ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดจันทบุรี -

Main Article Content

เสาวนีย์ ทองนพคุณ
ธัชธา ทวยจด
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
สาวิตรี วิษณุโยธิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของ อสม. จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. จำนวน 435 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์


               ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.เพศหญิง ร้อยละ 85.5 อายุเฉลี่ย 46.8 ปี รายได้ไม่เพียงพอและเป็นหนี้ ร้อยละ 32.0 ระยะเวลาการเป็น อสม. น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี ร้อยละ 55.6 ประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จำนวน 4 เข็ม ร้อยละ 16.8 ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับปานกลาง ร้อยะละ 61.4 เจตคติเกี่ยวกับ โควิด-19 ระดับมาก ร้อยละ 53.1 และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ระดับเหมาะสม ร้อยะละ 68.7 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (p = 0.04) และเจตคติเกี่ยวกับ โควิด-19 (p = 0.01) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้น การจะพัฒนาศักยภาพของ อสม.เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อให้ อสม. มีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ที่ยั่งยืนและสามารถถ่ายทอดให้กับประชาชนในชุมชนได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard 2021 [Available from: https://covid19.who.int/.

กรมควบคุมโรค. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. นนทบุรี; 2564.

กองโรคติดต่อทั่วไป. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564. 1-12 p.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร คำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้ อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในประเทศไทย,. วารสารสถาบันบำราศนราดูร,. 2563;14(2).

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว, วราพรรณ อภิศุภะโชค. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร. Journal of MCU Nakhondhat. 2564;8(9):18-33.

Bloom BS, Krathwohl D.R. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals.: Cognitive Domain: Longman.; 2020.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แบบรายงานระบบฐานข้อมูล อสม. 2564 [cited 2564 10 ธ.ค]. Available from: https://www.thaiphc.net/new2020/.

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences: Wiley; 2018.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ชุดความรู้ อสม.สู้โควิด. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Best JW, Kahn JV. Research in Education: Allyn and Bacon; 1998.

Cronbach LJ. Essentials of psychological testing 2nd ed: Harper & brothers; 1949.

อัญธิษฐา อักษรศรี, วันชัย แสงสุวรรณ. บทบาทของสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิจัยวิชาการ. 2564;4(3):297-310.

Erikson EH. Identity: Youth and crisis: WW Norton & company; 1968.

Maslow AH. A theory of human motivation. Classics in Management Thought-Edward Elgar Publishing. 2000;1:450.

กัญญารัตน์ ทับไทร, จุฑาทิพย์ เปรมเสน่ห์, เบ็ญจวัน ขาเกื้อ, สาวิตรี โสภณ, ธนูศิลป์ สลีอ่อ. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2565;2022(1):P-01 (9).

World Health Organization. Thailand's 1 million village health volunteers - “unsung heroes” - are helping guard communities nationwide from COVID-19 2020 [Available from: https://bit.ly/3RBqlCE.

Lee M, Kang B-A, You M. Knowledge, attitudes, and practices (KAP) toward COVID-19: a cross-sectional study in South Korea. BMC public health. 2021;21(1):1-10.

ไมลา อิสสระสงคราม. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ. วารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 2564;19(2):56-67.

จารุณี จันทร์เปล่ง, สุรภา เดียขุนทด. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมใน การป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2565;7(1):11-28.

Kaweenuttayanon N, Pattanarattanamolee R, Sorncha N, Nakahara S. Community surveillance of COVID-19 by village health volunteers, Thailand. Bulletin of the World Health Organization. 2021;99(5):393.

กัลยาวีร์ อนนท์จารย์, สุมนทิพย์ บุญเกิด, บัญญัติ อนนท์จารย์, สันติ ชิณพันธุ์. การส่งเสริมสมรรถนะใน การควบคุมการแพร่ระบาด โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2565;11(1):138-44.

นฤเนตร ลินลา, สุพจน์ คำสะอาด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันโรคโค วิด -19 ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข ชุมชน. 2565;8(03):8-.

จารุณี จันทร์เปล่ง, สุรภา เดียขุนทด. การศึกษาความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2565;7(1):11-28.

บรรพต อนุศรี. บทบาทและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในการ ป้องกันโรคโควิด -19 จังหวัดอุดรธานี วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตรEอยเอ็ด. 2564;10(2).

ปางชนม์ เตี้ยแจ้. การสอบสวนโรคและการศึกษา ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ตำบลห้วยลึก อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2564;27(3):5–15-5–.