ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 ในเขตพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนของพัฒนาการล่าช้าและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านตัวเด็ก มารดา ผู้ดูแลหลัก และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในเขตพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ช่วงเดือน สิงหาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กที่มีอายุ 3-5 ปีและผู้ดูแลเด็กที่มารับบริการคลินิกตรวจพัฒนาการ จำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและโลจิสติกส์แบบทวินามที่ระดับนัยสำคัญ 5% ผลการศึกษาพบว่า เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 33.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็ก ปัจจัยด้านตัวเด็ก ได้แก่ เพศชาย (AOR=2.11, 95%CI=1.08-4.10) เด็กที่ผอม/ค่อนข้างผอม (AOR=0.67, 95%CI=1.69-2.72) และท้วม/เริ่มอ้วน/อ้วน (AOR=0.30, 95%CI=0.86-1.05) ไม่กินยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก (AOR=0.17, 95%CI=0.07-0.41) คลอดก่อนกำหนด (AOR=2.51, 95%CI=1.21-5.24) ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (AOR=0.18, 95%CI=0.05-0.73) ปัจจัยด้านผู้ดูแลหลัก ได้แก่ ผู้ดูแลหลักอายุ 36-49 ปี (AOR=0.66, 95%CI=0.14-2.51) และผู้ดูแลหลักอายุ 50 ปีขึ้นไป (AOR=2.72, 95%CI=0.50-14.67) และการได้รับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับต่ำถึงปานกลาง (AOR=2.00, 95%CI=1.04-3.87) จากผลการศึกษานี้ ผู้ดูแลหลักควรมีการส่งเสริมและติดตามเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัย และเด็กควรได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสม่ำเสมอ รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม หน่วยงานในพื้นที่ควรมีการตรวจคัดกรองแบบเชิงรุกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดและส่งเสริมให้มีการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Council on Communications and Media: Media and young minds. Pediatrics138, e20162591; 2016.
Putnick, D. L. et al. Displacement of peer play by screen time: associations with toddler development. Pediatr. Res.93, 1425–31; 2023.
ชัยพล ศรีธุระวานิช, พัชรินทร์ สมบูรณ์และยุพิน สุขเกษม. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 3-5 ปี. ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://oec.anamai.moph.go.th/th/more-news-php-cid-108-filename-index/download/?did=200518&id=60444&reload. (วันที่ค้นข้อมูล: 16 ธันวาคม 2566).
กระทรวงสาธารณสุข.. Health Data Center ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ตุลาคม 2565).
อัจฉรา ผาดโผน. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.
บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ และบุษบา อรรถาวีร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ศูนย์อนามัยที่ 5. วารสารเกื้อการุณย์, 2563; 27(1):59-70.
จินตนา พัฒนพงศ์ธร และวันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2560.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. การพัฒนาแบบสำรวจความพร้อมในการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 4-6 ปี. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.
ภรณี แก้วลี. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”, อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี; 2559: 1675-85.
พูนศิริ ฤทธิรอนและคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2564; 14(3): 42-56.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. โครงการเพื่อป้องกันโรคอ้วนและส่งเสริมการพัฒนาการเด็ก. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2551.
พนิต โล่เสถียรกิจ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย.ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย; 2558.
นภา พฤฒารัตน์. ปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้าในเด็กอายุ 9 เดือน. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 2564; 60(1): 15-26.
อดิศร์สุดา เฟื่องฟู. การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. ในทิพวรรณ หรรษคุณาชัยและคณะบรรณาธิการ ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์เอ็น เทอร์ ไพรซ์ จำกัด; 2556.
กุสุมาลี โพธิปัสสา. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 2562; 22(3): 115-128.
จีรนันท์ ติวุตานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ดูแล จังหวัดสุโขทัย. วารสารนวัตกรรมทางการแพทย์และการวิจัยสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2, 2567; 1-18.