การรับรู้และทัศนคติด้านความปลอดภัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานในโรงงาน อุตสาหกรรมผลิตหมึกพิมพ์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงการระบาดของโควิด-19

Main Article Content

กิตติยาวดี พุทธก้อม
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
นันทพร ภัทรพุทธ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านความปลอดภัย ทัศนคติด้านความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตหมึกพิมพ์ จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกต หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติ Spearman rank correlation coefficient


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานชายทั้งหมด โดยมีอายุเฉลี่ย 31.2 ปี มีระดับการศึกษาระดับต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส. ร้อยละ 92.0 ตำแหน่งงานในปัจจุบันเป็นพนักงาน ร้อยละ 72.0 มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทแห่งนี้เฉลี่ย 5.88 ปี และส่วนใหญ่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 52.0 ระดับการรับรู้และทัศนคติด้านความปลอดภัย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.0 และ 96.0 ตามลำดับ) และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 72.0) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า การรับรู้ด้านความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน แต่ทัศนคติด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02)  และการรับรู้ด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ดังนั้น สถานประกอบกิจการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความตระหนักและเกิดพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

ธานน ธนนัตสินธร (2557). การรับรู้ด้านความปลอดภัยและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัท ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี แห่งหนึ่ง. [การค้นคว้าอิสระ]. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นิยะนันท์ สำเภาเงินและดวงกมล ชาติประเสริฐ (2557). อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพและแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา 7(2): 38-58.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

มธุริน เถียรประภากุล (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานหน่วยงาน ผลิต โอเลฟินส์ 1 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จากัด (มหาชน) สาขาที่ 2 โรงโอเลฟินส์ ไอ – หนึ่ง. ( วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วริยา เคนทวาย, สุภาวดีหนูทรง, พรชิตา สุวรรณสังข์, ฐานิตา วงศ์สุนทร, ปรัตถกร ภักดิ์วาปี, จุฑามาศ ตามเพิ่ม, พสชนัน ศรีโพธิ์ทอง (2563). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดปทุมธานี. PTU Journal of Science and Technology 1(2): 21-33.

ศุกร์ใจ เจริญสุข. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (Theoretical Concepts of Psychiatric-Mental Health Nursing) (Vol. 2). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เข้าถึงจาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/311264.pdf (เข้าถึงวันที่ 24 เมษายน 2566).

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท,) (2565) ทัศนคติด้านความปลอดภัย. เข้าถึงจาก https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/1243-2022-12-09-09-23-17 (เข้าถึงวันที่ 24 เมษายน 2566).

สุดา สุวรรณาภิรมย์ และวิชิต อู่อ้น (2548). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

สุรชัย ตรัยศิลานันท์ (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การจัดการความปลอดภัยของพนักงานโรงงาน อุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Amponsah-tawiah K and Mensah J. (2016). The impact of safety climate on safety related driving behaviors. Transp. Res. Part F Psychol. Behav. 40: 48–55.

Xia, N., Xie, Q., Hu, X., Wang, X. and Meng, H. (2020). A dual perspective on risk perception and its effect on safety behavior: A moderated mediation model of safety motivation, and supervisor’s and coworkers’ safety climate. Accident Analysis and Prevention, 134: 1-12.