การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลต้นแบบ

Main Article Content

ศิริชัย จันพุ่ม
จำเนียร วงษ์ศรีแก้ว
บุญเลิศ วงค์โพธิ์
วินัย วีระวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลต้นแบบ 2) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลต้นแบบ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลทุตยภูมิโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข พื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 6 แห่ง รวม 12,196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบบันทึกการศึกษาจากแนวคิดมาตรฐานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย 3) แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ IOC เท่ากับ0.84 และหาความเชื่อมั่นโดยใช้ Cronbach’s Coefficient เท่ากับ 0.96 ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลต้นแบบรวม 16 แหล่งข้อมูล เพื่อนำมาจัดหมวดหมู่เนื้อหาพบว่า มีข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมจำนวน 8 ด้าน
2. ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลต้นแบบ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ 2. องค์ประกอบด้านกายภาพ ชีวภาพ 3. องค์ประกอบด้านการจัดการพลังงาน 4. องค์ประกอบด้านการจัดการน้ำ 5. องค์ประกอบด้านการจัดการของเสีย 6. องค์ประกอบด้านการจัดการความปลอดภัย 7. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และ 8. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนางานด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้ดีขึ้นได้


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biographies

จำเนียร วงษ์ศรีแก้ว

 

 

บุญเลิศ วงค์โพธิ์

 

 

วินัย วีระวัฒนานนท์

 

 

References

วินัย วีระวัฒนานนท์. หลักการสอนสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก: การพิมพ์ดอทคอม; 2562.

วินัย วีระวัฒนานนท์. คู่มือการปฏิบัติงานอาจารย์และบุคลากร. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม; 2555.

อดิศักดิ์ สิงห์สีโว. พื้นฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

วินัย วีระวัฒนานนท์. สิ่งแวดล้อมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2546.

อลิศรา ชูชาติ และคณะ. เทคนิคการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพ ฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์

พับลิชชิ่ง; 2547.

วินัย วีระวัฒนานนท์. สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. นครปฐม :

สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน; 2541.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2560. [เข้าถึง เมื่อ 2565 ธันวาคม 8]. เข้าถึงได้จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8983

กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานของทีมภารกิจปฏิบัติการ. [ออนไลน์]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธันวาคม 8]. เข้าถึงได้จาก https://env.anamai.moph.go.th

Grasung P., K. J., Cheentam S., & Junphum*, S. Trials on the Environmental Education Processes as Reducing Cholinesterase Enzyme in Blood and Residues of Chemicals in Soil with sugarcane farmers in Phetchabun Province of Thailand. Journal of Pharmaceutical Negative Results 2022;13(3): 140-147.

โกศล จึงเสถียรทรัพย์ และโกเมธ นาควรรณกิจ. สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. กรุงเทพมหานคร; 2562.

Stapp, W. B. Preservice Teacher Education. What makes Education Environment. USA: Rata Courier, Tnc; 1975

Dhillon, V . S. and Kaur, D. Green Hospital and Climate Change: Their Interrelationship and the Way Forward. Journal of Clinical and Diagnostic 2015; 9(12): LE01 – LE05.

กาญจนา ปานุราช. การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2564; 18(82): 125 – 137.

Veeravatnanond, V. and Singseewo, A. A develop Model of Environmental. Education school. European Journal of Social Sciences 2010; 17(3): 391-403.