การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะเศษอาหาร ในเขตบางขุนเทียนและเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุษราคัม ฐิตานุวัฒน์
นันทิกา สุนทรไชยกุล
รัชดาพร เฮ้าตุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะเศษอาหาร ตั้งแต่การใช้ประโยชน์ที่เขต จนถึงการฝังกลบ ข้อมูลที่ใช้ได้จากรายงานของการจัดการขยะย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2558 – 2562) องค์ประกอบขยะจากการวิเคราะห์โดยวิธี  Quartering ตามฤดูกาลของเขตบางขุนเทียนและ
เขตลาดพร้าว และค่าสัมประสิทธิ์จากการทบทวนรายงานวิจัย โดยประยุกต์หลักการประเมินตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทย USEPA และ IPCC 2006 สำหรับคำนวณปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะไร้อากาศ การใช้เชื้อเพลิง และการใช้ไฟฟ้า พบว่า เขตบางขุนเทียนและเขตลาดพร้าว มีปริมาณขยะเศษอาหารเฉลี่ย 53,214.76 (SD 4,233.21) ตัน/ปี และ 38,639.09 (SD 2,811.31) ตัน/ปี ตามลำดับ การจัดการที่หลุมฝังกลบปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เขตบางขุนเทียนปล่อย 15,916,889.94 (SD 959,364.36) กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) ต่อปี หรือเฉลี่ย  341.48 (SD 5.41) kgCO2e ต่อตัน และเขตลาดพร้าวปล่อย 9,456,521.28 (SD 788,409.40) kgCO2e ต่อปี หรือเฉลี่ย 276.33 (SD 33.04) kgCO2e ต่อตัน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value 0.012) ดังนั้น การลดการสูญเสียอาหารและขยะเศษอาหาร หรือการหมุนเวียนกลับไปใช้ประโยชน์ที่เขตให้มากที่สุด เป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบที่ได้ผลและส่งผลต่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในที่สุด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรุงเทพมหานคร, สำนักสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ; 2564.

กรุงเทพมหานคร, สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี

(พ.ศ. 2556-2575). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด; 2558.

ปวีณา พานิชยพิเชษฐ์. การลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย. สำนักวิเคราะห์และติดตามประเมินผล องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก; 2560.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). คู่มือการจัดทำข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ; 2559.

USEPA. Greenhouse Gas Emissions Estimation Methodologies for Biogenic Emissions from Selected Source Categories: Solid Waste Disposal Wastewater Treatment Ethanol Fermentation. Available at: URL: https://www.epa.gov/air-emissions-factors-and-quantification/

greenhouse-gas-emissions-estimation-methodologies-biogenic. Accessed December 14, 2010.

IPCC. Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. Available at: URL: https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/. Accessed October 04, 2020.

IPCC. AR5 Synthesis Report. P.103. Available at: URL: https://www.ipcc.ch/report/ar5/syr/. Accessed September 23, 2020.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). Emission Factor. แหล่งที่มา : URL: http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/products_emission/products_emission.pnc. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563.

Kim MH, Kim JW. Comparison through a LCA evaluation analysis of food waste disposal options from the perspective of global warming and resource recovery. Sci Total Environ. 2010;408(19):3998-4006.

Zhao W, der Voet Ev, Zhang Y, Huppes G. Life cycle assessment of municipal solid waste management with regard to greenhouse gas emissions: Case study of Tianjin, China. Science of The Total Environment. 2009;407(5):1517-1526.

Mohareb EA, MacLean HL, Kennedy CA. Greenhouse Gas Emissions from waste management--assessment of quantification methods. Journal of the Air & Waste Management Association. 2011(5):480.

Eriksson M, Strid I, Hansson P-A. Carbon footprint of food waste management options in the waste hierarchy – a Swedish case study. Journal of Cleaner Production. 2015;93:115-125.

Birney CI, Franklin KF, Davidson FT, Webber ME. An assessment of individual foodprints attributed to diets and food waste in the United States. Environmental Research Letters. 2017;12(10).

Salemdeeb R, Vivanco DF, Al-Tabbaa A, Zu Ermgassen EK. A holistic approach to the environmental evaluation of food waste prevention. Waste Management. 2017;59:442-450.

Moult JA, Allan SR, Hewitt CN, Berners-Lee M. Greenhouse gas emissions of food waste disposal options for UK retailers. Food Policy. 2018;77:50-58.

Tseng W-L, Chiueh P-T. Urban Metabolism of Recycling and Reusing Food Waste:

A Case Study in Taipei City. Procedia Engineering. 2015;118:992-999.

Ližbetin J, Hlatká M, Bartuška L. Issues Concerning Declared Energy Consumption and Greenhouse Gas Emissions of FAME Biofuels. Sustainability. 2018;10(9).

Shin K, Cheong J-P. Estimating Transportation-Related Greenhouse Gas Emissions in the Port of Busan, S. Korea. Asian Journal of Atmospheric Environment. 2011;5(1):41-46.

Shams S, Sahu JN, Rahman SMS, Ahsan A. Sustainable waste management policy in Bangladesh for reduction of greenhouse gases. Sustainable Cities and Society. 2017;33:18-26.

Yaman C, Anil I, Jaunich MK, Blaisi NI, Alagha O, Yaman AB, et al. Investigation and modelling of greenhouse gas emissions resulting from waste collection and transport activities. Waste Manag Res. 2019;37(12):1282-1290.

Liu M, Tan Z, Fan X, Chang Y, Wang L, Yin X. Application of life cycle assessment for municipal solid waste management options in Hohhot, People's Republic of China. Waste Manag Res. 2021;39(1):63-72.

Pleissner D. Recycling and reuse of food waste. Current Opinion in Green and Sustainable Chemistry. 2018;13:39-43.