ผลกระทบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน
กัลยา มั่นล้วน
ชุติมา สร้อยนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อผลกระทบคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ของผู้สูงอายุ จำนวน 385 คน จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( equation = 1.75) โดยผลกระทบด้านร่างกาย อยู่ในระดับน้อย ( equation = 1.87) ผลกระทบด้านจิตใจ อยู่ในระดับน้อย ( equation = 1.84) ผลกระทบด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับน้อย (equation  = 1.57) และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับน้อย (equation  = 1.73) และการเปรียบเทียบผลกระทบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัว และรายได้ ภาพรวมพบว่า ด้านร่างกาย ด้านจิตใจด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. ร้อยละของ Healthy Ageing เขตสุขภาพที่ 6 จังหวัดชลบุรี 2566. เข้าถึงจาก http://hdc2.cbo.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=bbcb40adb960e0564efba686c316c009 (วันที่ค้นข้อมูล 2 มีนาคม 2566).

ฤทธิชัย ชาแสน. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. สกลนคร:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; (2564).

World Health Organization. Definition of an Older or Elderly Person. Geneva: WHO Headquarters; 2011.

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 2557; 15(3): 64-70.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Journal Education and Psychological Measurement,1970; 30(3): 607-610.

Ayre C, Scally J. Critical Values for Lawshe’s Content Validity Raio: Revisting the Original Methods of Calculation. Measurement and Evaluation in Counseling and Development, 2014; 47: 79-86.

Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951; 16(3): 297-334.

Stefanacci RG. Quality of Life in Older People. New Jersey: Jefferson College of Population Health, Thomas Jefferson University; 2022.

Newman-Norlund RD, Newman-Norlund SE, Sayers S, McLain AC, Riccardi N, Fridriksson J. Effects of social isolation on quality of life in elderly adults. PLoS ONE, 2022; 17(11): 1-14.

Gondodiputro S, Hidayati A R, Rahmiati L. Gender, Age, Marital Status, and Education as Predictors to Quality of Life in Elderly: WHOQOL-BREF Indonesian Version. International Journal of Integrated Health Sciences, 2018; 6(1): 36–41.

Daely S, Nuraini T, Gayatri D, Pujasari H. Impacts of age and marital status on the elderly's quality of life in an elderly social institution. J Public Health Res, 2021; 11(2): 2731.