สถานการณ์การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักที่โฆษณา ปลอดสารพิษในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภคิน ปัญญาฤทธิสร
ธีรุตม์ ธนมิตรามณี
ปุณยนุช สุนทรีวงศ์
ชิษณุชา กริ่มใจ
วสุพล จุฑานพมณี
พัสกร เพ็ชรผ่อง
ภาคภูมิ เดชไพศาล

บทคัดย่อ

ผักเป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารที่สำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ การปลูกผักเชิงพานิชย์มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกผักเพิ่มมากขึ้น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่สมเหตสมผล ส่งผลต่อการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก หากร่างกายได้รับสารพิษเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ผู้บริโภคส่วนหนึ่งหันมาบริโภคผักปลอดสารพิษ การศึกษานี้ศึกษาสถานการณ์การตกค้างของสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส และคาร์บาเมตในผักที่โฆษณาปลอดสารพิษ ทั้งหมดจำนวน 115 ตัวอย่าง ที่จำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การศึกษนี้ เป็นการตรวจสอบสารเคมีกําจัดศัตรูพืช ออการ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ตกค้าง ด้วยชุดทดสอบ เอ็มเจพีเค (MJPK) ของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยทําการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก  (Convenience Sampling Method) ในผัก 9 ชนิด  ประกอบไปด้วย บล็อกโคลี่ แตงกวา กระเทียม กวางตุ้ง กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว และ ผักกาดขาว รวม 115 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัยในเดือน กันยายน-ตุลาคม 2565 ผลการศึกษาพบว่า จากตัวอย่างผักทั้งหมดจำนวน 115 ตัวอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย บล๊อคโคลี่ 15 ตัวอย่าง แตงกวา 17 ตัวอย่าง กระเทียม 16 ตัวอย่าง  กวางตุ้ง 2 ตัวอย่าง กะหล่ำปลี 17 ตัวอย่าง คะน้า 16 ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว 1 ตัวอย่าง ผักกาดขาว 16 ตัวอย่าง และ ผักบุ้ง 15 ตัวอย่าง ตรวจพบสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส และคาร์บาเมตใน แตงกวาจำนวน 2 ตัวอย่าง กระเทียม 8 ตัวอย่าง กระหล่ำปลี 1 ตัวอบย่าง คะน้า 1 ตัวอย่าง ผักกาดขาว 1 ตัวอย่าง และผักบุ้ง 2 ตัวอย่าง รวมที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 15 ตัวอย่างคิดเป็นร้อย 13.04 สรุป ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส และคาร์บาเมตตกค้างในตัวอย่างผัก จำนวน 15 ตัวอย่างจากตัวอย่างทั้งหมด 115 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.04

Article Details

How to Cite
ปัญญาฤทธิสร ภ., ธนมิตรามณี ธ., สุนทรีวงศ์ ป., กริ่มใจ ช., จุฑานพมณี ว., เพ็ชรผ่อง พ., & เดชไพศาล ภ. (2023). สถานการณ์การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักที่โฆษณา ปลอดสารพิษในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 1–13. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/260307
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

เมดไทย.ผักผลไม้ : ประโยชน์ของผักและผลไม้ 14 ข้อ. เมดไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://medthai.com/%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89/

GED Good Life. 12 ผลไม้ดี๊ดี มีไฟเบอร์สูง ฮีโร่แก้ท้องผูก ดีต่อระบบย่อยอาหาร. GED Good Life [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกา 2565] เข้าถึงโดย : https://www.gedgoodlife.com/health/64021-12-high-fiber-fruits/

Imrom. รสชาติของ “ผัก” ที่ควรรู้. Unif.com [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : shorturl.at/gtFU9

Policy Brife. โรคเรื้อรังป้องกันได้. Policy Brife [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : shorturl.at/oEGR2

Economic Office, Office of Agriculture. Office of Agriculture Economics Office. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/Outlook_Q3_2565.pdf

Digital School Club. Pest. Digital School Club [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://www.digitalschool.club/digitalschool/science1_2_2/science17_3/more/Pest_1.php

วรางรัตน์ เสนาสิงห์. แมลงศัตรูพืช. คลังความรู้ IPST Learning Space [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www.scimath.org/article-biology/item/8666-2018-09-11-08-04-46

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร. ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://www.climate.tmd.go.th/content/article/13

Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทยอยู่อันดับไหนของโลก. Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://thaipan.org/highlights/2426

วินัย วนากุล, สุดา วรรณประสาท, จารุวรรณ ศรีอาภา. ภาวะเป็นพิษจาก Organophosphates และ Carbamates. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Pesticide_book-01_Organophosphorus-and-Carbamates.pdf

