ฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบ (Musa sapientum L.) ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis และ Bacillus cereus จากโรงเรือนเลี้ยงสุกร

Main Article Content

รจฤดี โชติกาวินทร์
ณัฐธิดา ชัยเลิศ
ศุภชัย ยอดคีรี
ทัดดาว พาหาทรัพย์อนันต์
ทิษฏยา เสมาเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบ (Musa sapientum L.) (UW) ในการยับยั้ง Staphylococcus epidermidis และ Bacillus cereus จากโรงเรือนเลี้ยงสุกรโดยหาความเข้มข้นของสารสกัดที่ต่ำที่สุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) และสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ทั้งสองชนิด ด้วยวิธี broth microdilution ทำการศึกษาเวลาในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Time-kill ที่ความเข้มข้น 2, 5 และ 10 เท่าของ MIC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทดสอบการยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสด้วยวิธี protease activity วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา พบว่า ค่า MIC ของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ S. epidermidis และ B. cereus
มีค่า 7.81 mg/mL และ 15.625 mg/mL ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่า MBC ที่กำจัดเชื้อ S. epidermidis และ B. cereus มีค่า 7.81 และ 15.625 mg/mL ตามลำดับ ผลการทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต่อหน่วยเวลา (Time-kill) ของสารสกัด UW พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 5 เท่าของ MIC (39 mg/mL) สามารถกำจัดเชื้อ S. epidermidis ได้ที่เวลา
8 ชั่วโมง และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 10 เท่าของ MIC (78 mg/mL) สามารถกำจัดได้ที่เวลา 4 ชั่วโมง สำหรับเชื้อ B. cereus ที่ความเข้มข้น 10 เท่าของ MIC (78 mg/mL) สามารถกำจัดเชื้อได้ที่เวลา 18 ชั่วโมง และสารสกัด UW ความเข้มข้น 3.90 mg/mL สามารถยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์โปรตีเอสจาก S. epidermidis ได้ ในขณะที่สารสกัดทุกความเข้มข้นไม่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรตีเอสจาก B. cereus ได้ ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอด เช่น การสร้างเป็นนวัตกรรมผลิตสารชีวภาพที่ปลอดภัยในการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ (2556). คู่มือวิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสุกร ประเภท ค. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมมลพิษ.

Sowiak, M, Bródka, K, Buczyńska A. et al. An assessment of potential exposure to bioaerosols among swine farm workers with particular reference to airborne microorganisms in the respirable fraction under various breeding conditions. Aerobiologia, 2012;28: 121–133.

Boontee K, Kruawongsa Y, Srisakamkullawat S. Evaluation of Bioaerosols Concentrations in Mushroom, Swine and Poultry Farms: Case of Workers in Warinchamrab, Ubon Ratchathani. Thai Science and Technology Journal. 2019;28(9), 1627-1641. (In Thai)

Martínez-García S, Rodríguez-Martínez S, Cancino-Diaz ME, Cancino-Diaz JC. Extracellular proteases of Staphylococcus epidermidis: roles as virulence factors and their participation in biofilm. APMIS 2018; 126: 177–185.

Häse CC, Finkelstein RA. Bacterial extracellular zinc-containing metalloproteases. Microbiological reviews. 1993 Dec;57(4):823-37.

Donham K, Haglind P, Peterson Y, Rylander R, Belin L. Environmental and health studies of farm workers in Swedish swine confinement buildings. Br J Ind Med. 1989;46(1):31-7.

ทศพร ธีรวงศ์กาญจนา, สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณและวัลภา แต้มทอง. (2566) ผลของเปลือกกล้วยน้ำว้าต่างสายพันธุ์ และความเข้มข้นของสารสกัดต่อปริมาณ สารแทนนิน และการยับยั้งแบคทีเรียบนผ้าฝ้าย การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หน้า 581-593.

EAboul-Enein AM, Salama ZA, Gaafar AA, Aly HF, Abou-Elella F, Ahmed HA. Identification of phenolic compounds from banana peel (Musa paradaisica L.) as antioxidant and antimicrobial agents. Journal of Chemical and Pharmaceutical Research. 2016;8(4): 46-55.

สุคนธ์ ตันติไพบูลย์วุฒิ, เทียนชัย น่วมเศรษฐี และ เพชรลดา เดชายืนยง. ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกผลไม้บางชนิด. KKU Res. J. 2555; 17(6): 880-894.

วลัยพร มัฆพานและพัชราภรณ์ นาคเทวัญ. ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเปลือกกล้วยเล็บมือนางและกล้วยหินในการต้านการเจริญของเชื้อก่อโรคในอาหาร. แก่นเกษตร. 2561; 46 ฉบับพิเศษ1:1236-1241.

Hassan HF, Hassan UF, Usher OA, Ibrahim AB, Tabe NN. Exploring the potential of banana (musa sapietum) peels in feed formulation. International Journal of Advanced Research in Chemical Science. 2018;5(5):10-4.

Hikal WM, Said-Al Ahl HAH, Bratovcic A, Tkachenko KG, Sharifi-Rad J, Kačániová M, Elhourri M, Atanassova M. Banana Peels: A Waste Treasure for Human Being. Evid Based Complement Alternat Med. 2022:7616452.

Phuaklee P, Ruangnoo S, Itharat A. Anti-inflammatory and antioxidant activities of extracts from Musa sapientum peel. J Med Assoc Thai. 2012 Jan;95 Suppl 1:S142-6. PMID: 23964457.

SOLTANI M, ALIMARDANI R, OMID M. Design and development of a portable banana ripeness inspection system. Journal of american Science. 2011; 7:401-405.

Teethaisong Y, Chueakwon P, Poolpol K, Ayamuang IO, Suknasang S, Apinundecha C, Eumkeb G. Stephania suberosa Forman extract synergistically inhibits ampicillin- and vancomycin-resistant Enterococcus faecium. Saudi J Biol Sci. 2023 Feb;30(2):103557.

Namvar AE, Bastarahang S, Abbasi N, Ghehi GS, Farhadbakhtiarian S, Arezi P, Hosseini M, Baravati SZ, Jokar Z, Chermahin SG. Clinical characteristics of Staphylococcus epidermidis: a systematic review. GMS Hyg Infect Control. 2014 Sep 30;9(3):Doc23.

ข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). กล้วยน้ำว้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 จาก http://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=16

M. S. Mokbel and F. Hashinaga. Antibacterial and antioxidant activities of banana (musa, AAA cv. cavendish) fruits peel. American Journal of Biochemistry and Biotechnology.2005; 1(3): 125–131.

Chabuck ZAG, Al-Charrakh AH, Hindi NKK, Hindi SKK. Antimicrobial effect of aqueous banana peel extract, Iraq. Res Gate Pharm Sci. 2013;1:73-5.

P. B. Lino, C. F. Corrˆea, M. E. D. L. Archondo, and D. C. A. L. Dellova. Evaluation of post-surgical healing in rats using a topical preparation based on extract of Musa sapientum L., Musaceae, epicarp. Revista Brasileira de Farmacognosia. 2011; 21(3): 491–496.

วิภา สุโรจนะเมธากุล และ ชิดชม ฮิรางะ. การสกัดแทนนินจากเปลือกกล้วย. วารสารเกษตรศาสตร์ 2537;28:578-586.

Kim JY, Park SC, Hwang I, Cheong H, Nah JW, Hahm KS, Park Y. Protease inhibitors from plants with antimicrobial activity. Int J Mol Sci. 2009;10(6):2860-2872.

Rao NM. Cysteine protease inhibitors from banana (Musa paradisiaca). Curr Sci. 1989;58(23):1320-1322. Available from: http://www.jstor.org/stable/24092728