ผลของการใช้หลัก 3E และการมีส่วนร่วมต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากงานตัดของพนักงานในโรงงานผลิตพลาสติกแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง

Main Article Content

มนต์ชัย พงษ์แสน
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักความปลอดภัย 3E และการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากงานตัดของพนักงานในโรงงานผลิตพลาสติกแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานที่ปฏิบัติงานตัดในโรงงานผลิตพลาสติกแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง จำนวน 25 คน ใช้เวลาดำเนินการ 5 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การปรับปรุงเครื่องมือตัด การอบรมความรู้งานตัดอย่างปลอดภัย การกำหนดระเบียบวิธีตัด การอบรม การสังเกตพฤติกรรมการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสังเกตการณ์พฤติกรรมขณะปฏิบัติงานตัดและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมเสี่ยงจากงานตัดโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rang test จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงจากงานตัดก่อนและหลังการทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.001) และผู้เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจมาก ร้อยละ 100.0 การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้หลัก 3E และการมีส่วนร่วมนั้น สามารถการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากงานตัดของพนักงานได้และพนักงานมีความพึงพอในการมีส่วนร่วมโครงการ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการใช้หลัก 3E และการมีส่วนร่วม สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในโรงงานผลิตพลาสติกที่ปฏิบัติงานตัดได้


คำสำคัญ: หลัก 3E / พฤติกรรมเสี่ยง / งานตัด / การมีส่วนร่วม / พนักงานโรงงานผลิตพลาสติก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2558-2562. กรุงเทพฯ:กระทรวงแรงงาน; 2563.
2. Bureau of Labor Statistics. Employer-Reported Workplace Injuries and Illnesses – 2016. [Internet]. Available from: https://www.bls.gov/news.release/archives/osh_11092017.pdf; 2016. (Cited 9 March 2019)
3. Heinrich HW, Petersen D, Roos N. Industrial accident prevention: A safety management approach. 5th ed. New York: McGraw-Hill Book; 1980.
4. วิทิต กมลรัตน์. ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์(ประเทศไทย) จํากัด (ฟอสเฟต ดีวิชั่น)[วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต] กรุงเทพมหานครสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2552.
5. วิฑูรย์ สิมะโชคดี, วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2548.
6. สราวุธ สุธรรมาสา. บทบาทผู้บริหารและการสร้าง การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2557;25: 6-12.
7. Occupational safety and health administration. Worker participation: recommended practices for safety and health programs. [Internet]. Available from: https://www.osha.gov/safety-management; 2016. (Cited 10 March 2019)
8. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.
9. กันย์นิรินท์ ศรีบุญเรือง, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ผลของการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการทำงานของคนงานผลิตเกมส์ไม้. พยาบาลสาร 2560; 43(3):137-148.
10. Verial D. How to find the Beta with an alpha hypothesis. [Internet]. Available from: https://sciencing.com/
the-best-stem-kits-to-get-your-kids-started-with-coding-13763826.html. 2021. (Cited 10 May 2021)
11. Bloom BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill Book Company; 1971.
12. Martor AG. Our three safety technologies. [Internet]. Available from: https://www.martor.com/en/safe-cutting/our-three-safety-technologies. 2020. (Cited 15 May 2020)
13. Centers for disease control and prevention (CDC). Workbook for designing, implementing, and evaluating a sharps injury prevention program. [Internet]. Available from: https://www.cdc.gov/sharpssafety/
part3TEXTONLY.html. 2008. (Cited 20 May 2020)
14. Micro ceramic blade knives. [Internet]. Available from: https://www.sliceproducts.com/catalog/micro-ceramic-blade-knives. 2019. (Cited 21 May 2020)
15. มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 39 พ.ศ. 2559.ราชกิจจาณุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 39 ง (ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560).
16. DIN EN 388 Protective gloves against mechanical risks. [Internet]. Available from: https://www.en-standard.eu/bs-en-388-2016-a1-2018-protective-gloves-against-mechanical-risks/. 2020. (Cited 23 May 2020)
17. ปาณิศา สุทธิศักดิ์, สุภัทรา โสภณ, ฐนิชา ห่านทอง, ณัฏฐชานนท์ ฤกษ์ศรีประภา, ณฐพร วงศ์เกษม, รัชรพี บ่อโพธิ์. การศึกษาการปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยของพนักงานด้วยวิธีการ 3E และมาตรฐานGMP กรณีศึกษาบริษัทชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จํากัด. วารสารวิจยวิชาการ 2563; 4(1):139-148.
18. Vilarino. Workbook for Designing, Implementing, and Evaluating a Sharps Injury Prevention Program. CDC; 2013.
19. มุกดา ก่อแก้ว. การลดอุบัติเหตุมีดบาดในโรงงานอุสาหกรรม:กรณีศึกษาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำมันหล่อลื่น. [วิศวรรมศาสตร์มหาบัณฑิต] กรุงเทพ: วิศวรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม; 2561.
20. พิสุทธิ์ รัตนแสนวงษ์, วรพจน์พันธุ์คง, พงศ์ภมร ปักเข็ม. การลดอุบัติเหตุในโรงงาน[วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2555
21. พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. เรื่องการพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมรีไซเคิลขนาดเล็ก [ดุษฎีบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบรูพา; 2551
22. ปัทมา อุปนันท์, พนิดา นามนต์พิมพ์, ศรายุทธ งามคง, สุนทรี มีแสงนิล, ปนัดดา สรรพราช, ชลาลัย หาญเจนลักษณ์. การปรับปรุงสถานีงานเพื่อลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในผู้ปฏิบัติงาน เย็บจักรอุตสาหกรรม. นครราชสีมา: วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(1):25-35.
23. Soehod K. Workers’ participation in safety and health at work. Kuala Lumpur: University Teknology Malaysia; 2008