ชวัลรัตน์ สมนึก, นฤมล อิ่มศรี, สุจิตรา ปินะถา, หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์. การตรวจหาสารตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผัก จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้าในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี. วารสารวิจัย ปีที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณณี. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://li01.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal2rmutto/article/download/253175/174301/928529

วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล, ปรียานุช เพียนเลี้ยงชีพ, รวีวรรณ เดื่อมขันมณี. การตรวจสอบสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประสิทธิภาพในการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักคะน้า. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/185608/165015

Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ไทยแพนเปิดผลตรวจผักผลไม้พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน 41% ผักห้างแย่กว่าผักตลาดสด ตะลึงพบสารพิษห้ามใช้ในประเทศไทยตกค้างอื้อ 12 ชนิด. Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://thaipan.org/action/1107

ธนพงศ์ ภูผาลี, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, สมศักดิ์อาภาศรีทองสกุล, มาลี สุปันตี. ความชุกของการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาดและห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม, วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169776/122109

นงนุช โกสียรัตน์.การศึกษาความต้องการบริโภคผักปลอดสารพิษนผู้บริโภคในร้านค้าเพื่อสุข แขวงศิริราช. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Nongnuch_Koseeyarat/fulltext.pdf

อรนุช อาจประจญ, เบญจมาภรณ์ อดิศร. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภค ผักปลอดสารพษในผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหวิทยาลัยบัณฑิตธุรกิจ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : shorturl.at/ilyCS

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน, ศรมน สุทิน. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียว

เฉลิมพระเกียรติ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-22-1/03patcharee.pdf

กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร ณ สถานที่จำหน่าย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://foodsanitation.bangkok.go.th/assets/uploads/year_report_food/document/20210121_96803.pdf

ศุจิมน มังคลรังษี, สุวพิชญ์ เตชะสาน, วีรยา สินธุกานนท์, จิดาภา รัตนถาวร, ธัญณ์สิริ วิทยาคม, ภูษณิศากิจกาญจนกุล, ณกัณฐพันธ์ ประมาพันธ์, เดชาธร สมใจ. ความชุกของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ตกค้างในผักที่จำหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/258133/177271

วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล, ปรียานุช เพียนเลี้ยงชีพ, รวีวรรณ เดื่อมขันมณี. การตรวจสอบสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประสิทธิภาพในการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักคะน้า. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565]: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/download/185608/165015/830653

นัสพงษ์ กลิ่นจำปา, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการ สคร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/download/187344/147456/

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน, ศรมน สุทิน. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียว

เฉลิมพระเกียรติ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-22-1/03patcharee.pdf

ปัณณทัต สุทธิรักษ์, อัจฉริยะกูล พวงเพ็ชร์, เวธกา เช้าเจริญ, พรอริยา ฉิรินัง, โสภณ เกตุแก้ว, ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ. การศึกษาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และแนวทางการบริโภคผักให้ปลอดภัย. PBRU Science Journal [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://sciencejournal.pbru.ac.th/phocadownloadpap/2021-1/01-2021.181-pp1-11.pdf

นัสพงษ์ กลิ่นจำปา, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร

ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการ สคร. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/download/187344/147456/672024

TCIJ News Center. ผักและผลไม้ปลอดสารพิษมีราคาแพงเพราะค่าใช้จ่ายในการจัดการราคาหน้าสวนถูกกว่าสองเท่า. Mobile Friendly Website [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.tcijthai.com/news/2015/23/scoop/3754

กระทรวงพาณิช. พืชอาหาร.กระทรวงพาณิช. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www.moc.go.th/th/content/category/detail/id/311/iid/306027.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ผลผลิตกระเทียมแยกตามจังหวัด ปี 2564. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://mis-app.oae.go.th/product/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1

อดุลย์ ชัยชนะ. ความรู้และการปฏิบัติการใช้สารป้องกันกำจักศัตรูกระเทียมของสมาชิกสหกรผู้ปลูกกระเทียมฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลับเชียงใหม่. [อินเทอร์เน็ต]. 2534 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/19191/2/agext0944ac_abs.pdf

บุษกร คำโฮม, ศุภกัญญา จันทรุกขา, เจียระไน ไชยกาล เจิ้ง. พฤติกรรมการซื้ออาหารปลอดภัยของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/download/249719/168949/889332

NALISA. ในวันที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น และเทรนด์ Food Traceability ของโลกมาแรง. matketeer [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://marketeeronline.co/archives/226532

รวิวรรรณ รักษ์ถิ่นกำเนิด ศูนย์ข่าว TCIJ News Center. เกษตรกรระบุ 'ผัก-ผลไม้ อินทรีย์' แพงเพราะ 'ค่าการจัดการ' ราคาหน้าสวนถูกกว่าเท่าตัว. Mobile Friendly Website [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https://www.tcijthai.com/news/2015/23/scoop/3754

การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมปีที่ 3: อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER083/GENERAL/DATA0001/00001221.PDF