ทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม การรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

นภัสวรรณ มามาศ
นัทธริกาณ์ ดุเหว่า
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม

บทคัดย่อ

ทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม การรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยมีความสำคัญต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม การรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน        ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคมอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 84.6) มีระดับทัศนคติการรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 52.6) มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอ (ร้อยละ 81.5) ด้านปัจจัยพบว่า หนี้สิน ลักษณะที่อยู่อาศัยและการพักอาศัยมีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าระดับทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม ระดับทัศนคติการรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.136, p = 0.007), (rs = 0.321, p < 0.001) ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้นิสิตสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด; 2560.

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. การปฏิรูปความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://dl.parliament.go.th/handle/ 20.500.13072/501760. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด; 2561.

Sørensen K, Broucke SV, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012;12:80-92.

World Health Organization. Health literacy: The solid facts. Copenhagen: WHO Regional Office for Europe; 2013.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;25:43-54.

US Department of Health and Human Services. Office of Disease Prevention and Health Promotion. National Action Plan to Improve Health Literacy. Washington DC: Department of Health and Human Services. US; 2010.

Medicare Web. Limited health literacy costs the US healthcare system billions [Internet]. Available from: https://revenuecycleadvisor.com/news-analysis/limited-health-literacy-costs-us-healthcare-system-billions [cited 2023 Dec 20].

Kickbusch I. Health literacy: Engaging in a political debate. Int J Public Health. 2009;54(3):131-2.

มหาวิทยาลัยพะเยา. ปรัชญาการจัดการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://www.up.ac.th/Intro_About2.aspx. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567.

Bhusal S, Paudel R, Gaihre M, Paudel K, Adhikari TB, Pradhan PMS. Health literacy and associated factors among undergraduates: A university-based cross-sectional study in Nepal. PLOS Glob Public Health. 2021;1(11):e0000016.

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. สถิตินักศึกษาปัจจุบันจำแนกตามคณะ [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://reg.up.ac.th/app/rpt/rpt_std_present_fac_group/preview/all. เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566.

Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

Ajzen I. The theory of planned behavior. Organ Behav Hum Decis Process. 1991;50(2):179-211.

Best JW. Research in Education. Englewood Cliffs, New York: Prentice-Hall; 1997.

กรมอนามัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://borc.anamai.moph.go.th/web-upload/24xe82d9421a764bd38b31a4171c44f37a6/tinymce/KPI/2565/KPI1_36/L2/1KPI1-36_2-2-8.pdf. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566.

Bloom BS. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1 [Internet]. Available from: https://eric.ed.gov/?id=eD053419 [cited 2024 Mar 14].

Cronbach LJ. Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row; 1970.

Kuder GF, Richardson MW. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika. 1937;2(3):

-60.

จิระภา ขำพิสุทธิ์. ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2561;24(1):1-12.

Mahumud RA, Sarker AR, Sultana M, Islam Z, Khan J, Morton A. Distribution and determinants of out-of-pocket health care expenditures in Bangladesh. J Prev Med Public Health. 2017;50(1):91-9.

กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, สุภิศา ขําอเนก, อภิสรากรณ์ หิรัณย์วิชญกุล, สุวรัตน์ ธีระสุต, ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. ของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(1):1-12.

ประศักดิ์ สันติภาพ. การเปลี่ยนทัศนคติด้วยการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 2562;2(4):13-21.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมอนามัย ปี พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://backenddc.anamai.moph.go.th/coverpage/c68879242af9af26144520f4caee6930.pdf. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566.

ยุพา ฟูชื่น. ทัศนคติเชิงบวกต่อการเข้าถึงสถานบริการ การได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพของผู้ดูแล การดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2561;15(2):72-88.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4624. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566.