ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของอาชีพพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

Main Article Content

การัณยภาส รักษาพล
กัลยกร จินณรักษ์
ณภัทร ปั้นพัว
ปัญจมาพร พันธรณี
พัชราภา ผ่องใส
พิจิตรา หลวงใน
วริศรา ไชยเกษม
วิชุศร แสงจันทร์
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม

บทคัดย่อ

ภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ส่งผลกระทบต่อจิตใจของอาชีพพนักงานทำความสะอาด ได้แก่ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดความเป็นบุคคล และความสำเร็จส่วนบุคคล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของอาชีพพนักงานทำความสะอาด และเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของอาชีพพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ         กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานทำความสะอาดอายุระหว่าง 15-59 ปี จำนวน 136 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน         ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.40) มีการลดความเป็นบุคคลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 87.50) มีความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 97.10) ส่วนด้านปัจจัยพบว่า ระดับการศึกษา               มีความสัมพันธ์ต่อความอ่อนล้าทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระดับการลดความเป็นบุคคลและระดับความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับความอ่อนล้าทางอารมณ์ของอาชีพพนักงานทำความสะอาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น จึงให้ข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารองค์กรควรมีการปรับภาระงานและปรับค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการทำงาน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้แก่พนักงานทำความสะอาด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. ภาวะหมดไฟไม่ใช่โรค แต่เป็นปรากฏการณ์เหตุอาชีพ. Chulalongkorn Medical Bulletin. 2563;2(2):115-119.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout syndrome) [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2270 [สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567].

World Health Organization. Burn-out an “occupational phenomenon”: International Classification of Diseases [Internet]. Available from: https://www.who.int/mental_health/evidence/burn-out/en/ [cited 2024 Nov 17].

Mealer M, Moss M, Good V, Gozel D, Kleinpell R, Sessler C. What is burnout syndrome [Internet]. Available from: https://www.thoracic.org [cited 2024 Nov 17].

นริสา วงศ์พนารักษ์. ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์: การสร้างพลังใจ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2567;17(1):23-32.

Rogers B. Occupational and environmental health nursing concept and practice. Philadelphia: Saunders; 2003.

Jeebhay MF, Quirce S. Occupational asthma in the developing and industrialised world: a review. Int J Tuberc Lung Dis. 2007;11(2):122-33.

Lansdown TC, Deighan C. Psychosocial influences on health and safety behaviour among small and medium-sized enterprises. Institution of Occupational Safety and Health. 2016;23:33-55.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. การคุ้มครองแรงงาน [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://lb.mol.go.th/ [สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2567].

กนกกุล เพชรอุทัย, ปุณยวีร์ หนูประกอบ. การศึกษาสภาพปัญหาการทำงานและความคุ้มครองทางสังคมของผู้ประกอบอาชีพลูกจ้างแม่บ้าน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์. 2566;6(2):229-45.

กช พิทักษ์วงศ์โรจน์, ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, ศรัณย์ ศรีคำ, ธนกมณ ลีศรี. ภาวะหมดไฟจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรด้านบริการปฐมภูมิ อำเภอพระนครศรีอยุธยา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2567;18(3):839-50.

กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา. ข้อมูลแสดงจำนวนพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยพะเยา [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงจาก: https://building.up.ac.th/ [สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2567].

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

Maslach C, Jackson SE. The measurement of experienced burnout. Journal of Organizational Behavior. 1981;2:99-113.

Best JW. Research in education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs; 1997.

Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row; 1970.

นิชชุนันท์ ประสารพันธ์, เพลินพิศ บุณยมาลิก, อรวรรณ แก้วบุณชู. ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2564;35(3):48-63.

นฤมล เพ็ชรทิพย์, ธนยศ สุมาลย์โรจน์, สมรรถพงศ์ ขจรมณี. การพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่มากเกินกว่าจะได้รับสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 2565;17(3):25-38.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Erlbaum; 1988.

เพ็ญพิชชา เกตุชัยโกศล. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ของพนักงานบริษัทเอกชนในกลุ่ม Generation Y. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2564.

ณัฐนันท์ ฤทธิ์สำเร็จ, ธีระวุธ ธรรมกุล, ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2565;17(1):86-99.

เต็มสิริ ป.ปาน. ภาวะหมดไฟในการทำงานของทันตาภิบาลจังหวัดสงขลา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2564;26(1):24-36.