ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

รัตนาภรณ์ สาสีทา
คัติยา อีวาโนวิช
ฉวีวรรณ บุญสุยา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบ Google form กลุ่มตัวอย่าง 448 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson correlation และ Multiple linear regression ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาอยู่ในระดับต้องปรับปรุงร้อยละ 56 ส่วนความรอบรู้ด้านโภชนาการทั้ง 4 มิติ พบว่านักศึกษามีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการระดับต้องปรับปรุงร้อยละ 58.3 และ 40.9 การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการระดับปานกลางร้อยละ 39.7 และการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูงร้อยละ 50.7 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการแต่ละมิติกับพฤติกรรมการบริโภค พบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการ และการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ 0.001) โดยนักศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการ และการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการที่ดี จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี แต่นักศึกษาที่มีการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารที่ดี พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2557:ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง

สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง; 2557.

Stok FM, Renner B, Clarys P, Lien N, Lakerveld J, Deliens T. Understanding Eating Behavior during the Transition from Adolescence to Young Adulthood: A Literature Review and Perspective on Future Research Directions. Nutrients, 2018; 10(6): 667.

Arts J, Fernandez ML, Lofgren IE. Coronary Heart Disease Risk Factors in College Students. Adv.Nutr, 2014; 5: 177–187.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชน พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.

ปนันดา จันทร์สุกรี และนิตินัย รุ่งจินดารัตน์. การวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อสุขภาพของวัยรุ่นตอนปลายโดยใช้ตัวชี้วัดทางปัญญาสังคม:กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ/สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2558.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 2560; 28(1): 122-128.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Joulaei H, Keshani P, Kaveh MH. Nutrition literacy as a determinant for diet quality amongst young adolescents: A cross sectional study. Prog. Nutr, 2018; 20: 455–464.

Kalkan I. The impact of nutrition literacy on the food habits among young adults in Turkey. Nutr. Res. Pract, 2019; 13: 352–357.

Zoellner J, You W, Connell C, Smith-Ray RL, Allen K, Tucker KL, et al. Health Literacy is associated with Healthy Eating index scores and sugar-sweetened beverage intake: finding from the Rural Lower Mississippi Delta. J Am Die Assoc, 2011; 111(7): 1012-1019.

สมยศ อวเกียรติ และสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. การตัดสินใจและพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมทานของผู้บริโภคในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. ประชุมวิชาการระดับชาติเบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ, 2558.

ฉวีวรรณ บุญสุยา. ประชากร การเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างในการวิจัย:ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ หน่วยที่ 8 (Vol. 2 ).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 2557; 5(2): 255-264.

ทัศนา ศิริโชติ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สงขลา: กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2557.

จิรัชยา สกุลเก่งศึกษา, ทรงพล ศรีอนันต์, ธีรวรรณ ชัญพลา, วนิดา ชูฝา. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. [วิทยาศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; 2556.

Vidgen H.A, Gallegos D. Defining food literacy and its components. Appetite, 2014; 76: 50-59.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ฉลากโภชนาการประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม. 2552 [ เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565]. Available from: https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/ detail/media_printing/9.

อาทิตย์ ปานนิล. พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารจัดการองค์กร, คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกริก; 2561.

จินตนา ตันสุวรรณนนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อโฆษณากับพฤติกรรมบริโภคนิยมของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2558; 11(1): 93-112.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 2560; 15(1): 33-41.

ดาวรุ่ง คำวงศ์, อุกฤษฎ์ สิทธิบุศย์ และปิยะ ไทยเหนือ. การรับรู้และการใช้ข้อมูลบนฉลากอาหารของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 2557; 9(2): 39-46.

ธิดารัตน์ สิงห์ทอง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Thai Journal of Public Health, 2563; 5(2): 148-160.