ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดหนึ่งขนาด 30 เตียง จำนวน 298 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2563-มกราคม 2564 โดยใช้แบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน (Maslach Burnout Inventory: MBI) ฉบับภาษาไทย มีความเชื่อมั่นด้านความอ่อนล้าเท่ากับ 0.915 ด้านความเย็นชาเท่ากับ 0.793 และด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงานเท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้วยสถิติ Multiple Linear Regression
ตัวอย่างจำนวน 241 (81.9%) คนที่ตอบข้อมูลครบถ้วน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78 อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 38.4 (10.6) ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าในระดับต่ำร้อยละ 65.1 มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความเย็นชาในระดับต่ำร้อยละ 42.5 มีภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงานระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 47.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้า คือ ภาระงานที่มากเกิน (Badj -1.907;95%CI -3.050 ,-0.765) ความขัดแย้งระหว่างคนกับงาน (Badj -5.355;95%CI -7.316 ถึง -3.394) และสถานภาพสมรส/หม้าย/หย่า/แยก (Badj -1.823;95%CI -3.122 ถึง -0.524) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความเย็นชา คือ ภาระงานที่มากเกิน (Badj -2.148;95%CI -3.380,-0.917) ความขัดแย้งระหว่างคนกับงาน (Badj -4.345;95%CI-6.459,-2.232) และสถานภาพสมรส/หม้าย/หย่า/แยก (Badj -2.710;95%CI-4.110,-1.310) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความมีประสิทธิภาพในการทำงาน คือ การได้รับผลตอนแทนที่ไม่สมดุลกับงาน (Badj 2.134;95%CI 0.112,4.157)
การนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปใช้ในการบริหารงานและวางแผน สร้างสถานที่ปฏิบัติงานให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานที่ดีให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเป็นการลดและป้องกันไม่ให้บุคลากรเกิดปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
2.ชัยยุทธ กลีบบัว. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน:
การประยุกต์โมเดลความต้องการทรัพยากรของงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3.ธนพร พงศ์บุญชู. (2559). อิทธิพลกำกับของภาวะผู้นำที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงาน ภาวะหมดไฟในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4.นครินทร์ ชุนงาม. (2563). สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวันครราชสีมา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 348-359.
5.ปทุมรัตน์ สกุลพิมงรัตน์. (2556). ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท วีรับเบอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ
จัดการภาครัฐและเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
6.วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). BURNOUT IN THE CITY งานวิจัยชี้ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30176
7.ศรัณย์ ศรีคำและคณะ. (2557). ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2), 139-150
8.Elizabath, S. (2020). Burnout symptoms and treatment. Retrieved from
https://www.verywellmind.com/stress-and-burnout-symptoms-and-causes-3144516
9.World Health Organization. (2019). Burn-out an occupational phenomenon: International
classification of diseases. Retrieved from https://www.who.int/news/item/28-05-
2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases