การประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อิสสรียา อารมณ์
ศศิธร ศรีมีชัย
นันทิกา สุนทรไชยกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินผลกระทบของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารที่ตั้งใน เขตบางแค กรุงเทพมหานคร จากการปรับปรุงระบบแสงสว่าง ในสถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กลุ่มศึกษาเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารจำนวน 50 ร้าน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 ร้าน ร้านกลุ่ม 1 คือ สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีการปรุงประกอบอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับร้านกลุ่ม 2 มีการเตรียมวัตถุดิบและการอุ่นอาหาร ปัจจัยในการประเมินผลกระทบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพ และระดับความเข้มของแสงสว่าง ที่เพียงพอต่อพื้นที่ปฏิบัติงาน และความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารจำนวน 50 คน ความพึงพอใจจากผู้บริโภคอาหารจำนวน 500 คน และความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกลุ่มงานสุขาภิบาลอาหารของสำนักงานเขตบางแค จำนวน 4 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้านกลุ่ม 1 และร้านกลุ่ม 2 มีระดับความเข้มของแสงสว่างผ่านเกณฑ์ 300 ลักซ์ 11% และ 27% และผ่านเกณฑ์ 215 ลักซ์  24% และ 82% ตามลำดับ ส่วนสีของผนังและฝ้าเพดานของทั้งสองกลุ่ม มีสีโทนอ่อนและสามารถสะท้อนแสงจากพื้นผิวได้ดี ดังนั้นทั้งสองกลุ่มต้องปรับปรุงเฉพาะเรื่องระดับความเข้มของแสงสว่างให้ได้มาตรฐาน และปรับตำแหน่งโคมไฟที่ติดตั้งให้เหมาะสม งบประมาณในการปรับปรุงระบบแสงสว่างขึ้นกับชนิดของหลอดไฟ ค่าใช้จ่ายสูงสุดของร้านกลุ่ม 1 และร้านกลุ่ม 2 ประมาณ 10,202 บาท และ 6,462 บาท ตามลำดับ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มต่างเห็นด้วยกับประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ ดังนั้นการออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้มีผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในระดับต่ำ ขณะที่ให้ประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานและความปลอดภัย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

Al horr Y, Arif, M., Kaushik A, K., Mazroei A, Katafygiotou, M and Elsarrag E. Occupant productivity and office indoor environment quality. A review of the literature Buildingand Environment: 369-398. Retrieved from http://usir.salford.ac.uk/id/eprint/39106; 2016.

ยิ่งยศ สียางนอก. ศึกษาระดับความเครียดของผู้ใช้อาคารสำนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่มีความเข้มของแสงที่แตกต่างกัน: กรณีศึกษาอาคารอีเทอร์นิตี้. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2556.

วิทยา อยู่สุข. การประเมินแสงสว่างในสถานที่ทำงานในช่วงเวลากะกลางวันและกลางคืนของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี: อาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544.

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2561. กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.gem-thai.com/wp-content/uploads/2019/03/2.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 18 ธันวาคม 2562).

Kirkpatrick C, P., D., Elgar E. Regulatory Impact Assessment OECD 2008. Building an Institutional Framework for Regulatory Impact Analysis RIA. Guidance for Policy Makers; 2007.

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตบางแค. ข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหาร: สำนักงานเขตบางแคกรุงเทพมหานคร; 2562.

สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร กรุงเทพมหานคร: สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย; 2559.

สำนักอำนวยการ กลุ่มออกแบบการก่อสร้าง. บัญชีราคาค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงานประจำปี พ.ศ. 2565: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ; 2565.

OECD. Regulatory Impact Analysis: a tool for policy coherence. OECD Publishing; 2009.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง; 2556.

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย 2559. การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย ( RIA ) กับการปฏิรูปประเทศ. เข้าถึงได้จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/jul2559-4.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 14 มกราคม 2563).

Francesco, F., D. Diffusion of regulatory impact analysis among OECD and EU member states. Comparative Political Studies, 2012; 45(10): 1277-1305.

สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย 2557. คู่มือการเลือกหลอด LED สำหรับผู้บริโภค. เข้าถึงได้จาก https://www.bsa.or.th/index.php?lay=show&ac=photoview&event_id=17959. (วันที่ค้นข้อมูล 21 เมษายน 2566).

Budiha, R., Rao, S., & Shashidhar, K., C. Need of Proper Kitchen Lighting in Urban and Rural Area’s. Journal of Human Ecology, 2005; 17(1): 63-65.

Wu L, He Z, King C, Mattila AS. In darkness we seek light: The impact of focal and general lighting designs on customers’ approach intentions toward restaurants. Int J Hosp Manag, 2021; 92:1-10.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2561. อันตรายจากแสงสว่าง: เอกสารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย; 2561.

Katunský D, Dolníková E, Dolník B, Krajníková K. Influence of light reflection from the wall and ceiling due to color changes in the indoor environment of the selected hall. Applied Sciences, 2022; 12(10): 5154.

Karlen, M., Spangler, C., & Benya, J., R. Lighting design basics. John Wiley & Sons; 2017.

Risi, I., Omubo-Pepple, V., & Alabraba, M. Comparative study of light emitting diode (LED), compact fluorescent (CF) and incandescent lamps. Journal of Scientific and Engineering Research, 2018; 5(11): 197-203.

Yudarwati GA, Gregory A. Improving government communication and empowering rural communities: Combining public relations and development communication approaches. Public Relations Rev, 2022; 48(3): 1-10.

สถานบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย ( Regulatory Impact Analysis ) เสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา; 2557.