตัวอย่างต่อปี ข้อเสนอแนะ ผลจากการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลคำนวณเชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาพัฒนาห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาให้เพียงพอต่อการรองรับการตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2525.
2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. อุตสาหกรรมเป้าหมาย. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.eeco.or.th/th.
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวสถานประกอบการตามขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนลูกจ้าง) ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2559. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562]. แหล่งข้อมูล: http://statbbi.nso.go.th /staticreport/page/sector/th/12.aspx.
4. กรมควบคุมมลพิษ. รายงานผลการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศในพื้นที่จังหวัดระยองรายเดือน ปี 2562. กรมควบคุมมลพิษ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www2. pcd.go.th/pollution/.
5. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. เรื่อง กำหนดให้ท้องที่เขตมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขตเป็นเขตควบคุมมลพิษ. ราชกิจจาบุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 65 ง ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2552.
6. สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก ปี 2561. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562.
7. เมทินา อิสริยานนท์. การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา: กรณีการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2562; 7(2): 1-22.
8. Joshi DR, Adhikari N. An overview on common organic solvents and toxicity. Journal of Pharmaceutical Research International, 2019; 28(3): 1-18
9. Thetkathuek A, Jaidee W, Saowakhontha S, Ekburanawat W. Neuropsychological symptoms among workers exposed to toluene and xylene in two paint manufacturing factories in Eastern Thailand. Advances in Preventive Medicine, 2015. Available from: https://doi: 10.1155 /2015/183728. (4 Oct 2020).
10. Zhang Z, Li P, Lin D, Wang D, Zhang Y. Proteome analysis of the potential serum biomarkers for chronic benzene poisoning. Environmental Toxicology and Pharmacology, 2018; 60: 157-64.
11. Olson KR, Anderson IB, Benowitz NL, Blanc PD, Clark RF, Kearney TE. Poisoning & drug overdose. The California Poison Control System. 5th ed. New York: McGraw-Hill, USA. 2004.
12. Hong YS, Song KH, Chung JY. Health effects of chronic arsenic exposure. J Prev Med Public Health, 2014; 47: 245-52.
13. ออมรัตน์ คัมภีวิภากร พนิดา นวสัมฤทธิ์ จีรวันท์ พรหมวิจิตร พจนีย์ หุนสนธิ วราภรณ์ ปานลบ เนตรนภา นาคงาม ศุภชัย ชุนวิเศษ และมธุรส รุจิรวัฒน์. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเบนซีนและ 1,3-บิวทาไดอีนของประชากรในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. วารสารพิษวิทยาไทย, 2558; 30(2): 112-27.
14. กฎกระทรวง. เรื่อง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563.
15. ศุภชัย เอี่ยมกุลวรพงษ์. การรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2556; 22(5): 897-911.
16. ยุทธนา ยานะ วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ วิชยุตม์ ทัพวงษ์. การสำรวจจำนวนและความสามารถของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย พ.ศ. 2557. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2558; 10(1): 50-64.
17. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณารายงานสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Peer review). 2563.
18. แววตา ทองระอา ฉลวย มุสิกะ วันชัย วงสุดาวรรณ และอาวุธ หมั่นหาผล. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนักจากการบริโภคอาหารทะเลบริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 2557; 19(2): 39-54.
19. International Agency for Research on Cancer. (IARC). List of classification. World Health Organization. Available from: https://monographs.iarc.fr/list-of-classifications/. (13 Oct 2020).
20. Cao YM, Liu J. Study on the health effects of occupational exposure to low concentrations of benzene. Chinese Journal of Industrial Hygiene and Occupational Disease, 2018: 36(6); 435-438.
21. อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. พิษสารเคมีจากการทำงานรู้ทันป้องกันได้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
22. Yoon JH, Seo HS, Lee J, Moon C, Lee K. Acute high-level toluene exposure decreases hippocampal neurogenesis in rats. Toxicology and Industrial Health, 2016. Available from: https://doi.org/10.1177/0748233715599087. (6 Oct 2020).
23. Guang-di C, Henderson D. Ototoxicity of styrene. Journal of Otology 2011;6(2):1-9.
24. Sliwinska-Kowalska M., Fuente A., Zamyslowska-Szmytke E. (2020). Cochlear dysfunction is associated with styrene exposure in humans. PLoS ONE, 2020; 15(1). Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0227978. (15 Oct 2020).
25. U.S. Environmental protection agency. Toxicological review of methyl ethyl ketone. Washinton DC: United States Environmental Protection Agency. 2003.
26. อัญชลี อร่ามเธียรธำรง จิระพล ถิรวิริยพล นันวัน กลึงเทศ กรองทอง ภู่โรดม ดาวรุ่ง รักงาม ธนรัตน์ แก้วสว่าง. ข้อมูลห้องปฏิบัติการพิษวิทยาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2549.