ปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากตัวแทนผู้จัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่ทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 252 คน ระหว่างสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคว์สแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง ( = 3.96±0.54) ส่วนปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุข ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร ( = 3.64±0.57) และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุข อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42±0.61) โดยปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร (r = 0.702, p<0.001) และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุข (0.597, p<0.001) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการจัดบริการด้านสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร ได้แก่ ด้านการวางแผน มีอิทธิพลมากที่สุดเท่ากับ 0.378 และปัจจัยด้านกระบวนการบริหารทั้งด้านการวางแผนและด้านการอำนวยการ และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุขในด้านบุคลากร ร่วมกันทำนายประสิทธิผลการจัดบริการได้ร้อยละ 54.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 6 ควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้านการวางแผนเชิงระบบ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการด้านสาธารณสุขผ่านเครือข่ายสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งไปสู่การจัดบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพ:บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด ;2561
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 6. การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ 2561 เขตสุขภาพที่ 6. เอกสารอัดสำเนา;2561
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2545-2564)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552.กรุงเทพ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์;2553
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: แนวปฏิบัติในการบริการผู้สูงอายุ. กรุงเทพ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด;2553
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ.ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2561 [14 เม.ย. 2562].Available from:https://www.nhso.go.th/storage/downloads/main/113/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A861-re.pdf
รัฐฉัตรานนท์ ว. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโรยามาเนและ เครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2019;6(1):27-58.
Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.
อุมาภรณ์ ขนันไพร.ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ด้านสุขศึกษาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
มะนู บุญศรีมณีชัย.ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับการพัฒนาตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดหนองคาย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
ทรงศักดิ์ ภูมิสายตร. (2546) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเจ้าพนักงานเทศบาลในจังหวัด กาฬสินธุ์ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พุทธศักราช 2535 [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
สุพจน์ สนธิเมือง.การบริหารทรัพยากรสาธารณสุข และผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน ของสถานีอนามัย จังหวัดนครศรีธรรมราช. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ.ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสร้างสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
วรพล คนใจบุญ.ปัจจัยและกระบวนการทางการบริหารที่มีผลต่อการบริการของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.