ปัจจัยที่มีผลต่อความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง

Main Article Content

ศุภชาติ เขมวุฒิพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้คือการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพในจังหวัดตรัง และปัจจัยที่มีผลต่อความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ อาสาสมัครกู้ชีพที่ขึ้นทะเบียนเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ทั้งหมดในหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น จำนวน 309คน โดยมีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.814 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 73.46 อายุเฉลี่ย 39.64 ปี จบระดับมัธยมศึกษา / ปวช./อนุปริญญา ปวส./ปวท. ร้อยละ 57.93 ส่วนใหญ่ สมรส ร้อยละ 72.17 และมีบุตรจำนวน 2 คนขึ้นไป ร้อยละ 39.81 อาชีพ เกษตรกรรม / รับจ้างทั่วไป /ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 71.53  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 13,199.26 บาท เคยเป็นอาสาสมัครด้านอื่น ๆ ร้อยละ 51.78 มีอายุเฉลี่ยเมื่อแรกเข้าเป็นอาสาสมัครกู้ชีพ เท่ากับ 34.20  ปี เป็นอาสากู้ชีพจนถึงปัจจุบันเฉลี่ย 5.44 ปี


ความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย (S.D.) เท่ากับ 24.00 (3.51) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างตั้งใจที่จะปฏิบัติงานเป็นอาสากู้ชีพในหน่วยงานนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (S.D.) เท่ากับ 4.33 (0.68) และค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด(S.D.)  ขแงปัจจัยจูงใจในการทำงานคือ ความรับผิดชอบ เท่ากับ 17.75 (1.86) และปัจจัยค้ำจุน คือด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน เท่ากับ 24.94 (3.36) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มความสัมพันธ์กับความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรังได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล งานประจำ/งานหลักที่ทำในปัจจุบัน อายุเมื่อแรกเข้าเป็นอาสาสมัครกู้ชีพ ปัจจัยจูงใจโดยรวม และปัจจัยค้ำจุนโดยรวม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของความคงอยู่ของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดตรัง ได้ร้อยละ 53 โดยปัจจัยค้ำจุนมีอำนาจในการพยากรณ์ดีที่สุด  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าองค์กรต้องมีนโยบายและการบริหารจัดการที่ดี และการจัดรัฐสวัสดิการเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้อาสาสมัครกู้ชีพคงอยู่ในระบบให้มากที่สุด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ วิธีการเยียวยา และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ ผู้ป่วยฉุกเฉิน การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่ง ต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น; 2560.
2.องค์การอนามัยโลก. รายงานองค์การอนามัยโลกเผย คนไทย ตายบนถนนลดลง แต่ยังครองแชมป์อันดับ 1 ในเอเชีย. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/road-accidents-2018.
3.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สร้างมาตรฐานการดูแล ชีวิต. [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/News/Detail/ 2637?group=5.
4. Bell S, Marzano M, Cent J, et al. What counts? Volunteers and their organisations in the recording and monitoring of biodiversity. Biodivers. Conserv [internet].2008 [cited 2020 Sep 30];7:3443‐ 54. Available from: DOI 10.1007/s10531-008-9357-9.
5. Stockard J and Lehman MB. Influences on the satisfaction and retention of 1st‐year teachers: the importance of effective school management. Educ. Adm. Q.[internet].2004[cited 2020 Sep 30];40: 742‐ 71. Available from: https://doi.org/10.1177/0013161X04268844.
6. Herzberg F, Mausner B and Snyderman BB. The Motivation to Work. New York: Published by John Wiley & Sons;1959. Available from:https://books.google.com/ books/about/The_Motivation_ to_Work.html?id=KYhB-B6kfSMC.
7. Best JW. Research in Education : 3 rd ed. Englewood Cliffs, Nj: Prentice-Hall;1977. Available from: https://www.worldcat.org/title/research-in-education-3rd-ed/oclc/299893224.
8.ดลฤดี รัตนปิติกรณ์. ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพเครือโรงพยาบาลพญาไท. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.
9.นิตยา วันทยานันท์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่ม ลูกจ้างชั่วคราวโรงพยาบาลในเขตจังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
10.พีริยา พิมอรัญ. ปัจจัยทำนายความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ.[วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.
11.สุวรรณา สมถวิล. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของการเป็นอาสาสมัครทันต กรรมของผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลสระบุรี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข.2559; 21: 37-46.
12.ทัศพร ชูศักดิ์ เมธี สุทธศิลป์ และกฤติเดช มิ่งไม้. ศึกษาความผูกพันในการเป็นอาสาสมัครของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.2561;13:244-50.
13.จิตรา วาทิกทินกร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน Generation Y. [สารนิพนธ์สังคม สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.
14.วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์และคณะ. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยังคงปฏิบัติงานอยู่ของ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ ในโรงงาน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2551; 17(4): 574-52.
15. Mathis RL and Jackson JH. Human Resource Management. 10 th ed. South-Western: Thompson Publishing; 2004.
16. Wilson J and Musick MA. Attachment to Volunteering. Sociological Forum. 1999;14: 243- 72. Available from: https://doi.org/10.1023/A:1021466712273.
17. Hvenegaard GT and Perkins R. Motivations, commitment, and turnover of bluebird trail managers. Human Dimensions and Wildlife. 2019;24(3):250-66. Available from: https://doi.org/10.1080/ 10871209.2019.1598521.
18. ชลธิชา บรรจงธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจลาออกและคงอยู่ในงานของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐ.[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2557.
19. พิมณพัฒน์ แฉล้มเขตต์. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.
20.อนุ เจริญวงศ์ระยับ. การรับรู้สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาและลักษณะส่วนบุคคลที่เอื้อ ต่อการเป็นอาสาสมัครอย่างยั่งยืนในนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
21. Chacon F, Vecina ML and Davila MC. The three-stage model of volunteers’ duration of service. Social Behavior and Personality. An international journal. 2007; 35(5): 627-42. Available from: DOI: https://doi.org/10.2224/sbp.2007.35.5.627.
22.Penner LA. Dispositional and organizational influences on sustained volunteerism: An interactionist perspective. Journal of Social Issues. 2002;58(3): 447-67. Available from: doi:10.1111/1540- 4560.00270. 23.Omoto A M and Snyder M. Sustained helping without obligation: Motivation, longevity of service, and perceived attitude change among AIDS volunteers. Journal of Personality and Social Psychology. 1995; 68: 671-86. Available from: doi:10.1037/0022-3514.68.4.671.
24. Gustavo C, Morris AO, George PK and Maria RT. The interplay of traits and motives on volunteering: agreeableness, extraversion and pro-social value motivation. Journal of Personality and Individual Differences, ScienceDirect.2005; 38(6): 1293-1305. Available from: DOI: 10.1016/j.paid.2004.08.012.
25. Grube JA and Piliavin JA. Role Identity Organizational Experiences and Volunteer Performance. SAGE journals. 2000; 26(9):1108-19. Available from: https://doi.org/ 10.1177%2F01461672002611007.